จากบริบทโลกที่ถูกดิสรัปต์ด้วยแรงขับของเทคโนโลยีและมีตัวเร่งอย่างสถานการณ์โควิด-19 คนทั้งโลกมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขยับเคลื่อนเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว ผลักดันให้ทุกภาคส่วนหันมาใช้เทคโนโลยีและเคลื่อนย้ายตัวเองสู่โลกดิจิทัลแบบเต็มตัว (Digital Transformation) เพื่อให้ไปต่อให้ได้ในโลก Next Normal
เทคโนโลยี AI, ระบบ Cloud, Internet of Things (IoT) ความเร็วของอินเทอร์เน็ต เครือข่ายสัญญาณ และอื่น ๆ อีกมากมาย กลายเป็นโอกาสสำคัญของกลุ่มธุรกิจที่ปรับตัวเร็วด้วยการบูรณาการของเทคโนโลยีเหล่านี้ในรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไป
โดยตลอดระยะเวลามากกว่า 3 ปีที่ผ่านมา KBank ได้รับบทบาทสำคัญในการร่วมสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้าง Digital Platform ด้วยการนำศักยภาพความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาร่วมพัฒนากับหน่วยงานชั้นนำด้านสาธารณสุข สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการ การใช้ชีวิตของผู้คนที่อยู่ใน Ecosystem ให้ได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ
คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาในช่วงกระแสการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงเวลาที่ KBank กับ KBTG ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับภูมิภาคของ KBank และพันธมิตรที่เป็นหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันสนับสนุนและร่วมพัฒนาการวางโครงสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ และเร่งพัฒนาบริการต่าง ๆ บน Digital Platform ที่มีโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน โจทย์สำคัญของธนาคารคือ การทำให้ Digital Platform ที่ธนาคารร่วมสนับสนุนและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้จำกัดแค่บริการทางการเงินเท่านั้น ด้วยการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญไปเชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ของพันธมิตรชั้นนำที่อยู่ในแต่ละธุรกิจ เป็นการสร้าง Lifestyle Ecosystem ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการใช้ชีวิตยุคนี้ที่จะเติบโตไปด้วยกัน จะเสริมศักยภาพแก่กันและกัน และทำให้ทุกคนสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้ง่าย สะดวกและปลอดภัย
KBank ได้ใช้เวลาพัฒนาและสนับสนุนการพัฒนา Digital Platform ให้กับหน่วยงานหลักของประเทศไทย ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา โดยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาแอป CU NEX สำหรับนิสิต และแอป CU NEX STAFF สำหรับบุคลากร และพัฒนาแอปให้กับโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ 5 แห่ง และได้มีส่วนร่วมกับภาคการท่องเที่ยวพัฒนาแพลตฟอร์ม TAGTHAi
จนถึงวันนี้ Digital Platform หลากหลายรูปแบบได้เปิดให้ใช้งานเต็มรูปแบบ และสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยมีแกนหลักของโครงสร้าง Digital Platform ใน 3 ด้าน ได้แก่
- ระบบสารสนเทศ วางโครงสร้างการเชื่อมต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางไว้อย่างเป็นระบบ และมาแสดงที่แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนและเวลาทำงาน และจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย
- พัฒนารูปแบบการใช้งานด้วย UX และ UI ที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้งานสามารถจัดการขั้นตอน ในการเข้ารับบริการต่าง ๆ บนสมาร์ตโฟนด้วยตัวเองได้เกือบทั้งหมด
- เชื่อมต่อระบบการชำระเงินบนแอป เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ โดยนำบริการด้านการเงินจาก Business Ecosystem ขององค์กรไปเชื่อมต่อระบบการชำระเงินผ่านแอปที่รองรับการชำระเงินหลากหลายรูปแบบ และยังช่วยให้ข้อมูลการเงินเข้าสู่ระบบการจัดการได้อย่างรวดเร็วแม่นยำยิ่งขึ้น
สนับสนุนการพัฒนา Digital Healthcare Platform ร่วมกับโรงพยาบาลรัฐ 5 แห่ง
Health Tech เป็นเมกะเทรนด์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก ในภาวะที่ทั่วโลกต่างเผชิญกับวิกฤตโควิดและต่างต้องการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเป็นส่วนสำคัญที่จะยกระดับให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยในเดือนกรกฎาคม ระบุว่า ในปี 2564 การใช้จ่ายสำหรับ Health Tech ในประเทศไทยอยู่ที่ราว 300-400 ล้านบาท แต่จากสถานการณ์การระบาดของโควิดที่เร่งให้ Health Tech เข้ามามีบทบาทในการบริการสุขภาพ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและอำนวยความสะดวก ประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ของประเทศไทย และพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น โดยปัจจุบันการใช้ Health Tech ของภาคธุรกิจ (B2B) เน้นไปที่การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สำหรับการจัดการภายในองค์กรและยกระดับการบริการ เช่น ระบบจัดการข้อมูลผู้ป่วย ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล หุ่นยนต์บริการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
หนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ โรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการด้านสุขภาพ เร่งพัฒนาศักยภาพการบริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ ระบบบริหาร ด้านบริการ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนทำงาน ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก และปลอดภัย
ในส่วนของภาครัฐ เราได้เห็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็น Smart Hospital อย่างเต็มกำลัง ขณะที่บทบาทของภาคเอกชนอย่าง KBank ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ในภาคสาธารณสุข
โดย KBank ได้ร่วมมือพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐ 5 แห่ง คือ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ. ชลบุรี, รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, รพ. ราชวิถี และสถาบันประสาทวิทยา เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านสุขภาพสู่การเป็น Smart Hospital เพราะนอกจากเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้คนเข้าถึงการบริการสุขภาพและสาธารณสุขที่ดีขึ้นในวงกว้าง แบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ พัฒนาการบริหารงานของโรงพยาบาลให้ก้าวหน้าแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์การรักษาที่ดีขึ้นด้วย
แอปพลิเคชันของโรงพยาบาลที่ KBank ได้ร่วมพัฒนา มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจและตอบโจทย์การเข้ารับบริการของคนไข้ที่สะดวก และลดความเสี่ยงจากโควิด-19 มากขึ้น อาทิ การลงทะเบียนนัดหมายเพื่อพบแพทย์หรือกดรับบัตรคิวบนแอปที่ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามารอคิวแต่เช้า, การมีบริการใบนำทางที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่สับสนในการเข้ารับบริการแต่ละจุดในโรงพยาบาล ฯลฯ
สำหรับการร่วมขับเคลื่อนบริการสาธารณสุข ยกระดับโรงพยาบาลให้เป็น Smart Hospital ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ KBank อยู่ระหว่างการประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ร่วมกันพัฒนาโครงการ Smart OPD ให้กับ 11 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร (สนพ.) โดยจะเป็นรูปแบบแอปเดียวใช้ได้ทั้ง 11 โรงพยาบาล
ประสบความสำเร็จกับแพลตฟอร์ม CU NEX สู่ Digital Lifestyle University
แพลตฟอร์ม CU NEX ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พัฒนาร่วมกับ KBank และ KBTG ได้เปิดใช้บริการมา 3 ปีแล้ว โดยมียอดดาวน์โหลดใช้งานของนิสิตกว่า 70,000 คน จากการที่แอปพลิเคชันมีฟีเจอร์สำคัญต่าง ๆ เช่น การแจ้งข่าวสารสำคัญ, การดูตารางเรียนตารางสอบ, การชำระค่าเล่าเรียน, สิทธิพิเศษ, การขอทุน ง่ายผ่านแอป ช่วยสนับสนุนการใช้ชีวิตทั้งในการเรียนและไลฟ์สไตล์นอกรั้วมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างสะดวกสบาย
CU NEX ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มหลักที่เชื่อมโยงการศึกษาและการใช้ชีวิตของนิสิต อาจารย์และบุคลากรเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างราบรื่น และยังได้ขยายการใช้งาน CU NEX ไปสู่กลุ่มบุคลากร ด้วยการเปิดบริการแอปพลิเคชัน CU NEX STAFF รองรับการใช้งานของบุคลากรจุฬาฯ จำนวน 8,000 คน
โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนิสิต อาจารย์ และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน CU NEX และ CU NEX STAFF ในการเชื่อมต่อกิจกรรมและหน่วยงานต่าง ๆ ในช่วงสถาณการณ์ โควิด- 19 ได้ผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต โดยไม่ต้องเสี่ยงออกจากบ้านเพื่อมามหาวิทยาลัย เนื่องจาก CU NEX ออกแบบให้ใช้งานง่ายและพร้อมใช้งานได้ทันที ทั้งการเลือกตั้งผ่านแอป, ข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องการจองวัคซีน รวมถึงการให้ข้อมูลเรื่องขั้นตอนการจองวัคซีน ฯลฯ ส่วน CU NEX STAFF ก็เอื้อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถ Work from Home ได้จากทุกที่ โดยมีฟีเจอร์ Clock in/out สำหรับการลงเวลาปฏิบัติงานผ่านแอปได้ง่ายและสะดวก นับเป็นการยกระดับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยสู่การเป็น Digital Lifestyle University ไปอีกขั้น
โดยเป้าหมายต่อไปของ KBank ในการพัฒนา CU NEX คือ การต่อยอดแพลตฟอร์มนี้ให้เป็น Single Portal ให้นิสิตเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม จัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิด Creative and Lively Content บนแอป CU NEX อย่างต่อเนื่อง และอัปเดตฟังก์ชันต่าง ๆ ให้ทันกับยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ CU NEX เป็นแพลตฟอร์มที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital Lifestyle University อย่างเต็มรูปแบบ
TAGTHAi (ทักทาย) แพลตฟอร์มสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ยั่งยืน
โจทย์สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระหว่างเตรียมพร้อมรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวภายใต้ชีวิตวิถีปกติใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ การปรับตัวและพัฒนาศักยภาพของการบริการที่คำนึงถึงสุขอนามัยมากขึ้น โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวเข้ามารองรับ เพื่อนำไปสู่ประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อ (Seamless experience) และเข้าถึงพื้นที่ระดับท้องถิ่น ลดการกระจุกตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวหลัก โดยนวัตกรรมเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยในธุรกิจท่องเที่ยวจากทุกพื้นที่ของประเทศ เข้าถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
แอป TAGTHAi เป็นแพลตฟอร์มบริการด้านการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดย บริษัท ไทย ดิจิทัล แพลตฟอร์ม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ KBTG บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของ KBank ร่วมกันพัฒนามากว่า 3 ปี โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติใช้งานกว่า 180,000 ราย เชื่อมโยงข้อมูลการท่องเที่ยว สินค้าและบริการของผู้ประกอบการตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบครบวงจร ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง
ความร่วมมือในการผลักดันแอป TAGTHAi ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างนิเวศทางธุรกิจ และ Big Data ที่ไหลเวียนในระบบจะเป็นประโยชน์ในการประมวลผล เพื่อนำไปพัฒนาเชิงการตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เติบโต รับกับไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดช่องทางการขายให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ และอื่น ๆ ใช้โอกาสดังกล่าวในการเพิ่มศักยภาพของตนเพื่อเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวในวงกว้างผ่านแอป TAGTHAi
จากที่เล่ามาทั้งหมด ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า Digital Platform ที่ KBank ร่วมพัฒนาเป็นมากกว่าแค่ธนาคารที่ดูแลเรื่องการเงิน ซึ่งความร่วมมือและให้การสนับสนุนกับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ KBank ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์บริการและนวัตกรรมแห่งอนาคต และมุ่งสู่การให้บริการมากกว่าความเป็นธนาคาร (Beyond Banking) และที่มากกว่าเทคโนโลยี คือ ผู้คนที่ใช้ชีวิต KBank จึงตั้งใจเอาความเชี่ยวชาญมาใช้สร้างสรรค์และทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อร่วมกันสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



