ตลาดรถยนต์ 2563 กำลังซื้อคือขวากหนาม โควิดคือฝันร้าย (บทวิเคราะห์)
ตลาดรถยนต์ในปีที่ผ่านมาจบที่ 1,007,552 คัน ลดลง 3.3% เมื่อเทียบกับปี 2561
การลดลงของตลาดรถยนต์ในปี 2562 นอกเหนือจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการขัดแย้งทางการค้าระหว่างอเมริกากับประเทศจีนที่ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มไม่มั่นใจในเศรษฐกิจในวันข้างหน้า และเก็บเงินสดไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการคือ ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันหนี้เสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความเข้มงวดนี้ธนาคารได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่กลางปี 2562
ส่วนในปีนี้ ช่วงมกราคม 2563 ค่ายรถอย่างโตโยต้าคาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ ในประเทศไทยจะหดตัวลงอีก 7% เหลือเพียง 940,000 คัน การประเมินนี้ทำในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังมีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่ราย
ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สถานการณ์โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความกังวลใจให้กับผู้บริโภค
ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยสองเดือนแรกของปีนี้มียอดจำหน่ายเพียง 139,959 คัน ลดลง 12.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การลดลงนี้มาจากตลาดรถยนต์นั่งลดลง 7.9%
ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลง 15.9%
รถกระบะขนาด 1 ตัน รวม รถ Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV ลดลง 17.3%
ถ้ามองเป็นรายเดือน จะพบว่าในเดือนมกราคมมียอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งสิ้น 71,688 คัน ลดลง 8.2%
แบ่งเป็น
เดือนกุมภาพันธ์ ยอดจำหน่ายรถยนต์อยู่ที่ 68,271 คัน ลดลง 17.1%
และเมื่อมองที่ส่วนแบ่งตลาดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่า โตโยต้ายังคงมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด แต่ก็ประสบกับความท้าทายด้วยยอดจำหน่ายที่ลดลงมากถึง 25.8%
Top 3 ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563
โตโยต้า ยอดจำหน่าย 38,829 คัน (ลดลง 25.8%) ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
อีซูซุ ยอดจำหน่าย 28,769 คัน (เติบโต 4.6%)ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
ฮอนด้า ยอดจำหน่าย 21,172 คัน (เติบโต 11.5%) ส่วนแบ่งตลาด 15.1%
ที่มา: โตโยต้า, มีนาคม 2563
ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ กุมภาพันธ์ 2563
โตโยต้า ยอดจำหน่าย 18,606 คัน (ลดลง 27.2%) ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อีซูซุ ยอดจำหน่าย 14,484 คัน (ลดลง 2.1% ) ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
ฮอนด้า ยอดจำหน่าย 9,761 คัน (เติบโต 0.7%) ส่วนแบ่งตลาด 14.3%
มิตซูบิชิ ยอดจำหน่าย 5,973 คัน (ลดลง 15.6% ) ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
นิสสัน ยอดจำหน่าย 4,810 คัน (ลดลง 19.8% ) ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
มาสด้า ยอดจำหน่าย 3,000 คัน (ลดลง 42.3%) ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
ฟอร์ด ยอดจำหน่าย 2,863 คัน (ลดลง 37.8% ) ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
ซูซูกิ ยอดจำหน่าย 2,121 คัน (เติบโต 5.5%) ส่วนแบ่งตลาด 3.1%
เอ็มจี ยอดจำหน่าย 2,023 คัน (เติบโต 6.4%) ส่วนแบ่งตลาด 3.0%
*เฉพาะ 10 อันดับแรก
ที่มา: โตโยต้า, มีนาคม 2563
การลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้ส่งผลกระทบกับการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยเช่นกัน เพราะค่ายรถยนต์เกือบทุกแบรนด์หลักในประเทศไทย ได้ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย จากภาษีรถยนต์ที่ประกอบในประเทศไทย มีอัตราภาษีที่ต่ำกว่ารถนำเข้าจากต่างประเทศ
กุมภาพันธ์แบรนด์ไหนลดลง เติบโตเท่าไร
มาสด้า ลดลง 42.3%
ฟอร์ด ลดลง 37.8%
โตโยต้า ลดลง 27.2%
นิสสัน ลดลง 19.8%
มิตซูบิชิ ลดลง 15.6%
ฮอนด้า เติบโต 0.7%
ซูซูกิ เติบโต 5.5%
เอ็มจี เติบโต 6.4%
*เฉพาะแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 10 อันดับแรก
ที่มา: โตโยต้า, มีนาคม 2563
และการปิดโรงงานในประเทศไทยนอกจากจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังเป็นโรงงานประกอบเพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าการปิดตัวหนีโควิด-19 ของโรงงานประกอบรถยนต์ ฟอร์ด มาสด้า และฮอนด้า จึงไม่ใช่เพียงปิดเพราะยอดจำหน่ายที่ลดลงในประเทศไทย ยังมาจากยอดส่งออกที่ลดลงด้วยเช่นกัน
4 ค่ายรถขอปิดโรงงานชั่วคราว
ฮอนด้า | ฟอร์ด | มาสด้า | โตโยต้า | |
ปิดโรงงาน | โรงงานอยุธยา
โรงงานปราจีนบุรี |
โรงงานระยอง | โรงงานระยอง | โรงงานสำโรง สมุทรปราการ
โรงงานบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา โรงงานเกตเวย์ ฉะเชิงเทรา |
ระหว่างวันที่ | 27 มี.ค.-30 เม.ย. 63 | 28 มี.ค.-20 เม.ย. 63 | 30 มี.ค.-8 เม.ย. 63 | 7 เม.ย.-17 เม.ย. 63 |
Marketeer รวบรวม อัปเดต 30 มีนาคม 2563
โดยข้อมูลของโตโยต้าพบว่า โรงงานทั้ง 3 โรงของโตโยต้าที่ปิดชั่วคราวถึง 10 วัน มีกำลังการผลิตต่อปีมากถึง 760,000 คัน แบ่งเป็นโรงงานเกตเวย์ 30,000 คัน โรงงานสำโรง 240,000 คัน และโรงงานบ้านโพธิ์ 220,000 คัน
แม้ในวันนี้โควิด-19 จะทำให้ตลาดรถยนต์ได้ผลกระทบด้านยอดจำหน่าย และพากันปิดโรงงานเพื่อลดกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด
แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง ตลาดนี้จะกลับมาเติบโตอีกครั้งอย่างงดงาม
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

