Facebook ประเทศไทย Meta เผยข้อมูลเชิงลึก “Commerce Rising with Gen Z” บทบาทของผู้บริโภค Gen Z ที่สร้างนิยามใหม่ให้กับการซื้อขายบนโลกออนไลน์ เนื่องจากกำลังมองหาสิ่งที่มากกว่าเเค่สินค้า เเต่เป็นการค้นหาแรงบันดาลใจและสิ่งที่พวกเขาหลงใหล เพื่อแสดงออกถึงตัวตน
จากจำนวนประชากร 3.8 พันล้านคนทั่วโลก ผู้ใช้งานแอปในเครือ Meta โดยเฉพาะประเทศไทย ที่กว่า 91% ของกลุ่มผู้บริโภควัย Gen Z ใช้งาน Facebook เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและดูเนื้อหาสื่อต่าง ๆ ขณะที่การรับชมเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านช่องทาง Messenger ราว 85% และ 83% ใช้งานผ่านทาง Instagram
Gen Z กำลังสร้างวัฒนธรรมช้อปออนไลน์แบบใหม่
นอกจากจะเป็นผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียกลุ่มใหญ่ Gen Z ยังมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจและสังคม จากผลการศึกษา “2023 Culture Rising” ของ Meta Foresight ที่วิเคราะห์ความชื่นชอบและความคาดหวังของGen Z ในกลุ่มที่เป็นนักช้อปอายุระหว่าง 18-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำระดับโลกในการรับเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน
พบว่า Gen Z เกิน 50% ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียในหนึ่งวันมากกว่าสองชั่วโมง นับเป็นระยะเวลาที่มากกว่าหลาย ๆ Gen เเละเป็นที่น่าสนใจว่า ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อใช้บริการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์
โดยจะคาดหวังให้แบรนด์บริการเหมือน “Best Friend” ขณะช้อปปิ้ง คือ เเบรนด์ต้องเป็นไปในทางสอดคล้องกับ Personal, Effortless, Ethical เเละ Fulfill สื่อสารในรูปแบบที่คน Gen นี้ชอบ รวมถึงเปิดช่องว่างให้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ร่วมกับเเบรนด์
นอกจากนั้น แบรนด์ต้องเสนอบริการเเบบไร้รอยต่อ และตอบสนองความต้องการเฉพาะตัว
แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย เผยว่า โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมการช้อปของ Gen Z ถึง 71% ใช้ Facebook เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจและผลิตภัณฑ์ ขณะที่ 59% ใช้งาน Facebook เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์และเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม เเละพยายามมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการช้อปปิ้งอยู่ตลอด เพื่อให้ตนได้รับประสบการณ์ที่ดี เหมาะสมกับวัย ทางการซื้อสินค้าแบบไฮบริดหรือ omni-channel ที่ผสานเข้ากับความบันเทิง การแสดงออกถึงตัวตน และชุมชน
Omnichannel Trend
การช้อปปิ้งแบบไฮบริด
ผู้บริโภค Gen Z ให้ความสำคัญกับการช้อปปิ้งแบบไฮบริดมากขึ้น ช้อปปิ้งทั้งออฟไลน์คู่ไปกับโลกดิจิทัล จึงต้องการทัชพอยต์ที่หลากหลาย ทั้งในช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ และบนสมาร์ตโฟน
46% ของ Gen Z ยังคงซื้อของที่หน้าร้าน เเต่ช่องทางออนไลน์ยังมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ
88% จะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเขาสนใจบนโลกออนไลน์ก่อนที่จะเดินทางไปที่หน้าร้าน
80% ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการค้นหาข้อมูลสินค้า ในขณะที่พวกเขากำลังเดินเลือกซื้อสินค้าอยู่ในร้านค้า
Shopping Journey & Intrack & Engage Brand Trend
หน้าร้านต้องมีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก
อย่างไรก็ตาม แม้ความสนใจสินค้าจะกระจุกตัวอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่การซื้อขายสำหรับคน Gen นี้ยังเกิดขึ้นที่หน้าร้าน ร้านจึงต้องให้ความสำคัญ เพิ่มประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้า เพราะจากผลการสำรวจ 68% ชอบเทคโนโลยี AR, 65% ของ Gen Z ต้องการใช้ฟีเจอร์ AR ภายในร้านค้า มาอำนวยความสะดวกในการช้อปปิ้ง เพื่อทดลองสินค้าแบบเสมือนจริง
ขณะที่ 68% รู้สึกสนใจฟีเจอร์การค้นหาด้วยภาพจากสมาร์ตโฟนของตน เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ด้วยความที่มากกว่า 88% ของ Gen Z มีสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ประจำตัวที่ขาดไม่ได้ แทนการพกหลายสิ่ง ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มกดสั่งซื้อสินค้าบนสมาร์ตโฟน ระหว่างเดินชมสินค้าภายในร้าน มากกว่ากลุ่มคนรุ่นอื่น ๆ ถึง 1.2 เท่า ทำให้อัตราการตอบโต้ทางออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย
69% อยากให้แบรนด์สเเตนด์บายพร้อมให้ติดต่ออยู่เสมอ เห็นได้จากระบบการส่งข้อความแบบทันทีบน Instagram เพิ่มขึ้น 165% และแชตบอต Facebook เพิ่มขึ้น 189%
ขายของด้วยวิดีโอสั้นกำลังมาเเรง
คอนเทนต์ที่กำลังมาเเรงในหมู่ Gen Z คือ วิดีโอสั้น 90% ดูวิดีโอประจำทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะวิดีโอสั้นกลายเป็นพื้นที่ค้นพบและพิจารณาซื้อสินค้าของกลุ่ม Gen Z เนื่องจากช่วยเพิ่มความเพลิดเพลิน ดึงดูดใจให้รู้สึกอยากซื้อได้ดี
อ้างอิงจากการเติบโตของการเข้ารับชมเนื้อหาประเภทวิดีโอสั้นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบวิดีโอในสตรีมหรือ Reels ในช่องทางนี้จะสร้างความน่าดึงดูด เเละรักษา Brand Loyalty ต่อเเบรนด์เอาไว้ได้
Social commerce Trend
Gen Z ใช้โซเชียลมีเดียทำธุรกิจ
87% ของคนไทยในกลุ่ม Gen Z เลือกติดต่อกับธุรกิจผ่านแอปส่งข้อความ
และ 86% ต้องการโต้ตอบเกี่ยวกับธุรกิจผ่านโซเชียลมีเดีย
ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจครีเอเตอร์ (Creator Economy) เพราะกว่า 84% ของคน Gen Z เลือกแบ่งปันประสบการณ์การช้อปบนโซเชียลมีเดีย ทำให้ประเทศไทยอยู่ใน Top 10 ประเทศที่มีครีเอเตอร์มากที่สุดในโลก
ตรงกับ Gen Z 64% ต้องการที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์โดยตรง
70% ต้องการการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตน รวมถึงการโฆษณาแบบ Targeted Advertising
ขณะที่ 67% พร้อมเปิดรับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หากมีค่านิยมสอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขา
ทั้งนี้ เมื่อการแข่งขันทางการค้ามีความท้าทายและซับซ้อนมากขึ้นกว่าเคย แบรนด์และธุรกิจต้องมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม และไร้รอยต่อผ่านทุกช่องทาง รวมการช้อปปิ้งออนไลน์-ออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญสำหรับลูกค้า Gen Z คือ ต้องค้นหาง่าย ขายด้วยวิธีสนุกสนาน
โดยสรุป
เทรนด์ที่ 1: Omnichannel ความคาดหวังต้องการทัชพอยต์ที่หลากหลาย เเบรนด์หรือธุรกิจจึงควรสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ เชื่อมโยงออนไลน์-ออฟไลน์
เทรนด์ที่ 2: Shopping Journey Gen Z ชอบให้มีความสนุกในการค้นหาสินค้า และเเรงบันดาลใจ
เทรนด์ที่ 3: Social commerce นอกจากความสนุกเเล้ว ต้องได้เเสดงออกถึงความเป็นตัวตน เพื่อเเชร์ออกไปในคอมมูนิตี้ของตน
เทรนด์ที่ 4: Intrack & Engage Brand ผู้บริโภคอยากมีส่วนร่วมกับเเบรนด์ในวิธีที่สนุก ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้ง โดยเฉพาะประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบที่เป็น physical ให้สมูทไปกับ digital
Gen Z ทำอะไรบนแพลตฟอร์ม Meta
เเพลตฟอร์ม Meta ที่ Gen Z ใช้ | |
91% (การใช้งานระบบส่งข้อความแบบทันทีเพิ่ม 189%) | |
Messenger | 85% |
83% (การใช้งานระบบส่งข้อความแบบทันทีเพิ่ม 165%) | |
10 ข้อน่าสนใจ Gen Z ทำอะไรบน Meta | |
88% | มี Smart Phone เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ |
1.2 เท่า | มีเเนวโน้มกดสั่งซื้อสินค้าบนสมาร์ตโฟน ระหว่างเดินชมสินค้าภายในร้าน มากกว่า Gen อื่น |
87% | เลือกติดต่อกับธุรกิจผ่านแอปส่งข้อความ |
59% | ใช้ Facebook ค้นหาสินค้าและเลือกซื้อบนแพลตฟอร์ม |
88% | หาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเขาสนใจบนโลกออนไลน์ก่อนที่จะเดินทางไปที่หน้าร้าน |
80% | ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการค้นหาข้อมูลสินค้า ในขณะที่พวกเขากำลังเดินเลือกซื้อสินค้าอยู่ในร้านค้า |
87% | ติดต่อร้านค้าผ่านแอปส่งข้อความ |
64% | ต้องการที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์โดยตรง |
67% | พร้อมเปิดรับแบรนด์ใหม่ ถ้ามีค่านิยมสอดคล้องกับความเชื่อของตน |
90% | ดูวิดีโอสั้นประจำทุกสัปดาห์ |
ไทยอยู่ใน Top 10 ประเทศที่มีครีเอเตอร์มากที่สุดในโลก |
ที่มา: Meta Thailand
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



