ตลอด 33 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส ถือเป็นผู้นำในตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน 46.1 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมส่วนแบ่งตลาดมากถึง 46% ในตลาดรวม

การเป็นเบอร์หนึ่งของเอไอเอส มาจากการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ บนความหลากหลาย ทั้งแพ็คเกจ บริการเสริม บริการหลังการขาย และอื่นๆ

และที่สำคัญที่สุดคือการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีบนเครือข่ายมือถือที่ครอบคลุม รวดเร็ว ให้ความเสถียรในการใช้งานบนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ที่มีความต้องการที่เพิ่มขึ้น และเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ

สิ่งที่ทำให้เอไอเอสยังคงเป็นผู้นำด้านเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่ามาจากเอไอเอสไม่หยุดนิ่งที่จะส่งมอบเครือข่ายอัจฉริยะให้กับผู้ใช้งานเอไอเอสทุกระดับผ่านแนวทาง 2 ประการ ประกอบด้วย

 

1.การมีเครือข่ายที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด

ในปัจจุบัน เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่มีคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศ รวมกันมากถึง 1460 MHz

การที่เอไอเอสมีคลื่นความถี่มากที่สุด มาจากที่ผ่านมาเอไอเอส ชนะการประมูลคลื่นความถี่ที่กสทช.เปิดประมูล และความร่วมมือกับพันธมิตร ทำให้ถือครองคลื่นถี่มากถึง 1450 MHz  พร้อมทั้งสามารถส่งมอบบริการ และรองรับการใช้งานของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ล่าสุดจับมือกับ NT นำคลื่นความถี่ 700 MHz ที่ NT มีอยู่ 10 MHz มาพัฒนาให้บริการกับลูกค้าเอไอเอส ทำให้เอไอเอสมีคลื่นความถี่ 700 MHz เพิ่มขึ้น เป็น 40MHz

และทำให้เอไอเอสมีคลื่นความถี่มากที่สุด รวมกันมากถึง 1460 MHz และเป็นคลื่นความถี่ที่ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง

การที่เอไอเอสมีคลื่นความถี่ครบทุกย่านความถี่ กลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้เอไอเอสสามารถนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่พัฒนาให้บริการตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ลูกค้าใช้งานในเครือข่ายเอไอเอสได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เนื่องจากในแต่ละคลื่นความถี่มีคุณสมบัติของคลื่นที่ไม่เหมือนกัน

เช่นคลื่นความถี่ 700MHz เป็นคลื่นความถี่ต่ำที่มีคุณสมบัติทะลุทะลวงสูง ส่งสัญญาณจากสถานีฐานได้ไกล

คลื่นความถี่ 26 GHz เป็นคลื่นความถี่สูง มีคุณสมบัติรองรับการใช้งานพร้อมกันได้เป็นจำนวนมาก และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง แต่มีคุณสมบัติด้อยคือกระจายสัญญาณจากสถานีฐานไม่ได้ไกล

และเมื่อนำจำนวนทุกคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมดมารวมกัน เอไอเอสจึงมีคลื่นความถี่ในมือที่ครอบคลุมและมากที่สุด สามารถนำมาผนวกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอไอเอสร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้มีความอัจฉริยะ หรือ Digital Intelligence Infrastructure พัฒนาเป็นเทคโนโลยีต่างๆ ต่อยอดให้บริการกับลูกค้าได้บริการที่ดียิ่งขึ้น

โดยเฉพาะเทคโนโลยี 4G และ 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักที่เอไอเอสให้บริการบนแบนวิธกว้างที่สุด

2.เดินหน้าพัฒนา 5G ในมิติที่ครอบคลุม

ในปีนี้เอไอเอสใช้งบลงทุนด้านเครือข่าย 27,000 – 30,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งในงบลงทุนนี้เป็นการลงทุนในการขยายเครือข่ายและพัฒนายกระดับบริการ 5G ให้มีประสิทธิภาพการใช้งาน เข้าถึง และตอบโจทย์ลูกค้าเอไอเอสเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเอไอเอสมีเครือข่าย 5G ให้บริการครอบคลุมในกรุงเทพ และ ในพื้นที่เขต EEC 100% และครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 87% ของเครือข่ายที่ให้บริการทั้งหมด

สิ่งที่ผลักดันให้เอไอเอสปูพรมเครือข่าย 5G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มาจากความต้องการยกระดับคนไทยให้เข้าถึงดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเอไอเอสเลือกคลื่นความถี่ 700MHz ที่มีจุดเด่นเรื่องส่งสัญญาณได้ไกลมาให้บริการ 5G ในวงกว้าง และบริการ 5G บนคลื่นความถี่ 700MHz ยังทำให้คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล สามารถเชื่อมต่อโลกดิจิทัลในความเร็ว 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยี 4G แบบเดิมๆ และยังรองรับการใช้งานที่อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เข้าไม่ถึงได้เป็นอย่างดี

นอกเหนือจากการพัฒนา 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz  เอไอเอสยังนำคลื่นความถี่ 26GHz มาพัฒนา 5G ในรูปแบบ Millimeter Wave บนย่านความถี่สูงเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย เพื่อให้บริการผ่านสมาร์ทโฟน

จุดเด่นของ Millimeter Wave คือการให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สูงกว่ามาตรฐาน 5G ทั่วไป

โดยเอไอเอสสามารถพัฒนา 5G Millimeter Wave บนย่านความถี่ 26 GHz รายแรก รายเดียวในไทย ในความเร็วที่มากถึง  3Gbps, 4Gbps ด้วยการเชื่อมต่อผ่านสมาร์ทโฟนระดับโลก

5G Millimeter Wave มีข้อดีคือเรื่องความเร็วที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไป นิยมไลฟ์สดในงานคอนเสิร์ต กีฬา อีเว้นท์ และอื่นๆได้เป็นอย่างดี

ไม่เพียงเท่านั้น เอไอเอสได้ยกระดับส่งต่อคุณภาพจากเทคโนโลยี 5G SA – Stand Alone ไปอีกขั้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้ iPhone 14 ทุกรุ่น ที่ Update ซอฟต์แวร์ เป็น iOS เวอร์ชั่น 16.4

สามารถใช้ 5G Stand Alone สื่อสารได้อย่างรวดเร็วขึ้น ประกอบด้วย Ultra Low Latency ด้วยค่าความหน่วงต่ำที่สุด ทำให้สามารถตอบสนองได้เร็วยิ่งกว่า

พร้อมการสั่งงานและควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยความเสถียรสูงสุด และ Battery Saving ประหยัดพลังงานการใช้แบตเตอรี่มากยิ่งขึ้น”

ในปัจจุบันระบบที่ให้บริการ 5G จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบ NSA (Non Stand Alone) ระบบ 5G ที่ทำงานร่วมกับ 4G

และ SA (Stand Alone) เป็นเครือข่ายระบบ 5G โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติเด่นคือให้ความหน่วงที่ต่ำ และให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

การที่เอไอเอสให้ความสำคัญกับเครือข่าย 5G นอกเหนือจากการยกระดับเครือข่ายการให้บริการสู่ Digital Intelligence Infrastructure ยังผลักดันให้เอไอเอสนำพา 5G เข้าถึงผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมาเอไอเอสมีลูกค้าใช้งาน 5G 6.8 ล้านเลขหมาย และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีผู้ใช้งาน 5G จำนวน 12 ล้านเลขหมาย

และลูกค้าที่ใช้งาน 5G ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเอไอเอสเพิ่มขึ้นจาก ARPU หรือยอดรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่าลูกค้า 4G มากถึง 10-15%

อย่างไรก็ดีการวางเอไอเอสบนเครือข่ายที่มีความถี่มากที่สุดของเอไอเอสเป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการใช้ดีไวซ์อื่นๆ นอกจากมือถือ ที่เอไอเอสคาดการณ์ว่าในปี 2570 ในประเทศไทยจะมีดีไวซ์มากถึง 800 ล้านดีไวซ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายมือถือ

ไปพร้อมๆ กับตอกย้ำความเป็น Cognitive Tech-Co องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ ทิศทางที่เอไอเอสต้องการเดินหน้าต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน