เมื่อจีนแต่งตั้งนาย Yi Gang เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจต่อสื่อและนักวิเคราะห์ ด้วยการที่เขาจบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากอเมริกา แถมนาย Yi Gang ยังเป็นคนที่มีแนวคิดในการปฏิรูประบบการเงินให้มีความทันสมัยซึ่งสวนทางกับการดำเนินนโยบายการเงินดั้งเดิมของจีน
ในฐานะที่นาย Yi Gang เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายโดยตรง เขาได้ผลักดันให้ภาคประชาชนและบริษัทเอกชนมี “เสรีภาพสูงสุด” ในการซื้อเงินตราต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับเพิกเฉยต่อการควบคุมปริมาณเงินทุนไหลเข้า-ออก
เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ก็คือในฐานะที่เขาเป็นนักศึกษาและอาจารย์ในต่างประเทศมาก่อน เขาพบว่าการแลกจากเงินหยวนเป็นเงินดอลลาร์เป็นเรื่องยุ่งยาก แม้จะเป็นเงินจำนวนเล็กน้อยก็ตาม “ผมไม่ชอบความยุ่งยากแบบนี้เลย”
แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีคนเห็นด้วยก็ต้องมีคนคัดค้านในเรื่องที่ธนาคารกลางจีนลังเลที่จะเข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงิน ส่วนหนึ่งก็เพราะเทรดเดอร์ในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ บริษัทหลักทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์อาจอดได้ค่าธรรมเนียมจากการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ของแบงก์ชาติจีนต่างพากันทำงานอย่างหนักเพื่อจัดการกับปัญหาด้านการเงินของประเทศ และเมื่อถูกถามว่า เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนยังคงปลอดภัยหรือไม่? หลังจากที่ชาติตะวันตกคว่ำบาตรทางการเงินต่อรัสเซีย แน่นอนว่าเขามั่นใจว่าสถานะเงินทุนสำรองของจีนยังมั่นคง
นาย Yi เปรียบเทียบเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ยของจีนกับการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังจากหลังการระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.5% จนทำให้ดอกเบี้ยรวมเข้าใกล้ 0 แต่ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.2% เท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้านับตั้งแต่ต้นปี 2022 เป็นต้นมา Fed ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วถึง 4.75 จุด ในขณะที่ PBOC ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.2 จุด
กฎทองของจีน
เรื่องนี้ Yi Gang อธิบายว่าเขาพยายามที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้ต่ำกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนเล็กน้อยเพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้โดยไม่ไปเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ เขายังบอกอีกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของจีนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเงินเฟ้อถึงเกือบ 2% นับตั้งแต่ปี 2018 ที่เขาเข้าดำรงตำแหน่ง
แนวทางที่นาย Yi Gang กำลังทำทำให้เกิดเป็นประเด็นคำถามจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นด้วยเรื่องทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่เขากำลังทำกับระบบการเงินของจีนในตอนนี้ ในปี 1961 Edmund Phelps ผู้กำลังจะได้รับรางวัลโนเบล ได้คิดค้น “กฎทองของการออมและการลงทุน”
เศรษฐกิจของที่ใดที่ปฏิบัติตามกฎนี้จะสะสมทุนจนถึงจุดที่ผลิตภัณฑ์ส่วนเพิ่ม (กำไรจากการเพิ่มมากขึ้น) เท่ากับอัตราการเติบโตพื้นฐานของเศรษฐกิจ ในสถานการณ์แบบนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผลผลิตส่วนเพิ่มของทุน) ก็จะตกลงไปโดยปริยาย
หลักการทางทฤษฎีนี้เป็นคำแนะนำที่ค่อนข้างแปลกสำหรับการกำหนดนโยบายการเงินระดับชาติ เพราะธนาคารกลางไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมผลผลิตส่วนเพิ่มของทุนยิ่งไปกว่านั้น ทำไมธนาคารกลางจึงตั้งเป้าหมายที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำกว่าอัตราการเติบโตที่อาจเกิดขึ้น แทนที่จะปล่อยให้ทั้งสองอย่างนี้เป็นไปแบบให้สอดคล้องกัน
ในแบบจำลองของ Edmund Phelps อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวต่ำกว่าอัตราการเติบโตก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจมีการสะสมทุนที่มากพอ (บางครั้งต้องมากกว่ามากๆ) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ส่วนเพิ่มลดลงอย่างมาก เศรษฐกิจในรูปแบบนี้จะต้องแลกมากับการลดลงของการบริโภคเพื่อประโยชน์ในการออมและการลงทุนที่มากเกินไป ซึ่งจะไม่สร้างความสมดุลต่อการชดเชยในอนาคต
จีนมักถูกกล่าวหาว่ามีการลงทุนที่มากเกินไป และเป็นเรื่องแปลกเล็กน้อยที่ผู้บริหารสูงสุดของธนาคารกลางจีนอธิบายสิ่งที่กำลังทำว่าเป็นเป้าหมายเชิงนโยบาย อย่างไรก็ตาม จากการปราศรัยก่อนหน้านี้ที่กรุงปักกิ่ง นาย Yi แสดงออกชัดเจนว่าเขากำลังพยายามทำตามกฎทอง (ของ Phelps) เมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เขาตั้งเป้าหมายดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราที่การเติบโตของเศรษฐกิจเล็กน้อยเนื่องจากการเติบโตที่มากเกินไปอาจจะเป็นความเสี่ยงที่ยากจะควบคุม (เงินเฟ้อ)
ความไม่แน่นอนนี้ยังอธิบายถึงการที่จีนไม่มีนโยบายเพิ่มหรือลดดอกเบี้ย และเพื่อพิสูจน์แนวทางนี้ ผู้ว่าแบงก์ชาติจีนอ้างถึงหลักการ “ลดทอน” ของ William Brainard แห่งมหาวิทยาลัย Yale ในปี 1967 ที่ระบุว่าหากผู้กำหนดนโยบายไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายของตนเอง พวกเขาควรทำน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากคุณไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของยา ให้ใช้ยาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งฟังดูสมเหตุสมผล ว่า “การนิ่งเฉยที่ธนาคารกลางทำนั้นดูสมเหตุสมผลอย่างยิ่งหากพวกเขาไม่แน่ใจในสถานการณ์”
แต่ในการกำหนดนโยบายการเงิน หลักการต่าง ๆ อาจต้องลงเอยด้วยการต่อต้าน เหมือนอย่างที่ Stéphane Dupraz, Sophie Guilloux-Nefussi และ Adrian Penalver จาก ธนาคารกลางแห่งชาติของฝรั่งเศส โต้เถียงกันในบทความที่ตีพิมพ์ในปี 2020 บรรดาเทรดเดอร์ที่ฉลาดและมีรายได้ดีในตลาดการเงิน ตลอดจนผู้กำหนดค่าจ้างและราคาในระบบเศรษฐกิจ มักจะคาดหวังให้ธนาคารกลางต้องเทคแอ็กชั่นอะไรบางอย่างมากกว่าการอยู่เฉย ๆ
การลดการขาดดุล
หลังจากการปราศรัยของนาย Yi Gang Adam Posen จากสถาบัน Peterson ชี้ให้เห็นว่าธนาคารกลางของประเทศอื่นจะมีความสุขมากถ้าได้เห็นอัตราเงินเฟ้อของจีน แต่ก็เท่านั้นเพราะในปี 2022 อัตราเงินเฟ้อในจีนอยู่ที่ระดับ 2% เท่านั้น
การกำหนดนโยบายอย่างระมัดระวังและยับยั้งเงินเฟ้ออาจไม่ใช่สาเหตุของระดับเงินเฟ้อที่ต่ำ แต่ที่จีนมีเงินเฟ้อที่ต่ำมาจากการที่จีนใช้การควบคุมการแพร่ระบาดที่รุนแรงของโควิดเมื่อปี 2020 ทำให้เศรษฐกิจแทบหยุดชะงัก ดังนั้น ธนาคารกลางจีนจึงไม่จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยมากเท่ากับที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ นั่นเท่ากับแสดงให้โลกเห็นว่าในเชิงนโยบายการเงิน ที่จีนประสบความสำเร็จในเรื่องเงินเฟ้อต่ำ ไม่ได้มาจากนโยบายการเงินแบบลดทอน แต่มาจากนโยบายโควิดแบบเด็ดขาดก็ว่าได้
อ้างอิง
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



