ตลาดปกติเฉลี่ยต่อปี 35,000 คัน ปัจจับลบในปี 2558 ที่ทำให้ตลาดลดลง 10%

1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ ราคาพืชผลทางการเกษตรลดต่ำลง
2. ปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกร
สภาพตลาดในปี 2559
ตลาดรถแทรคเตอร์ของปี 2558 ลดลงถึง 10% จากปัญหาด้านเศรษฐกิจและภัยแล้ง ส่งผลให้ตลาดรวมในช่วง Q1-Q2 ของปี 2559 ยังคงนิ่งอยู่ แต่จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่าในช่วงต้นของ Q3 สภาพภัยแล้งของไทยจะกลับมาดีขึ้นซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นของเกษตรกรไทยกลับมารวมถึงกำลังซื้ออีกด้วย และนอกจากปัญหาภัยแล้งที่มีอัตราดีขึ้นแล้ว ตลาดยังคงมีการเติบโตจากนโยบายการส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐที่จะเป็นตัวช่วยให้ตลาดเติบโตอีกด้านนึงซึ่งจะทำให้ตลาดในปี 2559 กลับมาเติบโตถึง 95% (33,250คัน) จากตลาดปกติ (35,000คัน) หรือดีกว่าปี 2558 5%
สภาพด้านการแข่งขัน
ในปีที่ผ่านมาการแข่งขันมีค่อนข้างสูงแต่แบรนด์ต่างๆยังคงหาวิธีเซฟตัวเองจากกำลังซื้อของเกษตรกรที่ลดลง แต่ด้วยการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่หลายแบรนด์ในตลาดทำให้ตลาดยังคงมีการแข่งขันที่สูงและรุนแรงต่อเนื่องจนปี 2559 และคาดว่า ในช่วง Q3-Q4 ปี 2559 จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
ในตลาดรถแทรคเตอร์แข่งกันด้วยอะไร
ตลาดรถแทรคเตอร์ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จะไม่เน้นการแข่งขันเรื่องราคาและโปรโมชั่น แต่จะแข่งกันในเรื่องของคุณภาพ แรงม้า อุปกรณ์ต่อพ่วง และ การประหยัดน้ำมัน ซึ่งถ้าคำนวนแรงม้าอุปกรณ์ต่อพ่วงและใช้น้ำมันให้น้อยที่สุดจะสามารถจูงใจผู้บริโภคให้เกิดการตัดสินใจได้ง่ายที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้ตลาดแทรคเตอร์คาดว่าจะเติบโต
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยแต่ก่อนเกษตรกรจะใช้รถไถแบบเดินตาม แต่ในปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรหันมาใช้รถแทรคเตอร์เพราะให้ผลผลิตที่มากกว่า และเกิดความสะดวกสบายมากกว่า
2. ขาดแคลนแรงงาน ทำให้กลุ่มเกษตรกรหันมาใช่เทคโนโลยีการเกษตร เช่นรถแทรคเตอร์กันมากขึ้น
3. ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรตัดสินใจซื้อเครื่องจักรมากกว่าการใช้แรงงานเพราะเมื่อคำนวนแล้วเครื่องจักรให้ผลผลิตที่มากกว่า คงที่ และประหยัดกว่า


ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online