ปัจจุบัน KBank และ SCB เป็นผู้นำในเรื่อง QR Code อย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยการทำการตลาด การทำแอปฯ การลงไปช่วยร้านค้าให้ใช้ QR Code ได้ง่ายยิ่งขึ้น..
จนทำให้ ปิ๊ปจัง และ แม่มณี กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใครเห็นก็เข้าใจทันที ว่าร้านนี้จ่ายด้วย QR Code ได้
สงคราม QR Code … ยิ่งไม่ลงทุน ยิ่งขาดทุน
เดิมคนจะฝากเงินในบัญชีเงินฝาก เวลาจะใช้ก็กดออกมาใช้ แต่เมื่อมี QR Code เข้ามา คนก็จะเลือกใช้ QR Code จากธนาคารที่สะดวก ปลอดภัย และได้โปรโมชั่นเยอะที่สุด ฉะนั้นถ้าธนาคารไหนไม่มี QR Code เงินฝากที่เคยอยู่ก็จะถูกย้ายไปธนาคารอื่นๆ
ทุกธนาคารจึงต้องรีบสร้างระบบ QR Code เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต หรือ ธนาคารออมสิน …
จากรูปด้านบนจะสังเกตเห็นได้ว่า ทุกธนาคารจะเริ่มจากร้านอาหาร ร้านน้ำ หรือร้านค้าในชีวิตประจำวันของคนไว้ก่อน เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเหล่านี้ได้ง่าย
เมื่อ FinTech เข้ามา ผู้บริโภคก็มีทางเลือก และอำนาจในการต่อรองกับธนาคารมากขึ้น
QR Code ในอสังหาริมทรัพย์
เมื่อธนาคารอื่น เร่งเครื่องตามมาติดๆ K Bank และ SCB จึงต้องเพิ่มสปีด ติดฟีเจอร์ให้ QR Code ของตัวเอง
โดยในวันที่ 10 เมษายน 2561 ธนาคารกสิกรไทย จับมือ เอพี ไทยแลนด์ เปิดตัว Cashless Payment ครั้งแรกในอสังหาฯ โดยสร้าง Personal QR Codeในการจองซื้อบ้าน และคอนโด เพียงเปิดแอปฯ K Plus ก็สามารถจองได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกดเงินสด หรือถือเช็คเป็นหมื่นติดตัว
หลังจากนั้นไม่นาน ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็จับมือ แสนสิริ ให้ลูกค้าธนาไทยพาณิชย์สามารถชำระค่าจองบ้าน ผ่าน Virtual Credit Card ในแอปฯ SCB Easy Pay ได้ทันที โดยข้อดีคือ สามารถสะสมแต้มได้ด้วย
เท่ากับว่า ลูกค้าของ KBank และ SCB ก็สามารถจองบ้าน จองคอนโด ได้ทันที ไม่ต้องไปกดเงินสดให้เสียเวลา
นอกจาก QR Code ที่ใช้การในจองนั้น ปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่ก็รับการชำระค่าบ้าน โดยนำ Barcode ที่อยู่ในบิลนั้น ไปสแกนในแอปฯ จ่ายเงินที่รองรับ ก็สามารถโอนเงินแบบไม่มีค่าธรรมเนียมได้ด้วย.. ในอนาคต ในบิลชำระเงินทุกอย่าง จะมีทั้ง Barcode และ QR Code ควบคู่กันไป ใครสะดวกแบบไหนก็จ่ายแบบนั้น
จาก Cashless Economy สู่ Cardless Economy
ปัจจุบัน ระบบการชำระเงินในกทม. และเมืองสำคัญ เริ่มเข้าสู่เศรษฐกิจแบบไร้เงินสด (Cashless Economy) โดยมี Credit Card, Debit Card, E-Wallet และ QR Code เป็นทางเลือกทั้งหมดในการชำระเงิน..
ในเฟสต่อไป เศรษฐกิจนอกเมืองก็จะเข้าสู่ Cashless กันมากขึ้น ส่วนเศรษฐกิจในเมืองก็จะขยับสู่ Cardless โดยบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรรถไฟฟ้า บัตรทั้งหลายจะเข้าไปอยู่ในสมาร์ทโฟนทั้งหมด เวลาจะใช้บัตรก็เปิด Visual Card ในสมาร์ทโฟนก็ใช้งานแทนบัตรได้เลย
ในอนาคตคน กระเป๋าตังอาจจะมีแค่บัตรประชาชน กับ บัตรสำรองในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และสมาร์ทโฟนทุกรุ่น จะมีระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
อย่างไรก็ดี เราก็ยังไม่สามารถตัดขาดจากเงินสดได้ 100% เพราะ ค่าเดินทางสาธารณะ, ร้านอาหารข้างทาง, ร้านค้าในต่างจังหวัด หรือแม้แต่การให้ทิป ส่วนใหญ่ก็ยังใช้เงินสดกันอยู่
แล้วคุณล่ะ ยังใช้เงินสดทำอะไรกันบ้าง?
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ