หลังจากทำธุรกิจ Food Delivery ในเอเชียกว่า 10 ปี

20 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา Delivery Hero เจ้าของแบรนด์ Foodpanda จากประเทศเยอรมนี ประกาศยืนยันที่จะขายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน ประกอบด้วย สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และไทย ให้กับผู้สนใจ

และในปัจจุบันอยู่ในระหว่างเจรจาขั้นต้น 

โดยสื่อต่างประเทศหลายสื่อรายงานว่า ผู้ซื้อธุรกิจ Food Panda ต่อจาก Delivery Hero อาจเป็น Grab จากประเทศสิงคโปร์

การขายธุรกิจบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Delivery Hero คาดการณ์ว่ามาจากความต้องการที่จะโฟกัสในธุรกิจที่สามารถเติบโต

ในตลาดเอเชีย Delivery Hero มีธุรกิจอยู่ 3 แบรนด์ในประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย

Foodpanda ทำธุรกิจในบังกลาเทศ, ไต้หวัน, ปากีสถาน,  ฮ่องกง, สิงคโปร์, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์ และไทย

ถ้าในอนาคตเมื่อ Delivery Hero ขายธุรกิจตามประกาศเป็นที่เรียบร้อย จะเหลือธุรกิจ Foodpanda ในบังกลาเทศ, ไต้หวัน,ปากีสถาน และฮ่องกง เท่านั้น

Baedal Minjok ทำธุรกิจในเกาหลีใต้ และเวียดนาม

Glovo ทำธุรกิจในจอร์เจีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน

 

และในช่วงครึ่งปีแรก 2566 Delivery Hero มีรายได้จากธุรกิจในเอเชียลดลง

จากครึ่งปีแรก 2565 ที่สามารถสร้างรายได้ 13,438.6 ล้านยูโร (516,800 ล้านบาท) เหลือเพียง 12,643.2 ล้านยูโร (486,300 ล้านบาท) เท่านั้น

ส่วนตลาดฟู้ดเดลิเวอรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่า 16,300 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 589,000 ล้านบาท

อ้างอิงจาก Momentum Works

Grab มีสัดส่วน 54%

Foodpanda 19%

และ Gojek 12%

 

ส่วนในประเทศไทย หนึ่งประเทศที่ Delivery Hero ต้องการขายธุรกิจ Foodpanda ออกไป

อ้างอิงจากข้อมูลของ Momentum Works

Grab มีส่วนแบ่งตลาด 51%

LINEMAN 24%

Foodpanda 16%

Robinhood 6%

และอื่น ๆ 3%

 

โดยผลประกอบการของ Foodpanda ที่จดทะเบียนในชื่อบริษัท เดลิเวอรี ฮีโร่ (ประเทศไทย) ประสบกับสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และในปีที่ผ่านมามีรายได้ที่ลดลงจากพฤติกรรมผู้บริโภคออกใช้ชีวิตนอกบ้านหลังโพสต์โควิด-19 มากขึ้น จนใช้บริการเดลิเวอรี ลดลง บนการแข่งขันที่รุนแรงของผู้ให้บริการแบรนด์ต่าง ๆ ทั้ง Grab LINEMAN Robinhood และอื่น ๆ

 

ในปี 2561 Foodpanda มีรายได้รวม 258.95 ล้านบาท ขาดทุน 138.79 ล้านบาท

2562 รายได้รวม 818.16 ล้านบาท ขาดทุน  1,264.53 ล้านบาท

2563 รายได้รวม 4,375.13 ล้านบาท ขาดทุน 3,595.90 ล้านบาท

2564 รายได้รวม 6,786.57 ล้านบาท ขาดทุน 4,721.60 ล้านบาท

2565 รายได้รวม 3,628.05 ล้านบาท ขาดทุน 3,255.11 ล้านบาท

 

ส่วนแบรนด์ผู้นำ เช่น Grab

เริ่มมีรายได้และผลกำไร

2561 รายได้รวม 1,159.23 ล้านบาท ขาดทุน 711.56 ล้านบาท

2562 รายได้รวม 3,193.19 ล้านบาท ขาดทุน 1,650.11 ล้านบาท

2563 รายได้รวม 7,215.46 ล้านบาท ขาดทุน 284.28 ล้านบาท

2564 รายได้รวม 11,375.60 ล้านบาท ขาดทุน 325.25 ล้านบาท

2565 รายได้รวม 15,197.48 ล้านบาท กำไร 576.13 ล้านบาท

 

แต่ LINEMAN และ Robinhood ยังคงขาดทุน

 

LINEMAN หลังควบรวมกับวงในมีผลประกอบการดังนี้

2562 รายได้รวม 49.92 ล้านบาท ขาดทุน 157.25 ล้านบาท

2563 รายได้รวม 1,066.37 ล้านบาท ขาดทุน 1,114,67 ล้านบาท

2564 รายได้รวม 4,140.04 ล้านบาท ขาดทุน 2,386.522 ล้านบาท

2565 รายได้รวม 7,802.77 ล้านบาท ขาดทุน 2,730.85 ล้านบาท

 

Robinhood แบรนด์ที่เกิดในช่วงโควิด-19 มีผลประกอบการ

2564    15.79 ล้านบาท ขาดทุน 1,335.37 ล้านบาท

2565    538.25 ล้านบาท ขาดทุน 1,986.84 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรีในไทยปีนี้จะมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.6% จากปี 2565



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online