ในวันนี้เราเห็นดราม่าเกิดขึ้นมากมายบนโลกโซเชียล และสามารถเกิดขึ้นในทุกทอปปิกบนโซเชียลมีเดียไทย
จนใครหลายคนมองว่า Drama is a new normal ที่สามารถเกิดขึ้นได้
ข้อมูลจาก กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน Marketing Day 2022
พบว่าปี 2021 ที่ผ่านมาในโลกของโซเชียลมีเดียมีการพูดถึงบริบทที่เกี่ยวกับคำว่า ดราม่า และทัวร์ลง มากถึง 1.3 ล้านข้อความ 186 ล้าน Engagement ซึ่งจำนวนที่กล้าอ้างอิงนี้เป็นการพูดในทอปปิกสาธารณะเพียงเท่านั้น
ส่วนการพูดถึงในทอปปิกส่วนตัวคาดการณ์ว่าจะมีมากกว่าทอปปิกสาธารณะ 3 เท่า
และการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดราม่าในโลกโซเชียลมีการพูดคุยที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
แม้ดราม่าไม่มีใครอยากจะให้เกิด ทั้งบุคคลและแบรนด์ แต่เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคำว่าดราม่าได้
เพราะดราม่าส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาจากบุคคลหรือแบรนด์ที่ถูกพูดถึงในประเด็นดราม่า แต่จากบุคคลอื่นภายนอกที่เกี่ยวกับบุคคลหรือแบรนด์เข้าไปอยู่ในเรื่องดราม่านั้น ๆ
แล้วเราเรียนรู้และแก้ไขดราม่าอย่างไร
กล้าให้ข้อมูลว่า Drama Life Cycle จะมีแพ็ตเทิร์นหลักอยู่ 4 State คือ
Trigger – Panic – Discuss – End
และในแต่ละ State ของ Drama Cycle มีบริบทของความท้าทายที่แตกต่างกันไป
Trigger State
เป็นจุดที่ดีที่สุดในการคอนโทรลดราม่า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะหา Trigger ก่อนเกิดดราม่าไม่เจอ และส่วนใหญ่จะเจอ Trigger ของเรื่องดราม่าเมื่อดราม่าเกิดขึ้นมาแล้ว
ในตำราต่างประเทศ Trigger ของเรื่องดราม่าสามารถเกิดขึ้นจาก 4 ประเด็น ได้แก่
Poor Customer Service ถูกแคปเจอร์ไปสร้างให้เกิดดราม่า
Poor Marketing Practice ทำไปโดยลืมคิดถึงอะไรบางอย่าง
Poor Public Relations เกิดเหตุแล้วควบคุมไม่ไหว เกิดคำถามขึ้นมาในสังคมแล้วไม่ตอบ หรือตอบไม่สวย
Poor Governance เช่น การตัดสินใจผิดพลาด หรือการโยนความผิดไปมา
ส่วนในประเทศไทย Trigger ของเรื่องดราม่ามีมากกว่านั้น
Trigger ที่เกิดดราม่าในโซเชียลมีเดียแบบไทยประกอบด้วย 7 ประเด็นหลัก ได้แก่
Sexual Harassment
Bully & Racism
Cultural Inappropriate Actions
Gender Inequality
Political Polarization
Environmental Ignorance
Generation Gap
ถ้าแบรนด์ทำการตลาดแตะ 7 เรื่องนี้ โอกาสการเกิด Trigger จะสูงมาก
Panic State
ในช่วงเวลา Panic State เริ่มตื่นตัวกับดราม่าที่เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาที่นักสืบโลกโซเชียลเริ่มทำงาน
ช่วง Panic State ส่วนใหญ่แล้วประชาชนโซเชียลจะนิยมแชร์ หรือแท็กเพื่อนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับดราม่า เพราะมองว่าการแชร์การแท็กเพื่อน เป็นสิ่งที่ Enjoy ในการเมาท์กับเพื่อนผ่านโซเชียล
ช่วงเวลานี้กล้าแนะนำว่าถ้าแบรนด์สามารถควบคุมเรื่องดราม่าที่เกิดขึ้นได้จะไม่ค่อยเกิดความเสียหายใน State ต่อไป
Discuss State
เป็น State ที่น่ากลัวที่สุดของดราม่า โดยเฉพาะในช่วง Debating จากการที่ประชาชนโซเซียลเกิดพฤติกรรม Talk of the unknow คุยในสิ่งที่ไม่รู้จากคนที่ไม่รู้มาคุยกัน ซึ่งสิ่งที่คุยกันอาจจะไม่มีความจริงอยู่ในนั้น และไม่สามารถหยุดให้พวกเขาเลิกคุยกันได้
เมื่อคนไม่รู้คุยกับคนไม่รู้ จะจุดระเบิดที่เกิดการแตกประเด็นอีกมากมายจากสิ่งที่ไม่รู้
ก่อนที่จะค่อย ๆ หาทางจบของเรื่องดราม่าในรูปแบบต่าง ๆ
End State
มาถึงตอนจบของเรื่องดราม่า
ใน State นี้จะมีฉากจบอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่
Clear
ปริศนาทั้งหมดไขกระจ่าง เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดราม่าออกมาแถลงข่าว, ตำรวจ หรือศาล ออกมาให้ข่าว เป็นต้น
การจบในรูปแบบ Clear ส่วนใหญ่จะจบออกมาสวย
Pause
เป็นตอนจบที่อาจจะยังไม่จบ เพราะประชาชนโซเชียลอาจจะหยุดดราม่าเรื่องนี้ไว้ก่อน เพื่อไปดราม่าเรื่องอื่นที่ใหม่กว่า หรือมีประเด็นมากกว่า
ตอนจบในรูปแบบนี้ยังไม่เรียกว่าจบซะทีเดียว แต่เป็นการหยุดเพื่อไปดราม่าอื่นและกลับมาใหม่
ในมุมของแบรนด์อาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการพักหายใจ และตั้งตัวก่อนที่ดราม่าจะวนเวียนกลับมาใหม่
Meme
ถือเป็นตอนจบที่หาทางลงแบบสนุกสนาน เป็นเรื่องตลก เรื่องดราม่าที่เกิดบางเรื่องหาทางลงไม่ได้และประชาชนในโซเชียลหาทางจบด้วยมีมที่เฮฮา และไปดราม่าเรื่องอื่น
เมื่อดราม่าไม่ใช่มาม่าที่สำเร็จรูป วันนี้แบรนด์คุณพร้อมรับมือกับ Drama is a New Normal แค่ไหน
I-
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co / Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

