วิกฤตโควิดที่ยังลากยาวมาถึงปีนี้ ทำให้งาน CES ที่อยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้ว ต้องหันไปจัดแบบ Online เต็มตัว และต้องลุ้นยอด View จากคอ Technonoly จะเข้ามากแค่ไหน
แม้ไม่ถึงกับ “ถูก Disrupt” แต่งานแฟร์ Technology เบอร์หนึ่งก็ต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อฝ่าวิกฤตระดับโลกทั้งที่ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยงาน CES ครั้งล่าสุดที่เริ่มขึ้นวันนี้ (11 ม.ค.) ถูกจับตามองอย่างมากว่าจะได้รับความสนใจมากน้อยแค่ไหน เพราะต้องปรับสู่ Online เต็มตัว จากผลกระทบของวิกฤตโควิด
CES คือชื่อย่อของ Consumer Electronic Show งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีในสหรัฐฯ โดยครั้งแรก ๆ เมื่อปลายยุค 60 จัดขึ้นในนครนิวยอร์ก และยังเป็นงานต่อยอดมาจาก Chicago Music Show งานแสดงสินค้ากลุ่มเครื่องดนตรี
แต่หลังจากนั้นมาสินค้าเทคโนโลยีก็ทวีความนิยมจนแซงหน้าเครื่องดนตรี บริษัทที่จัดงานจึงปรับให้เหลือแค่ปีละครั้ง จัดเฉพาะต้นปีซึ่งยังอยู่ในช่วงฤดูหนาว และเปลี่ยนสถานที่จัดงานมาเป็นลาสเวกัส
เครื่องเล่น CD รุ่นแรก
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา CES Las Vegas เป็นเวทีเปิดตัวให้กับสินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย เช่น เครื่องเล่น CD ที่ Philips และ Sony พัฒนาร่วมกันเมื่อต้นยุค 80 ต่อด้วยเครื่อง PDA รุ่น Newton ของ Apple เมื่อต้นยุค 90 ที่ต่อมาพัฒนาเป็น iPad กับ iPhone และเครื่องเกม Xbox ของ Sony เมื่อต้นยุค 2000
PDA รุ่น Newton ของ Apple
ถัดจากนั้น CES Las Vegas ก็พัฒนาจนเป็นงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากสุดในโลก และเต็มไปด้วยนวัตกรรม มีจำนวนผู้เข้างานเรือนแสน และยังมีแต้มต่อทั้งในเรื่องความคักคักของเมืองที่ใช้จัดงาน
และช่วงจัดงานในเดือนแรกของปี ท่ามกลางความเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีของแบรนด์อเมริกัน อย่าง IBM, Apple และ Amazon
ทว่าไม่กี่ปีมานี้ ทั้ง CES Las Vegas และงานคู่แข่งอย่าง IFA ในเยอรมนี และ Mobile World Congress ในสเปน กลับเจอเทคโนโลยี ‘เล่นงาน’ เสียเอง เพราะแบรนด์ใหญ่ ๆ ต่างพากันเปิดตัว Gadget ใหม่ ๆ เอง ทั้งที่สำนักงานใหญ่ หรือใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในการเข้าถึงแฟนพันธ์ุแท้และผู้บริโภคทั่วโลก
หลักฐานยืนยันถึงขาลงดังกล่าวของงานแฟร์เทคโนโลยีคือจำนวนผู้เข้างานที่ลดลงต่อเนื่อง โดยสำหรับ CES Las Vegas จากผู้เข้างาน 182,000 เมื่อปี 2018 ลงสู่ 175,000 คนในปี 2019 และปี 2020 ก็ลงอีกมาอยู่ที่ 171,000 คน
ปี 2020 ยังเป็นปีที่งานแฟร์ในทุกกลุ่มธุรกิจ ทุกสินค้า และทุกขนาด ตั้งแต่ Smartphone ไปจนถึงเครื่องบิน เจอปัญหาใหญ่จากการระบาดของโควิด-19 จนหลายงานจำเป็นต้องงดไป หรือปรับมาจัดแบบ Online ตามมาตรการสกัดการระบาดของรัฐบาลทุกประเทศ
มาปีนี้ที่วิกฤตโควิดกลับมาพ่นพิษอีกครั้งทำให้ทั่วโลกยังไม่คืนสู่ระยะปลอดภัย ธุรกิจที่มีการรวมตัวของคนหมู่มากซึ่งเสี่ยงต่อการระบาดครั้งใหญ่จึงต้องงด เปลี่ยนไปจัดแบบ Online และลดจำนวนคนเข้างานพร้อมมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจงานแฟร์เจอศึกสองด้าน ต้องปรับไปจัดแบบ Online เต็มตัว ทั้งที่ยังติดหล่มขาลงและต้องเรียกความสนใจจากผู้ชมออนไลน์ให้ได้ในวิกฤตโรคระบาด
ปีนี้ CES เปลี่ยนมาจัดแบบ Online เต็มตัวด้วยจำนวนแบรนด์ที่เข้าร่วมงาน 1,800 แบรนด์ ลงจาก 4,400 แบรนด์เมื่อปีก่อน โดย CTO บริษัทที่จัดงานแก้เกมด้วยการใช้ประโยชน์ของช่องทาง Online เต็มที่
เพิ่มการเข้าถึงข้อมูล ภาพ และวิดีโอต่าง ๆ ในงานเป็น 30 วัน เพื่อทดแทนความฮือฮาของนักข่าวและคอเทคโนโลยีที่หายไป หลังไม่ได้เห็น ได้สัมผัส Gadget ล้ำ ๆ ด้วยตนเองที่ในงาน
ส่วนเทคโนโลยีที่จะมาโชว์ตัวครั้งแรกในงาน CES แบบ Online ปีนี้ คาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์โรคแบบทางไกล และเทคโนโลยีที่ช่วยให้การใช้ชีวิตติดบ้านสะดวกยิ่งขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีกลุ่ม Smart Home และ 5G
Galaxy S21
สำหรับแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่จะมาโชว์ตัวแบบ Online ในงาน CES คือ Samsung ที่อาจมาเปิดตัว Galaxy S21 ส่วน GM จะมาย้ำถึงการมุ่งสู่รถพลังงานไฟฟ้า (EV) และเปิดตัวโลโก้ใหม่อย่างเป็นทางการ
ขณะที่ Microsoft จะมาเผยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีออนไลน์ ที่ Brad Smith หนึ่งในผู้บริหารคนปัจจุบันจะมาขึ้นพูดแบบ Online และยังเป็นการกลับมาเข้างานของ Microsoft ครั้งแรกรอบเกือบ 10 ปี อีกด้วย
Gary Sapiro
Gary Sapiro – CEO ของ CTA บริษัทผู้จัดงานยอมรับว่า “แม้นี่คือฝันร้ายนานนับปี แต่ก็ต้องปรับตัวให้ได้ตามสถานการณ์โลก”/cnn, bbc, cnet, ces
–
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ