“คำถามตั้งต้นถึงนิยามของออฟฟิศสเปซจริงๆ แล้วต้องเป็นรูปแบบเดิมๆ เท่านั้นหรือ?

เป็นที่มาของการรีโนเวทพื้นที่ชั้น 23 ของสำนักงานใหญ่ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง โดยมีทีม AP DESIGN LAB เริ่มต้นพัฒนาสเปซแห่งนี้ ภายใต้แนวคิด AP THINKING SPACE โดยใช้วิธีคิดในการออกแบบ AP SPACE คือ การบวกฟังก์ชั่นเข้ากับความฝัน รสนิยม และอุดมคติในการใช้ชีวิต เพื่อมอบ Space Design ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์แบบคุณที่สุด พร้อมดึงเอาบริบทเมืองปี 2015 จากการเฝ้าศึกษาไลฟ์สไตล์คนเมืองจากทั้งพนักงานและผู้มาติดต่อกับบริษัท โดยได้ Collaboration กับ be>our>friend Studio กราฟฟิกดีไซน์มือดีมาผสมวิธีคิดในการออกแบบ Space ให้ดูล้ำและสนุกสนานยิ่งขึ้น เพื่อมอบมุมพักผ่อนให้พนักงาน AP มากขึ้น เเต่ไม่สูญเสียฟังค์ชั่นการใช้งานเดิมไป  จนเกิดเป็นไฮไลท์ที่น่าสนใจ 4 โซนด้วยกัน

1. Welcome Area สเปซส่วนต้อนรับที่เชื่อมโยงวิถีการสัญจรทางเลือกของคนเมืองอย่าง ‘จักรยาน’ โดยทีมออกแบบได้ผสาน Urban Context เข้ามาใช้อย่างกลมกลืน ในการดีไซน์ม้านั่งพักคอยที่มีฟังก์ชั่นในการจอดจักรยานได้ในตัว เนื่องจากมีพนักงาน AP หรือทีมสถาปนิก เอเจนซี่หลายคนเดินทางมาที่นี่ด้วยจักรยาน การมีจุดจอดจักรยานไว้รองรับจึงเป็นสิ่งเล็กๆ ที่สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน

2. Locality Portal โถงทางเข้าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์พิเศษที่ทีม AP DESIGN LAB ร่วมกับ be>our>friend Studio นำวิธีคิดการทำงานในทุกโครงการของ AP เรื่อง ‘Locality’ มาออกแบบเป็น “อุโมงค์แผนที่” ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การดีไซน์พื้นและผนังเป็นภาพแผนที่กราฟฟิกของกรุงเทพมหานคร บอกถึงตำแหน่งจริงต่างๆ อาทิ เส้นทางจักรยาน ต้นไม้ใหญ่ พิพิธภัณฑ์ พื้นที่สีเขียวของมหานครกรุงเทพ หรือแม้กระทั่งโครงการต่างๆ ของเอพี นำเสนอผ่าน Pictogram Chart เรียกว่าสร้างความน่าสนใจตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามา อีกทั้งยังสะท้อนวิธีคิดการพัฒนาทุกโครงการของ AP ที่มองไปถึงบริบทแวดล้อมที่อยู่รายล้อมโครงการ เพราะทุกโครงการของ AP คือที่ที่จะเติบโตไปด้วยกันในอนาคต

 

3. Thinking Café โซนพักผ่อนยามเหนื่อยล้าจากการทำงาน ตลอดแนวยาวของพื้นที่ส่วนนี้วางเรียงรายด้วยขนม ภายใต้แนวคิด “Street Sweets in Designer Setting” พร้อมชุดอุปกรณ์ทำข้าวโพดคั่ว และเครื่องทำสายไหม ทำหน้าที่เจ้าบ้านเชิญชวนให้ผู้ใช้งานมาสร้างกิจกรรมสนุกๆ และมีปฏิสัมพันธ์ต่อพื้นที่ในช่วงต่างๆ ของวัน และยังมีการนำสีเขียวมาใช้เป็นองค์ประกอบเด่นในการกระตุ้นพลังความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

 

4. Thinking Capsule ส่วนของห้องประชุมที่มีการแบ่ง Space และตกแต่งให้ดูผ่อนคลาย ด้วยโซฟาสไตล์ Lounge โต๊ะกลางทรงเตี้ย หากต้องการความเป็นส่วนตัวก็สามารถเลื่อนบานกระจกปิดได้อย่างสะดวกสบาย โดยบานกระจกนี้ยังมีลูกเล่นที่กราฟฟิกดีไซน์ โดยคอนเซ็ปท์ที่ทีมออกแบบเลือกใช้คือเรื่องราวการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น กราฟฟิกคนปั่นจักรยาน ต้นไม้ ไปจนถึง สุนัขเดิน ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้เมื่อมีการเลื่อนเปิดหรือปิด

‘AP THINKING SPACE ‘ นอกจากเป็นสถานที่สะท้อนแนวคิดการทำงานของเอพีได้อย่างชัดเจนถึงหลักการ “คิด” และ “สร้าง” ที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ทุกมิติการใช้งาน มิติด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทเมือง เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงรายละเอียดของวิธีคิดแต่ละขั้นตอนก็จะพบว่า ‘AP THINKING SPACE ‘ เป็นมากกว่าแค่งานออกแบบธรรมดาๆ แต่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก้าวข้ามรูปแบบออฟฟิศแบบเดิมๆ ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นด้านประโยชน์ใช้สอย คุณค่าทางความงาม รสนิยม อุดมคติในการดำเนินชีวิต จนเกิดพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมพร้อมสร้างสรรพื้นที่อย่างชาญฉลาด

ในแง่ของงานสถาปนิกจากภายนอกสู่สเปซภายใน งานออกแบบตกแต่งภายในที่เพิ่มความสุขทุกตารางนิ้ว โดยนำปรัชญาการออกแบบพื้นที่ที่สอดรับกับการใช้ชีวิตไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในปี 2015

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online