ในวันนี้ คนไทยสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะขยะจากมือถือเป็นปริมาณเท่าไร เป็นเรื่องที่น่าคิด
เพราะในวันนี้คนไทยน่าจะมีมือถืออยู่ในระบบรวมกันมากกว่า 100 ล้านเครื่อง หรือถ้านำมาวางรวมกันในสนามฟุตบอล จะกินพื้นที่สนามฟุตบอลมากถึง 15 สนามด้วยกัน
ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจดี ๆ คนไทยเปลี่ยนมือถือปีละเครื่อง และส่งต่อเครื่องเก่าไปให้คนอื่นใช้งานต่อได้อีกประมาณ 4-5 ปี จากนั้นมือถือก็จะกลายเป็นขยะที่ไม่สามารถใช้งานได้
แล้วเราจะจัดการกับขยะอย่างไร
ในงาน Marketeer Live Forum ครั้งที่ 18 อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน ดีแทค เล่าให้เราฟังว่าดีแทคในฐานะตัวแทนจำหน่ายมือถือรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทยที่ขยายสมาร์ทโฟน และสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ มากถึง 500,000 เครื่องต่อปี มองเห็นปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจำนวนมหาศาลในประเทศไทย ที่เกิดจากการใช้งานของผู้บริโภค ที่ถูกทิ้งและจำกัดอย่างผิดวิธีที่จะเกิดให้ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
ดีแทคจึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้
จากการสำรวจของดีแทคพบว่าคนไทยจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วดังนี้
51% ขายให้กับคนขายของเก่า เพื่อแลกกับสิ่งต่าง ๆ
25% เก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ไว้กับตัว
16% ทิ้งในถังขยะทั่วไป และอาจจะมีคนเก็บของเก่ามาเก็บไปอีกทอดหนึ่ง
ที่ผ่านมา ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือ เป็นสิ่งที่มีค่าในสายตาคนเก็บของเก่า เพราะในมือถือมีแร่ที่มีค่า เช่นทองคำ ทองแดง พลาสติกที่สามารถนำไปแยกชิ้นส่วนและนำไปขายต่อได้
โดยมือถือ 200,000 เครื่อง ถ้าสามารถแยกได้อย่างถูกวิธี จะได้ทองคำมากถึง 1 กิโลกรัม
ส่วนชิ้นส่วนที่ไม่สามารถแยกต่อไปได้จะนำไปฝังกลบ ในกรณีที่โรงงานแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี
อรอุมาเล่าให้เราฟังว่า ในตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่มีการคัดแยกทองแดงออกมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบว่ามีสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐานของดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลับมาสร้างผลกระทบให้กับผู้บริโภคอีกครั้ง จากพืชผักที่ปลูกบนดิน เพราะน้ำในดินมีการไหลผ่านถึงกัน
โครงการ “ทิ้งให้ดี” ของดีแทคจึงเกิดขึ้น เพื่อเชิญชวนให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทค และดีแทคจะนำขยะเหล่านี้ไปกำจัดให้อย่างถูกวิธี
โดยโครงการทิ้งให้ดีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2555 สามารถกำจัดขยะได้ถูกวิธีเกือบ 2 ล้านชิ้น
ปัจจุบันโครงการคิดให้ดีของดีแทคมีจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ 55 แห่ง ในดีแทคฮอลล์และพาร์ตเนอร์เช่นร้านโจรสลัด
ส่วนปี 2564 มีเป้าหมายขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็น 110 แห่ง เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดการณ์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
ซึ่งอรอุมามองว่าในปี 2565 คาดการณ์คน 1 คนจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อติดตัวมากกว่า 5 ชิ้น
การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค จะจับมือกับโรงงานรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานอย่าง TES เพื่อนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิล
โดย TES จะมารับขยะจากดีแทค และนำมาทำลายข้อมูล ก่อนแยกชิ้นส่วนเป็นชิ้นใหญ่ ๆ และเข้ากระบวนการรีไซเคิล เพื่อไปแยกส่วนประกอบอีกครั้งในประเทศสิงคโปร์
การรีไซเคิลของ TES สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากถึง 98% ของขยะทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 2% คือ ฝุ่น ที่เกิดจากการคัดแยกขยะ
เพราะเป้าหมายของดีแทค ในปี 2565 คือการเป็น Zero Landfill ที่ช่วยโลกให้น่าอยู่
ฟังเรื่องขยะล้นนน… แล้วไทยจะหาทางออกเจอไหม ได้เต็มๆ ที่
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



