ตลาดธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ปี 2563 อาการหนัก กรณีศึกษา CENTEL และ MINT

แทบจะไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งธุรกิจสายการบิน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค่ายมือถือ

รวมทั้งธุรกิจโรงแรม และร้านอาหารที่กระทบหนัก จากทั้งรายได้หายจากกลุ่มนักท่องเที่ยวและคนในประเทศ ต้องปิดโรงแรมชั่วคราว ร้านอาหารที่มีหน้าร้านที่เคยเป็นรายได้หลัก มาตอนนี้ทำได้เพียงเปิดหน้าร้านแล้วให้ผู้บริโภคซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านเท่านั้น

วิเคราะห์ 2 ยักษ์ใหญ่ ตลาดธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ผลกระทบหนักแค่ไหน ?

กลุ่มที่มีโครงสร้างทางธุรกิจแทบจะเหมือนกันที่มีทั้งโรงแรม และร้านอาหาร คือ CENTEL หรือ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มจิราธิวัฒน์ และ MINT หรือ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

จะต่างกันก็ตรงที่ไมเนอร์ฯ มีธุรกิจรับจ้างผลิตและจัดจำหน่ายในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ รวมอยู่ในพอร์ตด้วย

CENTEL-MINT ธุรกิจโรงแรม-อาหาร ที่โดนพิษโควิด-19 กระทบทั้งพอร์ต

กลุ่มธุรกิจโรงแรม เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีรายได้ลดลงมากที่สุดของทั้งสองเครือ

โดยของกลุ่มเซ็นทารา ลดลงไปถึง 34% ส่วนกลุ่มไนเนอร์ลดลงไปราว 26%

เหตุผลมาจากรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมาก จากทั้งแต่ละประเทศจำกัดการเดินทาง การห้ามเที่ยวบินระหว่างประเทศในหลายประเทศ รวมทั้งต้องปิดโรงแรมชั่วคราว แต่บริษัทยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับเพิ่มขึ้นทั้งพนักงาน การบำรุงรักษาต่าง ๆ

รวมทั้งถึงแม้ในช่วงต้นปีโรงแรมจะยังสามารถเปิดให้บริการได้อัตราการเข้าพัก และรายได้เฉลี่ยต่อห้องต่อคืนก็ยังลดลงอยู่ดี

 

ไตรมาส 1 ธุรกิจโรงแรมรายได้ลดลงเท่าไร

CENTEL

2562  : 2,755,6

2563  : 1,796.8

ลดลง 34.8%

 

MINOR

2562  : 21,230

2563  : 15,770

ลดลง 26%

 

หน่วย: ล้านบาท

 

ส่วนธุรกิจอาหารของกลุ่มเซ็นทรัลที่ดำเนินงานภายใต้บริษัทลูก คือ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ที่เป็นรายได้หลักให้กับกลุ่มเซ็นทารา  ทำได้ดีกว่ากลุ่มไมเนอร์ เพราะมีรายได้ลดลงจากสถานการณ์วิกฤตตอนนี้เพียง 2.9% ขณะที่ฝั่งไมเนอร์ลดลง 11%

รายได้ที่ลดลงในกลุ่มร้านอาหารนี้คงไม่ต้องบอก เพราะว่าเป็นรายได้จากหน้าร้าน (din-in) ที่เป็นรายได้หลักลดลงอย่างมาก เพราะจากการปิดชั่วคราวของห้าง ศูนย์การค้า บวกกับความไม่มั่นใจของผู้บริโภคเองที่ลดการสั่งอาหารรับประทาน และหันไปซื้อวัตถุดิบทำอาหารเอง

แม้จะมีรายได้จากการซื้อกลับบ้าน และบริการเดลิเวอรี่ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ แต่ทว่าก็ยังไม่พอที่จะมาชดเชยรายได้ในส่วนที่หายไปได้

ที่น่าสนใจคือกลุ่มไนเนอร์ที่ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารที่มีอยู่ในมือทั้งในและต่างประเทศลดลง แต่หากโฟกัสเฉพาะในไทย ยอดขายโดยรวมทุกสาขาเติบโต 5.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่นอกจากจะได้อานิสงส์จากบริการเดลิเวอรี่แล้ว ยังได้จากแบรนด์อย่างเดอะ พิซซ่า คอมปะนี  เบอร์เกอร์คิง รวมถึงการมาของบอนชอนด้วย

 

ไตรมาส 1 ธุรกิจร้านอาหารรายได้ลดลงเท่าไร

CENTEL

2562 : 2,887.4

2563 : 2,804.4

ลดลง 2.9%

 

MINT

2562  : 6,367

2563  : 5,664

ลดลง 11%

 

หน่วย: ล้านบาท

 

ไตรมาสแรกแค่ปิดหน้าร้านตั้งแต่ 22 มี.ค. ยังรายได้และกำไรลดลงขนาดนี้ เดือน เม.ย. เต็มๆ ซึ่งเป็นช่วงหยุดยาว ช่วงเวลาท่องเที่ยว จะกระทบขนาดไหน

และถึงแม้เมื่อ 17 พ.ค. จะเป็นวันแรกของการคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 2 ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าค้ากลับมาเปิด และสามารถให้บริการนั่งรับประทานที่ร้านได้แล้ว

ส่วนกลุ่มโรงแรมก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้

ไตรมาสสองบอกได้เลยว่ายังต้องปาดเหงื่อกันอีกยาว

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online