เครื่องมือสื่อสารกลายเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาในปัจจัยพื้นฐานของผู้คน เพราะนั่นหมายถึงโอกาส ทั้งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์  รวมถึงการหารายได้

จึงไม่น่าเเปลกที่ชาวไทยมักจะเป็นชนชาติอันดับต้นของตาราง ในการจัดอันดับอินเทอร์เน็ตในมิติต่าง ๆ

Telenor Asia เปิดเผยว่า ชาวไทยเป็นหนึ่งในผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตัวยงของเอเชีย เกือบ 9 ใน 10 หรือ 86% ใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนโทรศัพท์มือถือ เเละจะเพิ่มขึ้นในอีก  1-2 ปีข้างหน้า อีก 83% สูงสุดในภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้ และในไทย (จากการสำรวจเพศหญิงชายในจำนวนเท่ากัน) ผู้หญิงมีเเนวโน้มการใช้งานมือถือมากขึ้นกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเพศหญิงมีเเนวโน้มที่จะใช้ทักษะความสามารถใหม่ ๆ เพื่อก้าวหน้าในสายงานหรือริเริ่มธุรกิจของตน

โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 5 ประการที่สรุปได้จากการศึกษา Digital Lives Decoded ของ Telenor Asia จากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,000 ราย ในประเทศบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวน เงินเฟ้อสูง การใช้มือถือได้เข้ามาเติมศักยภาพในการจัดการค่าครองชีพ

คนไทย 93% ใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงิน

74% ใช้มือถือเพื่อเปรียบเทียบราคา

64% ค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด

49% ติดตามการใช้จ่าย

93% ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงินทุกสัปดาห์

55% กำลังที่จะลงทุนออนไลน์เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่

1. การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ที่

คนไทยใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยที่ Facebook ยังเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยม 57% เเต่มีเเนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระยะเเรก เนื่องจาก 1 ใน 8 ของเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปีได้รับข่าวสารจาก Tiktok

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพูดถึงระบบ 5G เหตุผลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับผู้ตอบเเบบสอบถามในไทยมีไว้เพื่อการสตรีมวิดีโอหรือเพลง 84% ทำงานหรือเรียน 69% และเล่นเกม 66%

การเล่นเกมมือถือยังเป็นกิจกรรมอดิเรกยอดนิยม 44% ของผู้ตอบเเบบสอบถาม กล่าวว่า พวกเขาใช้อุปกรณ์มือถือเพื่อเล่นเกมทุกวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยในภูมิภาคอยู่ที่เพียง 30%

เเต่คนไทย 3 ใน 4 รู้สึกว่าตนมีสมดุลที่ดีในการใช้เทคโนโลยีและไม่ได้มีการใช้งานมากเกินไป อย่างไรก็ดี 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยจะรู้สึกหงุดหงิดถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ แต่ระดับภูมิภาคจะอยู่ที่ 39%

2. การปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ในที่ทำงาน

ผู้ตอบเเบบสอบถามชาวไทย  53% เชื่อว่าการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ สามารถช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีความก้าวหน้าในการทำงานได้

37% ช่วยในการเปลี่ยนอาชีพ

31% การจัดตั้งธุรกิจของตนเอง

ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดหวังการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เร่งการทำงาน  2 ใน 3 เชื่อว่าการใช้ generative AI ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนในอีกหกเดือนข้างหน้า

82% องค์กรสนับสนุนให้พนักงานใช้ generative AI ในที่ทำงาน

10% องค์กรห้ามหรือไม่สนับสนุน AI

3. ประสบการณ์บนโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยมากขึ้น

คนไทยมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเเละความปลอดภัยบนโทรศัพท์น้อยที่สุดในภูมิภาคเป็นปีที่สองติดกัน โดยในกลุ่มที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 21% เทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคอยู่ที่เพียง 8% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ชาวไทยมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ 75%

เด็กและเยาวชน 72%  ซึ่งเชื่อว่าทางเเก้ คือ ควรให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางออนไลน์

คนไทยยัง “สบาย สบาย” กับความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยในการใช้มือถือ ไม่ค่อยกังวล แม้ว่าจะประสบปัญหานี้อย่างน้อยเดือนละครั้งก็ตาม

4. เข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เอื้อต่อโอกาสในการยกระดับทักษะและสร้างเเหล่งรายได้เพิ่ม

57% ของผู้ตอบเเบบสอบถาม กล่าวว่า อุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วยเปิดประตูสู่การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา 91% ใช้มือถือเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แบ่งเป็น

การเรียนรู้ภาษาใหม่ 67%

การจัดการโซเชียลมีเดีย  63% (เฉพาะทักษะนี้ชาวไทยมีความต้องการมากที่สุดในการสำรวจ)

72% กล่าวว่า พวกเขาต้องใช้ทักษะที่มีเพื่อหารายได้เพิ่มเติม และเเหล่งรายได้

55% แหล่งรายได้ใหม่ยอดนิยมเกิดจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่มาจากการลงทุนออนไลน์

40% การขายในตลาดออนไลน์

38% กลายเป็นนักสร้างคอนเทนต์

5. การลดผลกระทบที่มีต่อโลก

71% รู้สึกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น  ด้วยการได้รับข้อมูลขนส่งสาธารณะ ลดความจำเป็นในการเดินทาง เเละลดการใช้กระดาษ

ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุดในหมู่คนไทยในช่วงอายุ 18-29 ปี

64% ระบุว่าตนตระหนักดี

42% กังวลมากเกี่ยวกับผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อสภาพภูมิอากาศ

 

Petter Borre Furberg, EVP and Head of Telenor Asia กล่าวว่า เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิต หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันส่งเสริม การพัฒนานำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มแก่ประชาชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยมากขึ้น

คนไทยยังชิล ไม่กังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัย แม้เจอ Fake news-มิจฉาชีพ เดือนละครั้ง

86% คนไทยใช้เวลาครึ่งวัน บนโทรศัพท์มือถือ
ผู้หญิงใช้งานมือถือมากกว่าเพศชาย เป็นการใช้เพื่อเพิ่มทักษะอัปสกิลทำงาน หรือเริ่มธุรกิจของตน
ใช้มือถือช่วยจัดการค่าครองชีพ
74% ใช้มือถือเพื่อเปรียบเทียบราคา
93% ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงินทุกสัปดาห์
คนไทยใช้ระบบ5G เพื่อ
84% สตรีมวิดีโอหรือเพลง 69% เรียน/ทำงาน 66% เล่นเกม
44% ใช้มือถือเล่นเกมทุกวัน (มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 30%)
55% จะหงุดหงิดถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ (มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วภูมิภาค)
53% อุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงานได้
21% กังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวเเละความปลอดภัยน้อยสุดในภูมิภาค (ค่าเฉลี่ยทั่วภูมิภาคอยู่ที่ 8%)
ปัญหาที่เจอบ่อย
82% Fake news
65% attempted Scam
47% Online bully
ใช้มือถือพัฒนาตนเอง
67% ใช้มือถือเรียนรู้ภาษาใหม่
63% ใช้เรียนวิธีทำวิดีโอ คอนเทนต์
38% กลายเป็นนักสร้างคอนเทนต์
*สำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,000 ราย ในประเทศบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ข้อมูล: telenor asia



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online