เป็นเวลากว่า 1,016 วัน ที่จีนดำเนินการปิดประเทศภายหลังการระบาดระลอกใหญ่ของโควิด-19  นักท่องเที่ยวพากันหยุดเที่ยว นักวิทยาศาสตร์จีนหยุดเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ ผู้บริหารชาวต่างชาติถูกห้ามไม่ให้กลับไปทำธุรกิจในจีน และเมื่อจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งในรอบเกือบ 3 ปี ในวันที่ 8 มกราคม รวมถึงการยกเลิกนโยบาย “Zero Covid” ที่เหลืออยู่ มันจึงเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลกที่สื่อทุกประเทศให้ความสนใจ

ก่อนหน้านี้มีการประมาณการว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในจีนพุ่งกว่า 37 ล้านคนต่อวัน โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วย เมรุเผาศพไม่มีที่จะให้เผา ต้องไปเผาศพกันตามข้างถนน เจ้าหน้าที่รายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตเพียงไม่กี่ราย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอาจสั่งปิดเมืองเพื่อปิดคดี ผู้บริหารมีความกังวล เศรษฐกิจอาจหดตัวต่อในช่วงสามเดือนแรกหลังมีคำสั่งเปิดประเทศ

แม้ว่านโยบาย Zero Covid จะช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมากในตอนแรกเริ่มบังคับใช้นโยบายนี้ แต่มันก็แลกมาด้วยเสรีภาพส่วนบุคคลที่หายไป ผู้คนถูกขังอยู่ในแต่ในบ้าน ราวกับถูกจองจำ รัฐบาลล้มเหลวในการเตรียมการอย่างเหมาะสมสำหรับการผ่อนคลายโดยการกักตุนยา การฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น และนำระเบียบการที่เข้มงวดมาใช้ในการตัดสินใจว่าควรรักษาผู้ป่วยรายใด และที่ไหนก่อน แบบจำลองของ The Economist ชี้ให้เห็นว่าหากไวรัสแพร่กระจายโดยปราศจากการไม่ตรวจสอบ ชาวจีนประมาณ 1.5 ล้านคนจะเสียชีวิตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย

เมื่อทุกอย่างดำเนินและผ่านพ้นไป และโควิดที่เลวร้ายที่สุดก็ได้ผ่านพ้นไป ผู้ป่วยจำนวนมากจะกลับมาทำงาน นักช้อปและนักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายอย่างอิสระมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024 อาจสูงกว่าในไตรมาสแรกของปี 2023 ถึง 10 เท่า การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นนี้หมายความว่าจีนเพียงประเทศเดียวสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทั่วโลกได้มากในช่วงเวลาดังกล่าว

การยกเลิกการปิดประเทศของจีนจะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่พึ่งพาการใช้จ่ายของจีน โรงแรมในภูเก็ตและห้างสรรพสินค้าในฮ่องกงที่เคยได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากชาวจีนถูกขังไว้ให้อยู่แต่บ้าน ตอนนี้ชาวจีนกำลังพาเหรดกันไปที่เว็บไซต์ท่องเที่ยว การจองตั๋วเครื่องบินและที่พักบนเว็บไซต์ Trip.com เพิ่มขึ้นกว่า 250%

 

หลายอย่างจะดีขึ้นเมื่อเปิดประเทศ

ความต้องการใช้โลหะหนักของจีนยังคงแข็งแกร่งอยู่มากในช่วงที่ยังไม่มีการระบาดของโควิด เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้แร่ธาตุจำพวก อะลูมิเนียม ทองแดง และโลหะอื่น ๆ จำนวนมาก แต่ผู้ผลิตในจีนขาดความเชื่อมั่นที่จะกักตุนแร่เหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ทองแดง ที่มีในสต๊อกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดในรอบ 15 ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าการเปิดประเทศจะกระตุ้นให้มีการเติมสต๊อกอีกครั้ง Goldman Sachs คาดการณ์ว่าราคาทองแดงจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ดอลลาร์ต่อตันหรือมากกว่านี้ ภายระยะเวลาใน 12 เดือนนับจากนี้

ความต้องการพลังงานได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความยืดหยุ่นน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิ้นสุดของการไม่มีโควิด การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของจีนลดลงประมาณ 1 ใน 5 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2022 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 เรื่องนี้ทำให้ยุโรปสามารถเพิ่มการซื้อเพื่อชดเชยกับการสูญเสียก๊าซในส่วนที่เคยนำเข้าจากรัสเซียได้

Goldman Sachs ยังระบุอีกว่าการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในจีนสามารถช่วยดันราคาน้ำมันดิบ Brent ให้ไปแตะ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้เลย นั่นเท่ากับเพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 4 เมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบัน (แม้ว่าจะยังต่ำกว่าระดับสูงสุดหลังจากรัสเซียรุกรานยูเครนก็ตาม) ดังนั้นต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นถูกคาดว่าจะกลายเป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่งในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ

สำหรับยุโรปแล้ว การเปิดประเทศของจีนเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาอาจกังวลเกี่ยวกับปริมาณการใช้ก๊าซ เพราะมาตรการ Zero Covid ได้กดให้ความต้องการใช้ก๊าซของจีนลดลงแบบผิดปกติ ดังนั้นเมื่อมีการเปิดประเทศอีกครั้งแน่นอนว่าปริมาณการใช้ก๊าซจะต้องเพิ่มขึ้นมาก และเป็นไปได้ว่ายุโรปเองก็ต้องแย่งซื้อพลังงานกับจีนแน่นอนภายหลังการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ

การฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีนนั้นหมายถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นสำหรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG) ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ได้ออกมาย้ำเตือนถึงสถานการณ์ของภัยหนาวในยุโรปว่าจะเริ่มขึ้นอย่างจริงจังช่วงปี 2023 อีกทั้งรัสเซียเองก็ตัดการส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยสิ้นเชิงแล้ว นี่อาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนพลังงานได้มากถึง 7% ของปริมาณการบริโภคพลังงานประจำปีของยุโรป จนทำให้ต้องมีการใช้นโยบายปันส่วนระหว่างประเทศสมาชิก

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันอาจมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ หากเศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2023 การนำเข้าน้ำมันดิบจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตลอดทั้งปีจนกว่าจะเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

Soni Kumari แห่งธนาคาร ANZ กล่าวว่า สิ่งนี้จะชดเชยความต้องการที่ลดลงในยุโรปและอเมริกา ซึ่งทั้งสองภูมิภาคนี้กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ อันที่จริง Goldman Sachs คาดการณ์ว่าความต้องการด้านอาหารที่เพิ่มขึ้นของจีนสามารถผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้นประมาณ 15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาของเบรนต์ก็อาจเกิน 100 ดอลลาร์อีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 ดังนั้นแปลว่าการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยิ่งทวีความยากขึ้นไปอีก

การบริโภคจะเพิ่มขึ้นด้วย รายได้ลดลง แต่มาตรการ Zero Covid ทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง เนื่องจากผู้คนหลีกเลี่ยงการเดินทางและไม่รับประทานอาหารนอกบ้าน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลายครอบครัวสามารถประหยัดรายจ่ายไปได้กว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หลายคนจะกลับมามีงานทำอีกครั้งหลังจากตกงาน ค่าจ้างที่ชะงักงันจะกลับมามีสภาพคล่องอีกครั้ง และมูลค่าบ้านที่ลดลงก็มีความหวังได้ฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ

Jacqueline Rong แห่ง BNP Paribas คาดการณ์ว่าการบริโภคในครัวเรือนจะเติบโตได้ประมาณ 9% ในปี 2023 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตในปีที่แล้ว และการเปิดประเทศอีกครั้งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่มีปัญหาอยู่ แม้ว่าในภาคอุตสาหกรรมนี้จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทางการเมืองมากน้อยเพียงใด และเนื่องจากการผ่อนคลายข้อจำกัดของโควิด ผู้กำหนดนโยบายจึงผ่อนปรนให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สิ่งนี้จะช่วยให้บริษัทที่แข็งแกร่งสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้เมื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้วเสร็จ และพวกเขาได้ขายให้กับผู้ซื้อบ้านแล้ว

ในการประชุม Central Economic Work Conference ของจีนครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้กำหนดนโยบายสัญญาว่าจะสนับสนุน “ความต้องการขั้นพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย” เพื่อทดแทนการซื้อเพื่อเก็งกำไร ด้วยเหตุผลนี้พวกเขาอาจลดอัตราการจำนองและข้อกำหนดในการชำระเงินดาวน์เพิ่มเติม

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการเปิดเมืองยังขยายวงกว้างออกไปอีก Zero Covid ทำให้อุปสงค์ของจีนสำหรับสินค้า บริการ และสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกหดตัว อย่างเช่น ในช่วงระหว่างการปิดเมืองเซี่ยงไฮ้ในช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้ว ความต้องการใช้น้ำมันของจีนลดลงวันละ 2 ล้านบาร์เรล ในอดีตการใช้จ่ายของจีนที่ลดลงเช่นนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกขาดกลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ

แต่เมื่อเป็นผลมาจากโควิดผลกระทบที่ตามมานั้นแตกต่างออกไป โควิดเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรงในอเมริกา และรวมไปถึงการขาดแคลนพลังงานในยุโรป Louis Kuijs จาก S&P Global กล่าวว่า “อย่างน้อยที่สุดในเวลานี้จีนก็ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อ”

การฟื้นตัวของจีนจะช่วยหนุนการเติบโตทั่วโลกด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าจีนเป็นประเทศที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก HSBC คาดการณ์ว่าหนึ่งปีนับจากนี้ในไตรมาสแรกของปี 2024 GDP ของจีนอาจสูงกว่าในช่วงสามเดือนแรกของปี 2023 ถึง 10% ดังนั้นหากเศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวได้สำเร็จในครั้งนี้ ก็อาจคิดเป็น 2 ใน 3 ของการเติบโตทั่วโลกในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน

 

ปกติที่ไม่ปกติ

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จีนจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่ไม่ปกติดังเดิม หลังการระบาดใหญ่ ซึ่งจะไม่ใช่การกลับไปสู่สภาวะปกติก่อนที่จะมีโควิด เนื่องจากรัฐบาลอาจมีการนำมาตรการ Zero Covid กลับมาใช้อีกเมื่อใดก็ได้ อีกทั้งการยกเลิก Zero Covid ในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีการเตรียมการที่เหมาะสมแต่อย่างใด นั่นทำให้พอถึงเวลานั้นจริง ๆ หลายอย่างอาจดูตะกุกตะกักในช่วงแรก

อีกทั้งตอนนี้บริษัทลงทุน (Venture Capital) หลายแห่งยังมองว่าการลงทุนในจีนเป็นเดิมพันที่เสี่ยง บริษัทต่างชาติมีความไม่มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของพวกเขาจะหยุดชะงักลงเมื่อใด เนื่องจากนโยบายที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลจีน หลายบริษัทจำต้องยอมจ่ายต้นทุนที่สูงขึ้นเพื่อย้ายฐานผลิตไปยังที่อื่น รวมถึงการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ก็ดูเหมือนจะชะลอตัวลงไปด้วย ในขณะที่จำนวนบริษัทที่ย้ายธุรกิจออกไปนอกประเทศจีนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของจีนพยายามที่จะเร่งซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโควิดและการดำเนินนโยบายที่รุนแรง

เชื่อว่าทั่วทั้งโลกต่างก็รอคอยการเปิดประเทศของจีน เนื่องจากด้วยจำนวนประฃากรที่มากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้อุปสงค์ส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนโลกล้วนแล้วแต่มีผลมาจากจีนทั้งสิ้น แต่ในอีกฟากของความกังวลเนื่องจากประชากรชาวจีนไม่ค่อยได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ นานาประเทศจึงอดไม่ได้ที่จะกังวลว่า การระบาดระลอกใหญ่จะกลับมาอีกครั้ง และครั้งหน้าถ้าเกิดขึ้นจริงก็อาจสร้างความเสียหายแบบยากที่จะเยียวยาให้กลับมาปกติดังเดิม

 

https://www.economist.com/leaders/2023/01/05/how-chinas-reopening-will-disrupt-the-world-economy

 

https://www.economist.com/finance-and-economics/2023/01/02/what-the-great-reopening-means-for-china-and-the-world

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online