สื่อทีวี หรือจะสู้ สตรีมมิ่ง เปิดพฤติกรรมผู้บริโภค 2565 ยังคงดูทีวี แต่ดูผ่านช่องทางอื่น

ถ้าเราถามว่าพฤติกรรมในการรับชมสื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแค่ไหน

คุณอาจจะตอบว่าเปลี่ยน

แต่อาจจะไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปแค่ไหน

 

Nielsen สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในหัวข้อ 2022: THE AGE OF CONSUMER DEMAND พบว่า ผู้บริโภคกับการรับชมสื่อในปัจจุบันที่จะส่งผลกับพฤติกรรมในอนาคต โดยเฉพาะสื่อทีวี กับ สตรีมมิ่ง

 

ก่อนที่เราจะเล่าเรื่องราวของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีกับสื่อทีวีและสตรีมมิ่ง

เราขอเล่าให้ฟังสักนิดว่า ในวันนี้ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเวลามากขึ้น

จากผลสำรวจของ Nielsen พบว่า

51% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการใช้เวลามากกว่าการหาเงิน เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ที่มีเพียง 46% เท่านั้น

92% ให้ความสำคัญในการใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น เพิ่มขึ้นจาก 82% ในปี 2019

33% มีเวลาในการไปเดินช้อปปิ้งน้อยลง เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจาก 29% ในปี 2019

 

สำหรับการใช้เวลากับสื่อ ในวันนี้คนไทยใช้เวลากับสื่อทีวี อินเทอร์เน็ต และวิทยุ รวมกันถึง 9.32 ชั่วโมง ซึ่งเวลาที่ใช้ไปกับสื่อเหล่านี้ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านโฆษณา

ในแต่ละวันคนไทยใช้เวลากับสื่อ 3 สื่อแยกย่อยได้ดังนี้

ทีวี 4.10 ชั่วโมงต่อวัน

อินเทอร์เน็ต 3.45 ชั่วโมงต่อวัน

วิทยุ 1.37 ชั่วโมงต่อวัน

 

 

แม้สื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่ใช้เวลามากที่สุด แต่บริบทของการดูทีวีได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคนไทยดูคอนเทนต์ออกอากาศตามผังรายการทีวีน้อยลง แต่ไปดูรายการย้อนหลัง และดูรายการผ่านดิจิทัลในรูปแบบสตรีมมิ่งมากขึ้น

แม้การดูทีวียังคงมีอัตราการดูที่สูงถึง 85% ก็ตาม

การที่คนไทยเปลี่ยนไปดูรายการย้อนหลังแบบออนดีมานด์และดูผ่านดิจิทัลในรูปแบบสตรีมมิ่งมากขึ้น ยังมาพร้อมกับความหลากหลายของคอนเทนต์และแพลตฟอร์มในกลุ่มสื่อสตรีมมิ่ง ทั้งการสตรีมมิ่งต่างชาติและไทย

สิ่งเหล่านี้ผลักดันให้คนไทยเข้าถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

จากการสำรวจของ Nielsen พบว่าในปี 2017 คนไทยเข้าถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งเพียง 10.02%

ส่วนในปี 2021 คนไทยเข้าถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง 52.29% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีนัยสำคัญที่บอกเราได้อย่างหนึ่งว่า บริบทการรับชมคอนเทนต์ของผู้ชมได้เปลี่ยนไป แพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ต่าง ๆ มีการปรับตัว พัฒนา และทรานส์ฟอร์มตัวเองเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคหลากหลาย

แม้ในวันนี้คนไทยจะเข้าถึงทีวีได้มากถึง 99% ของประชากรทั้งประเทศ

แต่เมื่อดูที่ความถี่ของการเข้าชมคอนเทนต์ผ่านทีวีกลับพบว่า

ในปี 2021 นับตั้งแต่มกราคม-พฤศจิกายน คนไทยเข้าดูทีวีวันละ 48% ของการเข้าถึงทีวีของคนไทยทั้งหมด

ซึ่งเป็นยอดการชมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 51% ในปี 2020 และ 53% ในปี 2019

 

ยอดเรตติ้งในช่วงไพร์มไทม์ได้ลดลงเช่นกัน จาก 22.5 ในปี 2019 เหลือเพียง 21.5 อ้างอิงจากมกราคม-พฤศจิกายน 2021

แม้คนจะดูทีวีเฉลี่ยต่อวันน้อยลง แต่จากการสำรวจของ Nielsen พบว่าคนใช้เวลาในการดูทีวีเพิ่มขึ้นจาก 4.07 ชั่วโมงต่อวันในปี 2019 เป็น 4.10 ชั่วโมงต่อวันนับตั้งแต่มกราคม-พฤศจิกายน 2021

ส่วนการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านอินเทอร์เน็ตมีอัตราส่วนในการรับชมที่เพิ่มขึ้น

จากปี 2019 รับชม 3.18 ชั่วโมงต่อวัน

2020 รับชม 3.34 ชั่วโมงต่อวัน

2021 (อ้างอิงช่วงเวลา ตุลาคม 2020-กันยายน 2021) รับชม 3.45 ชั่วโมงต่อวัน

ทำให้เห็นว่าการดูทีวีสดลดลง แต่คนดูทีวีสตรีมมิ่งออนดีมานด์มากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้มาพร้อมกับแพลตฟอร์มดิจิทัลที่หันมาทำรายการสดในรูปแบบผังทีวีมากขึ้นเช่นกัน

 

อย่างไรก็ดี แม้วันนี้คนดูรายการทีวีที่ออนไลน์ตามผังรายการน้อยลง

แต่ทีวียังคงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริโภคเพียงแต่เปลี่ยนบริบทในการใช้ทีวีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม จากการดูทีวีตามผังรายการ เป็นการเปิดทีวีเพื่อเข้าดูวิดีโอสตรีมมิ่ง เล่นเกม และอื่น ๆ

 

ทั้งนี้ สำหรับการโฆษณา Nielsen สำรวจพบว่า สื่อทีวี ยังคงมีความสำคัญในฐานะสื่อที่ผู้บริโภคเชื่อถือเมื่อเทียบกับสื่อออนไลน?

เพราะ

67% มองโฆษณาผ่านสื่อทีวีเชื่อถือได้

43% เห็นโฆษณาผ่านทีวีและเกิดการพิจารณาว่าจะไปซื้อสินค้าที่เห็น

ส่วนสื่อออนไลน์

56% มองโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เชื่อถือได้

38% เห็นโฆษณาในสื่อออนไลน์และเกิดการพิจารณาว่าจะไปซื้อสินค้านั้น ๆ

 

และ Nielsen ให้ข้อมูลค่าสื่อทีวีและออนไลน์ยัง Return Invesment ได้มากถึง 1.2 เท่า

 

สำหรับการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภคในการรับชมคอนเทนต์วิดีโอเป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องจับตามองเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด โดยเฉพาะในอนาคตที่โลกเราเข้าสู่ Metaverse ที่อาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปจากที่เราเป็นอยู่ในทุกวันนี้จนเราไม่สามารถที่จะคาดเดาได้

I-

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน