เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society ในประเทศไทย หลังจากที่ทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้งาน QR Code มาตรฐาน” ซึ่งนับเป็น “จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ” ของ ระบบการชำระเงินในไทย โดยการประกาศความร่วมมือในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากทุกธนาคารในประเทศ รวมถึงผู้ให้บริการบัตรเครดิตทุกราย ส่งผลให้ทุกการจับจ่ายผ่าน QR Code มาตรฐาน นั้น สามารถ รับ-จ่าย ชำระเงินได้ทุกธนาคาร รวมทั้งบัตรเดบิต และ e-Wallet อีกด้วย

โดย QR Code มาตรฐาน จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย นั้นจะเริ่มใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในไตรมาส 4 ปี 2560 นี้


“เปิด
แอพพลิเคชั่นสำหรับการชำระเงินบนมือถือ กดสแกน QR Code กรอกราคาที่จะจ่าย ยืนยันความปลอดภัยด้วยปลายนิ้ว หรือ Pin Code” เพียงเท่านี้ก็สามารถทำรายการชำระเงินเสร็จเป็นที่เรียบร้อย”

นอกจากนั้นประเทศไทยยังนับว่าเป็นประเทศลำดับต้นๆ ที่มีการผลักดันระบบการชำระเงินด้วย QR Code มาใช้แทนการจ่ายเงินสด โดยประเทศที่มีการผลักดัน และใช้งานอย่างจริงจังแล้วคงหนีไม่พ้นที่ประเทศจีน และ ประเทศอินเดีย

หากมองไปที่จีน “Alipay” จากบริษัท Alibaba และ “WeChat Pay” จากบริษัท Tencent คือ e-Payment ที่หำหั่นกันอย่างดุเดือด แม้ว่าทั้ง 2 แอพพลิเคชั่นจะมีฟังก์ชันในการจ่ายเงินมากมาย ทั้งการโอนโดยตรงผ่าน Wallet ไปยังอีก Account ได้ทันที มีการเพิ่มเพื่อนเหมือนโปรแกรม Messenger สำหรับโอนเงิน หรือเลือกส่งเป็นของขวัญหรือที่เรียกว่า หงเปา (Hong Bao) ซองแดงได้ แต่ที่สุดแล้วฟังก์ชันยอดนิยมที่ใช้สะดวกสุดนั้นก็คือ “การสแกนผ่าน QR Code อยู่ดีดูจากแค่หน้า Interface เราจะเห็นได้ว่า ฟังก์ชัน “Scan” “Pay” เเละ “Receive” สำหรับ QR Code จะถูกนำมาไว้บนสุดเสมอ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

 

ถอดบทเรียน e-Payment จีน สู่ ไทย ทำไม QR Code ถึงน่าสนใจที่สุด

หลายคนมีปัญหาเมื่อถึงเวลาที่จะใช้ “พร้อมเพย์” การบอกเบอร์มือถือ หรือให้เลขบัตรประจำตัวประชาชน ในบางโอกาสยังดูเหมือนเป็น “ข้อมูลส่วนตัว” ที่ไม่อยากเปิดเผยนัก

การปรับมาใช้ QR Code จึงกลายเป็นทางออกของปัญหาหลายๆ เรื่องที่ยูสเซอร์มีความกังวลอยู่

1. ไม่จำเป็นต้องบอกข้อมูลส่วนตัว (เบอร์โทรศัพท์ / เลขบัตรประชาชน) ก็สามารถ รับ-จ่าย เงินได้สะดวกสบาย

2. e-Payment สามารถแก้ปัญหา “แบงก์ปลอม” ในเมืองจีนได้อย่างเห็นผล ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ e-Payment ที่เมืองจีนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย

3. หมดปัญหายุ่งยากเรื่องเงินทอน รับเงินไม่ครบ

4. เป็นตัวช่วยชั้นดีที่ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่น ลืมกระเป๋าสตางค์ หรือเงินสดติดตัวไม่เพียงพอ

5. ความปลอดภัย สำหรับการใช้งาน “QR Code มาตรฐาน” นั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะเป็นมาตรฐานระดับสากลที่ได้รับการยอมรับ รวมถึงผู้ใช้งานยังต้องมีการเข้ารหัสทุกครั้งก่อนจ่ายเงินอยู่แล้ว

6. สามารถย้อนหลังดู “รายการแสดง รายรับ – รายจ่าย” ได้ตลอด ช่วยให้ผู้ใช้งาน หรือผู้รับเงิน เช็คประวัติการใช้งานได้ชัดเจน

7. ต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้หลากหลาย ซึ่งเป็นผลดีต่อพ่อค้าแม่ค้า ทั้งในเรื่องของการชำระเงินออนไลน์ ทำโปรโมชั่น ช่วยให้การชำระเงินเป็นระบบมากขึ้น
จะ “ปัง” หรือ “ดับ” ไม่ได้มีแค่ระบบ Payment ที่เป็นตัววัด แต่ต้องสร้างระบบนิเวศสังคมไร้เงินสดให้ได้

Active User ที่สำคัญของระบบการชำระเงินด้วย QR Code คือภาคประชาชนหรือผู้ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งการทำรายการส่วนใหญ่ คงหนีไม่พ้น “การซื้อของ-ช้อปปิ้ง” “การจ่ายค่าเดินทาง” และ “ร้านค้ารายย่อย เพื่อรับเงินจากลูกค้า” ดังนั้นการผลัดดันให้ Cashless Society เกิดขึ้นได้ จึงไม่ใช่แค่ระบบ “ระบบชำระเงินแบบใหม่ (Payment)” แต่เป็นการสร้าง “ระบบนิเวศสังคมไร้เงินสด” ที่สอดคล้องไปกับการดำเนินชีวิตให้ได้

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนอาจได้เห็นการเปิดเกมรุกหนักด้าน QR Code จากทาง SCB ไม่ว่าจะเป็นการปรับโฉมแอพโมบายแบงกิ้ง อย่าง SCBEASY ใหม่หมดเพื่อให้รองรับการใช้งานที่หลาก รวมถึงการใช้งานระบบ QR Code มาตรฐาน ต่อด้วย SCB จ่ายวินง่ายๆ แค่สแกน QR Code ก็จ่ายเงินค่าวินมอเตอร์ไซค์ได้ หรือจะเป็นการบุกตลาดนัดจตุจักรเพื่อจุดกระแสการใช้จ่ายผ่านระบบ QR Code ให้กับพ่อค้าแม่ค้า และผู้ที่มาจับจ่าย

และล่าสุดภายในงาน “แถลงข่าวความร่วมมือการใช้มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน” ที่จัดขึ้นโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย บูทของทาง SCB ยังมีการสาธิตวิธีนำ QR Code ไปต่อยอดได้ในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่นเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ซึ่งสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าผ่านระบบสแกน QR Code ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาแลกเหรียณอีกต่อไป หรือจะเป็นกิมมิคสนุกๆ อย่าง แม่ค้าพวงมาลัย คนขายล็อตเตอรี่ ตู้ AR ขายเสื้อผ้าอัตโนมัติ ก็สามารถจ่ายผ่าน QR Code ได้ทั้งหมด

จะเห็นได้ว่า SCB จะมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานจริง หาวิธีการต่างๆ มานำเสนอเพื่อปลี่ยน QR Code กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนเราให้ได้ ซึ่งสอดคล้องไปกับแนวทางที่ SCB ประกาศล่าสุด ว่าพร้อม #เป็นทุกอย่างเพื่อคุณ โดยแคมเปญทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมานั้น ในอนาคตจะสามารถขยายออกไปได้อย่างรวดเร็ว หากทุกอย่างพร้อม

วินมอไซค์ที่สามารารถใช้ QR Code ก็สามารถนำไปใช้กับการเดินทางรูปแบบอื่นๆ เช่น แท็กซี่มิตเตอร์ รถโดยสารอื่นๆ

ร้านค้า QR Code ในตลาดจตุจักร ก็สามารถนำไปใช้กับตลาดอื่นๆ ได้ ซึ่งวิธีการเข้าหาพ่อค้าแม่ค้า คนขายของ คือต้องตอบคำถามพวกเขาให้ได้ก่อนว่า “หากใช้ QR Code แล้วจะได้ประโยชน์อะไร รวมถึงผู้ซื้อว่าพวกเขาจะสะดวกสบายขึ้นได้อย่างไร” ซึ่งทาง SCB ได้มีการดูแลในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นออกแอพพลิเคชั่นเสริมสำหรับร้านค้า และสำหรับลูกค้า ออกมาเสริม

เเละในอนาคตอันใกล้นี้… เราน่าจะได้เห็นแคมเปญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ QR Code ตามมาอีกมากมาย เพราะเชื่อว่า QR Code จะสามารถกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการชำระเงินของคนไทยในอนาคตได้อย่างแน่นอน….



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online