ประมูล 5G คลื่นความถี่นี้มีดีอะไร ทำไมมีแต่คนอยากได้ (วิเคราะห์)
4 กุมภาพันธ์ คือวันที่ กสทช. เปิดให้ผู้รับเอกสารประมูล 5G ในคลื่น 700MHz, 1800MHz, 2600MHz และ 26GHz เพื่อนำมาให้บริการ 5G ในอนาคต
การ ประมูล 5G ครั้งนี้จัดประมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563
และมีผู้รับเอกสารการประมูลทั้ง 5 ราย ได้แก่ AIS, TRUE, Dtac, TOT และ CAT
ซึ่งการประมูลในครั้งนี้ กสทช. ได้จัดประมูลในวันที่ 16 มกราคม 2563 และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลในอนุญาตได้คลื่นละหลายใบอนุญาตตามเพดานสูงสุดที่กำหนด
การที่ กสทช. ได้นำคลื่นออกมาประมูลจำนวนหลายความถี่ มาจากแต่ละความถี่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยความถี่ 700 MHz จะเป็นความถี่ต่ำ มีการการส่งสัญญาณได้ไกล แต่ทะลุทะลวงได้น้อย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ห่างไกล ที่มีผู้ใช้งานไม่แออัดมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการติดตั้งเสาสัญญาณในการให้บริการ
ส่วนคลื่นความถี่ 1800 MHz 2600 MHz และ 26GHz เป็นคลื่นความถี่สูง มีประสิทธิภาพในการทะลุทะลวงได้ดี ทั้งในอาคาร ตึกสูง และอื่นๆ รวมถึงความสามารถในการใช้งานหลายๆ ดีไวซ์ได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก แต่คลื่นความถี่สูงมีข้อจำกัดคือความสามารถในการส่งสัญญาณที่ค่อนข้างต่ำ คลื่นสัญญาณกระจายได้ไม่ไกลนัก ทำให้โอเปอเรเตอร์ต้องลงทุนด้านเสาสัญญาณจำนวนมาก เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด
ทั้งนี้ การประมูลคลื่น 5G หลายคนจับตาว่าผู้เข้าประมูลจะร่วมประมูลคลื่นความถี่สูงในเพดานสูงสุดที่กำหนด เพื่อให้คลื่นที่มีอยู่ในมือในความถี่เดียวกันมีจำนวนที่มากพอในการให้บริการ 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
และเป็นไปได้คลื่นความถี่บางคลื่นอย่างเช่นคลื่น 2600 MHz ที่โอเปอเรเตอร์เชื่อว่าเป็นคลื่นที่เหมาะสมกับการให้บริการ 5G อาจจะมีเพียงโอเปอเรเตอร์เพียง 2 รายที่ได้ไป
ส่วน TOT และ CAT เข้ามาประมูลครั้งนี้มาจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอสต้องการให้ 2 องค์กรนี้นำคลื่นไปให้บริการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ทางด้านการแพทย์ บริการเทเลเมดิซีน การเรียนการสอนออนไลน์ และอื่นๆ เพื่อลดความเหลื่อมลํ้า
Marketeer FYI
ประมูลคลื่นมีหลักเกณฑ์ยังไง
คลื่น 700 MHz
จำนวน 3 ใบอนุญาต
ใบอนุญาตละ 2×5 MHz
ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท
เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท
การชำระเงินแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10%
โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 2,637.6 ล้านบาท
และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,319 ล้านบาทต่อใบอนุญาต
—–
คลื่น 1800 MHz
จำนวน 7 ใบอนุญาต
ใบอนุญาตละ 2×5 MHz
ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท
เคาะราคาครั้งละ 25 ล้านบาท
การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 จำนวน 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 และ 3 จำนวนงวดละ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล
ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 4,994.4 ล้านบาท
และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,873 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต
ผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของประชากร ภายใน 4 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรภายใน 8 ปี
—–
คลื่น 2600 MHz
จำนวน 19 ใบอนุญาต
ใบอนุญาตละ 10 MHz
ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท
เคาะราคาครั้งละ 93 ล้านบาท
การชำระเงินแบ่งเป็น 7 งวด งวดที่ 1 จำนวน 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่ 5-10) งวดละ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 1,862 ล้านบาท
และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 280 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต
ผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรใน Smart city ภายใน 4 ปี
—–
คลื่น 26 GHz
จำนวน 27 ใบอนุญาต
ใบอนุญาตละ 100 MHz
ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท
เคาะราคาครั้งละ 22 ล้านบาท
การชำระเงินงวดเดียวภายใน 1 ปีหลังจากการประมูล
ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 507.6 ล้านบาท
และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 64 ล้านบาทต่อใบอนุญาต
บรรยากาศการส่งเอกสารประมูล 5G
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ