ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงมีปัญหา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณอัตราการเติบโตของ GDP ในปีนี้ไว้ที่ 2.8% แม้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จะอ่อนแรงกว่าที่เคยคาด ตามทิศทางการส่งออกที่หดตัวสูง แต่ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งการเติบโตสูงต่อเนื่องในภาคการท่องเที่ยวจะเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี

ด้านปัจจัยเสี่ยงในไตรมาสสุดท้าย ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปที่ตัวแปรภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนในตลาดการเงินจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในจีน ขณะที่ปัญหาภัยแล้ง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอาจกลับมาเป็นประเด็นที่จะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจอีกครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559

เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 3 ยังคงสะท้อนการอ่อนแอ

รายได้ของเกษตรกรทรุดตัวต่อเนื่องจากภาวะภัยแล้งที่กระทบต่อผลผลิต แม้ว่าราคาจะเริ่มดีขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปัญหาภัยแล้งยังจะส่งผลเสียต่อไปอีกในไตรมาสที่ 4 ขณะที่การส่งออกและตลาดรถยนต์ในประเทศที่หดตัวต่อเนื่อง เป็นปัจจัยฉุดการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ด้านปัจจัยบวกยังคงมาจากรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากข้อมูลของเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 31.7% ขณะที่ในเดือนกันยายน แม้นักท่องเที่ยวชะลอตัวลงไปบ้าง จากผลกระทบของเหตุการณ์ระเบิกในย่านราชประสงค์ แต่ก็ยังขยายตัวเป็นบวก

GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวต่ำกว่าที่คาด

จากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลายรายการที่ยังหดตัวสูง ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 3/2558 มาอยู่ที่ 2.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.0% อย่างไรก็ตามในช่วงโค้งสุดท้าย มาตรการกระตุ้รเศรษฐกิจและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลน่าจะเข้ามารช่วยผลักดันอุปสงค์ภายในประเทศ ชดเชยแรงถ่วงจากการหดตัวในภาคการส่งออก ดังนั้นคาดว่า GDP ในไตรมาสที่ 4/2558 จะขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบ ไตรมาสต่อไตรมาส แต่การชะลอลงเมื่อเทียบ ปีต่อปี เป็นผลของฐานที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 4/2557

แนวโน้มไตรมาส 4 การส่งออกยังคงเป็นแรงฉุดเศรษฐกิจ

การส่งออกยังคงมีแนวโน้มหดตัวสูง เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านราคาน้ำมันอาจทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จากแนวโน้มอุปทานน้ำมันจากอิหร่านที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้น หากชาติตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่าน, อุปสงค์จากจีนที่อ่อนตัวลง และแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งจะมีผลต่อราคาสิงค้าส่งออกของไทยในกลุ่มยางพารา ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ซึ่งคิดเป็น 16% ของการส่งออกทั้งหมด

ขณะที่รัฐบาลพยายามที่จะผลักดันการเบิกจ่ายงบประมารในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 ให้ทำได้เร็วขึ้น โดยผ่อนเกณฑ์การเบิกจ่ายกองทุนขนากดเล็ก เช่น กองทุนหมู่บ้าน, กองทุนตำบล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทให้มีกำลังซื้อ และสนับสนุน SME ให้มีสภาพคล่อง

ด้านการท่องเที่ยว คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะขึ้นไปสูงถึง 8 ล้านคน จากเฉลี่ย 7.4 ล้านคนใน 3 ไตรมาสแรก เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยยังหลังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ไปสู่กรอบล่างของประมาณการ

การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะมีผลต่อการเคลี่อนย้ายเงินทุนจากตลาดเกิดใหม่ ซึ่งแม้เสถียรภาพด้านต่างประเทศและปัจจัยพื้นฐานของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี แต่ตลาดการเงินของไทยคงหลีกเลี่ยงการผันผวนได้ยาก อาจเผชิญความเสี่ยงทางเศรษฐกิจหากต้องรับมือกับภาวะเงินทุนไหลออกรุนแรงและค่าเงินอ่อนค่าอย่างหนัก

ด้านเศรษฐกิจจีนยังคงไม่ฟื้นตัว แม้รัฐบาลจีนจะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบแทหมดหน้าตักไปแล้ว ซึ่งถ้าหากตัวเลขยังคงออกมาย่ำ จะยิ่งเร่งกระแสเงินทุนเคลี่อนยายไปหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาคและราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ขณะที่การส่งออกของไทย อาจหดตัวมากขึ้น เนื่องจากพึ่งพาตลาดจีนและการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ในสัดส่วนค่อนข้างสูง

ภาคครัวเรือนเริ่มมีมุมมองเชิงลบน้อยลงต่อภาวะการครองชีพ

ภาคครัวเรือนในหลายๆส่วน เริ่มคลายกังวลต่อประเด็นค่าครองชีพ หลังจากทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลเร่งสานต่อภารกิจพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เยียวยาปัญหาด้านกำลังซื้อและดูแลค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจ ดัชนี ER-ECI พบว่ายังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 43.3 ในเดือนกันยายน 2558 ใกล้เคียงระดับในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ดัชชีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง มาอยู่ที่ระดับ 46.5

สะท้อนว่าแม้ภาวะการครองชีพของภาถครัวเรือน จะยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเป็นปรกติ แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุดที่ทยอยประกาศออกมาต่อเนื่อง ก็น่าจะช่วยให้ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพของประชน เริ่มกลับเข้ามาอยู่ในสถานการณ์ที่นิ่งมากขึ้น อย่างไรก็ดี คงต้องยอบรับว่า การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นในระดับครัวเรือน อาจจะยังไม่ใช่ในลักษณะ V-shape เพราะยังคงมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่รอทดสอบเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แรงส่งดีขึ้นในช่วงท้ายปี

ปัจจัยหนุนที่สำคัญสำหรับสินเชื่อไตรมาส 4/2558 ได้แก่ ปัจจัยด้านฤดูกาลและมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการ Soft Loans ที่ช่วยลดต้นทุนของลูกค้าผู้ประกอบการณที่มีศักยภาพทางธุรกิจ และน่าจะเริ่มเห็นการเบิกใช้วงเงินบางส่วนภายในปี 2558 อย่างไรก็ได้ สิงเชื่อคงปิดสิ้นปี 2558 ด้วยอัตราการขยายตัวที่ 4.0% ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อย จากสินเชื่อรายย่อยที่ก้าวหน้าช้ากว่าคาด

ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ ยังเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง

ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ ยังเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง โดยยังไม่เห็นจุดวกกลับภายในสิ้นปีนี้ จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังคงเพิ่มระดับขึ้น ยังกดดันทั้งสินเชื่อรายย่อยและความสามารถในการชำระหนี้ ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพ ยังไม่มีโอกาสขยับขึ้นในระยะที่เหลือของปีนี้

สภาพคล่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2558 มีแนวโน้มตึงตัวขึ้น

ความต้องการสภาพคล่องของระบบ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2558 ขณะที่ หากเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ภาครัฐมีความต้องการสภาพคล่องเพื่อไฟแนนซ์การขาดดุลงบประมาณและโครงการลงทุนเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับสถาบันการเงินนั้น ด้วยภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน คงทำให้เห็นการออกผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุน ที่เน้นเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มและขดเชยผลิตภัณฑ์การออมสำหรับไถ่ถอนเป็นหลัก

 

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย , ตุลาคม 2558

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online