ช่วงบ่าย ๆ กลางสัปดาห์ Marketeer มีนัดพูดคุยกับ คุณชลวิทย์ สุขอุดม ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารองค์ความรู้และส่งเสริมสังคม บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในโอกาสที่ SINGHA People Development ได้เตรียมจัดสัมมนา Online Conference ในหัวข้อ From Surviving to Thriving… อยู่รอดไม่พอ ต้องอยู่ต่อให้ได้”

ซึ่งเป็นงานที่มีวัตถุประสงค์ที่จะให้กำลังใจและผลักดันให้ทุก ๆ คนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพพนักงานบริษัททั้งหลาย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ “การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง” รวมไปถึงการปรับเปลี่ยน Mindset เพื่อที่จะสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายชีวิตการทำงานได้อย่างมั่นคง ภายใต้ความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ทุกคนต้องพัฒนา พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง

“ทุกอย่างมันเร็วขึ้น การ Disruption เกิดขึ้นทุกวงการ และ โควิด-19 ยังเป็นตัวกระตุ้นให้เร็วขึ้นไปอีก แต่วันนี้ต่อให้ไม่มีโควิด-19 คุณก็ต้องปรับตัวเอง เพราะมนุษย์เองก็กำลังถูก Disrupt โดย Ai เช่นกัน”

คุณชลวิทย์ กล่าวเริ่มต้นการสนทนาถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่เกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดกลุ่มหนึ่งได้แก่ “พนักงานประจำ” หรือมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่วันนี้หน้าที่การงานกำลังถูกสั่นคลอนโดยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตามเทรนด์ของธุรกิจยุคดิจิทัล

“วันนี้หลายคนรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน เมื่อทุกองค์กรกำลังวิ่งตามการเปลี่ยนแปลง พร้อมวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นพนักงานทั้งหลายก็ต้องยกระดับศักยภาพตัวเอง ไม่ใช่การพัฒนาเพื่ออยู่รอดในองค์กร แต่ต้องอยู่ให้ได้ดีด้วย ต้องเป็นตัวจริงในองค์กรให้ได้ ต้องสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นองค์กรต้องเก็บรักษาคุณไว้

เราจะเก่งขึ้น ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โดยพาตัวเองไปหาโอกาสใหม่ ๆ เสมอ เราจะไม่มีทางเก่ง ถ้าไม่รับอะไรใหม่ ๆ เข้าสมอง หนึ่งในวิธีของการเรียนรู้ของคนทำงานทั้งหลาย ง่ายที่สุดคือ อ่านหนังสือ หรือฟัง Podcast ของผู้มีความรู้หรือกูรูที่มีประสบการณ์ผ่านการแก้ปัญหา มี Case Study ต่าง ๆ ในหลากหลายแง่มุม นั่นอาจจะจุดประกายให้เราได้ฉุกคิด สามารถมองเห็นภาพกว้าง มองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เริ่มปรับเปลี่ยน Mindset และนำมาปรับใช้ในการทำงานพร้อมก้าวเป็นตัวจริงขององค์กรต่อไป”

ส่งต่อองค์ความรู้สู่สังคม

เพื่อเป็นการตอกย้ำเจตนารมณ์แห่งการให้ ซึ่งเป็นรากฐานในการตอบแทนสังคมที่บุญรอดให้ความสำคัญมาตลอด 88 ปีของการดำเนินธุรกิจ สิงห์  ในฐานะของ “องค์กรแห่งการเรียนรู้” จึงได้ต่อยอดแนวคิดดังกล่าว มาเป็นการจัดสัมมนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ From Surviving to Thriving… อยู่รอดไม่พอ ต้องอยู่ต่อให้ได้”

เพื่อส่งต่อ Knowledge ต่าง ๆ ขององค์กร ให้กับผู้ที่สนใจทุกท่านได้รับฟังประสบการณ์จริงจากกูรูตัวจริง เพื่อสร้าง Outward mindset หัวใจหลักที่องค์กรชั้นนำมากมายใช้เป็นเครื่องมือปลดล็อกศักยภาพและเร่งสร้างความสำเร็จ เพื่อให้คุณพร้อมเป็นตัวจริงขององค์กร

ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง นี่คือปรัชญาในการทำงานเพื่อสังคมของเรา ที่สานต่อตามเจตนารมณ์ของ พระยาภิรมย์ภักดี ผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งเราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นี่คือ DNA ของเรา

นอกจากนี้ เรายังเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ที่ขับเคลื่อนให้องค์กรเราพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งมาตลอด 88 ปี เรามี Knowledge ที่ทำให้มาถึงจุดนี้ได้มากมาย ทั้งเรื่องของคุณภาพในการผลิต ความสามารถในการสร้างแบรนด์ ความรู้การตลาด มีกูรูที่เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ มาแล้วมากมายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดพร้อมมาแบ่งปันให้งานครั้งนี้ ให้เป็นไอเดียที่ทุก ๆ คนสามารถนำไปต่อยอดได้

ซึ่งหน้าที่ของ Knowledge Management Group หรือกลุ่มงานองค์ความรู้ในบุญรอด มีหน้าที่สร้างและพัฒนาคน เราทำงานร่วมกับ HR ในงานต่าง ๆ ที่ทำให้คนบุญรอดเก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ดีขึ้นในการทำธุรกิจ จากตรงนี้เรามองมากกว่าแค่ในบริษัท เราอยากต่อยอดการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Corporate Shared Value : CSV) ให้ความสำคัญกับสร้างคุณค่าเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมในระยะยาว

เราใส่ใจกับการพัฒนาคนและไม่เฉพาะแค่กับคนบริษัท  โดยการส่งเสริมให้ทุกคนได้มีการศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดชีวิต มีทักษะความสามารถที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และสามารถเป็นคนมีคุณภาพของสังคม โดยนำจุดแข็งที่เรามีมามีส่วนร่วมพัฒนาคน ซึ่งที่ผ่านมา เราทำมาหลากหลายโครงการอย่างต่อเนื่อง”

คุณชลวิทย์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของงานครั้งนี้ คือ การนำเสนอในรูปแบบของ “Online Conference” ผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มของ SINGHA เพื่อให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ยุคดิจิทัลไลฟ์ และให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้สะดวก และสามารถส่งต่อกระจายไปสู่คนทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว

From Surviving to Thriving… อยู่รอดไม่พอ ต้องอยู่ต่อให้ได้” จะมีหัวข้อย่อยทั้งหมด ดังนี้

    1. บอกเล่าภาพรวมของ “From Surviving to Thriving…อยู่รอดไม่พอ ต้องอยู่ต่อให้ได้”
    2. เศรษฐกิจจะดีหรือแย่ ถ้าคุณแน่ก็ไปต่อได้
    3. Organizational Resilience : ทิศทางข้างหน้าขององค์กรธุรกิจ หลังปีแห่งการเปลี่ยนแปลง
    4. องค์กรปรับตัวแล้ว คุณต้องก้าวให้ทัน!
    5. Personal Trust และการสร้างการยอมรับ
    6. Shift The Old Paradigm สร้าง Outward Mindset
    7. เตรียมตัวอย่างไร ให้โตแบบ Exponential Growth
    8. Social Network… เรื่องเดิมหรือเรื่องใหม่
    9. The Game Changer : มองอากาศให้เป็นโอกาส
    10. Life Long Learning : การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทุกวัน การเรียนรู้ก็เช่นกัน

พร้อมต่อยอดเสริมทักษะให้สอดรับกับทุกยุคสมัย

นับเป็นครั้งแรกของ  SINGHA People Development ในการจัดกิจกรรมมอบความรู้ในรูปแบบ “Online Conference” ซึ่งคุณชลวิทย์ได้กล่าวว่า นี่จะเป็นจุดเริ่มต้น ในการวางแผนมอบองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับสังคมในระยะยาวอีกมากมาย เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคนต่อไป

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราเปิดสัมมนาแบบนี้ เราวางแผนระยะยาวไว้ว่าจะทำต่อไปแน่นอน โดยหัวข้อต่าง ๆ จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามความต้องการของสังคมในแต่ละช่วงเวลา หรืออาจจะมีการย่อยรายละเอียดในเชิงลึกลงไป โดยใช้ตรงนี้เป็นพื้นฐานต่อยอดไปให้เฉพาะกลุ่มขึ้น เจาะจงในสายงานต่าง ๆ เฉพาะทาง เฉพาะอาชีพมากขึ้น เช่น อาจจะเป็นสัมมนาในทางเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหาร คนที่อยู่ในธุรกิจอาหารควรฟัง หรืออาจจะเป็นธุรกิจเครื่องดื่ม ใครที่อยู่ในวงการเครื่องดื่มควรจะพัฒนาตัวเองอย่างไร

เราในฐานะของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงอยากให้ทุกคนได้รับความรู้ดี ๆ ตลอดเวลาผ่านทุก ๆ กิจกรรมที่เรานำเสนอ อยากให้รอติดตามกันต่อไป รับรองว่าได้ประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาตัวเองและองค์กรได้แน่นอน”

งานสัมมนา Online Conference ในหัวข้อ From Surviving to Thriving… อยู่รอดไม่พอ ต้องอยู่ต่อให้ได้” โดย SINGHA People Development จัดขึ้นวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2564 ที่อาคาร Singha Complex และ Online Platform

รายละเอียดเพิ่มเติมที่



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online