มีหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายชี้ถึงความนิยมของ TikTok เริ่มจากจำนวนผู้ใช้เป็นประจำ (Active user) ทั่วโลกมากถึง 1,100 ล้านบัญชีผู้ใช้ต่อเดือน ต่อด้วย Mark Zuckerberg หัวเรือใหญ่ Meta ยอมรับว่าคือคู่แข่งที่กำลังไล่ตามมาติด ๆ แบบหายใจรดต้นคอ
ทิ้งท้ายด้วยมูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเป็นแบรนด์เทคมูลค่าสูงสุดอันดับ 6 ของโลกปีนี้ (2023) ส่วนถ้าไปถามคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z ว่าใช้สื่อโซเชียลแพลตฟอร์มไหนกันมากสุดคำตอบส่วนใหญ่ก็ต้องเป็น TikTok
ความนิยมดังกล่าวทำให้เราได้เห็น Gen Z รวมถึงที่เหนือกว่าขึ้นไปสองรุ่นอย่าง Zillennials กับ Gen Y ใช้ TikTok เป็นช่องทางแสดงตัวตน หรือแสดงออกในเรื่องต่าง ๆ จนเกิดเป็น Booktokker ที่แนะนำหนังสือ
Deinfluencer ที่ทำคอนเทนต์เตือนสติการใช้ของแพง และ NPC Streamer ที่ทำเงินจากการสวมบทบาทเป็นบรรดาตัวละครถูกมองข้ามในเกมขึ้น
ล่าสุดมี Tiktoker อีกกลุ่มกำลังได้รับความได้รับความนิยมอย่างมาก โดยปีนี้บรรดาคอนเทนต์กลุ่ม #Worktok ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกการทำงาน ทั้งเคล็ดลับต่าง ๆ รีวิวชีวิตการทำงาน พาเที่ยวออฟฟิศ ระบายปัญหาและการรับมือ มียอดวิวทะลุ 1,600 ล้านครั้งไปแล้ว
คอนเทนต์กลุ่มนี้ซึ่งผู้ทำคอนเทนต์เรียกกว่า Worktokker เริ่มเพิ่มขึ้นมาในปี 2020 ซึ่งทุกบริษัทจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home) จากวิกฤตโควิด จนพนักงานต้องหาอะไรทำแก้เซ็งบ้างระหว่างวัน
ท่ามกลางรายงานว่า นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ยอด Active User ของ TikTok ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2020 เพิ่มเป็น 200 ล้านบัญชีผู้ใช้ต่อเดือน ส่วนประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
และหลังวิกฤตโควิดพ้นไป แต่โลกการทำงานก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะบริษัทมากมายทั่วโลกต่างหันไปใช้การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ทำงานอยู่บ้านสลับกับเข้าบริษัท ซึ่งส่งผลให้การคุยกันที่ตู้กดน้ำ ทั้งแค่เพื่อคลายเครียด สอนงานแบบไม่เป็นทางการ สานสัมพันธ์
ไปจนถึงทะเลาะและปรับความเข้าใจ ที่มีมานานก่อนวิกฤตโควิดหายไป
ดังนั้น Gen Z คนวัยทำงานรุ่นเด็กสุดของแทบทุกบริษัท รวมถึง Zillennials กับ Gen Y ที่ใช้ TikTok กันอยู่แล้วเป็นประจำ จึงใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นทั้งที่ระบาย แสดงความเป็นตัวตนและสื่อสารกับคนรุ่นเดียวกัน ซึ่งคอนเทนต์กลุ่ม Worktok ที่ได้ยอดวิวสูง ๆ ก็คือเคล็ดลับต่าง ๆ เพื่อรับมือกับการทำงานยุค Hybrid นั่นเอง
Mitchie Nguyen ชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนามวัย 28 ปี หนึ่งใน Worktokker เผยว่า คลิปบน TikTok ลองทำคลิปเล่าเรื่องราวการไต่เต้าจากเด็กฝึกงานไปเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดดูแลทีมที่ทำงานจากนอกบริษัทของ Facebook มียอดวิวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เทรนด์ WorkTok และ Worktokker ไม่ได้มีเรื่องดี ๆ เท่านั้น เพราะมีพนักงานผสมสีของบริษัทสีในสหรัฐฯ ถูกไล่ออก จากการทำคลิป Worktok ผสมสีที่ยอดวิวนับล้าน เพราะบริษัทถือว่าเป็นการนำความลับของบริษัทมาเปิดเผย
จากนี้เทรนด์ Worktok คงกลายเป็นเรื่องปกติในโลกการทำงานยุคใหม่ เพราะ Gen Z ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของทุกบริษัท โดยฝ่ายพนักงานก็ต้องระวังเรื่องการโพสต์ประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ
เช่น ความลับของบริษัท และทุกความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ย่อมทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ติดตามได้ หรือที่เรียกกันว่า รอยเท้าทางดิจิทัล (Digital footprint) จนอาจทำให้สมัครงานยากหรือตกงาน
ส่วนฝ่ายบริษัทก็ต้องปฏิบัติกับพนักงานให้ดี เพราะพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ทุกคนพร้อมโพสต์หรือทำคลิปเรื่องที่เกิดขึ้นในบริษัทบน TikTok โดยถ้าเป็นเรื่องดีก็จะช่วยโปรโมตบริษัทแบบที่ไม่ต้องเปลืองงบ
แต่ถ้าเป็นเรื่องแย่ ๆ ย่อมกลายเป็นดราม่าและกระจายไปรวดเร็วแบบไฟลามทุ่ง จนส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และผลประกอบการบริษัท/bbc
–
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ