โรงพยาบาลพญาไท 2 เดินหน้าแนวทาง ‘ ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล ’ เป็นปีที่ 2 มุ่งสร้าง สังคมสุขภาพดี ด้วยแนวทางสร้างคุณค่าทางธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ควบคู่ ไปกับการสร้าง ประโยชน์ และคุณค่าให้กับสังคม 

“ถ้าถามแพทย์ และ พยาบาลทุกคน คงไม่มีใครอยากเห็นใครป่วยเข้าโรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นจึง เกิดเป็นกรอบความคิดว่า ทำอย่างไรเราจึงจะให้บริการดูแลสุขภาพสังคม ด้วยการป้องกันก่อนป่วย ขณะเดียวกันก็ต้องให้การรักษาพยาบาลที่ดีเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี”

ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล

ไม่อยากให้ใครป่วยเข้าโรงพยาบาล ปี 2 

อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า ในปี 2560 พญาไท 2 สื่อสารกับสังคมด้วยแนวทาง ‘ไม่อยากให้ใครป่วยเข้าโรงพยาบาล’ ซึ่งสอดคล้อง กับมาตรฐานการรักษาระดับสากล JCI 6th Edition ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 และได้รับการรับรองเมื่อปี 2560 ได้แก่

1) การพัฒนา clinical program ให้ได้มาตรฐานระดับโลกในทุกมิติ ส่งเสริมการวิจัย และ ฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จของศูนย์ความเป็นเลิศ

2) นำสมรรถนะหลักขององค์กร ดูแลชุมชนสำคัญและสังคมโดยรวมเพื่อความเข้มแข็ง และมั่นคงอย่างยั่งยืน

3) ลงทุนในการพัฒนาบุคลากร อาคารสถานที่เครื่องมือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และรายการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ การบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในด้านการพัฒนาบุคคลากร การใช้ความสามารถหลัก ขององค์กร และการจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมาส่งเสริมความสามารถในการรักษา และส่งเสริมคุณภาพทรัพยากรบุคคล ให้กับ สังคมคือ ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนแพทย์รพ.พระมงกุฏ และสถาบันโรคกระดูกและข้อ ของโรงพยาบาล ให้เป็นที่เรียนต่อยอดเฉพาะทางที่เจาะลึกเป็นรายสาขา (Fellowship)

“ซึ่งเราก็จะได้แพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ เก่ง มีประสบการณ์ให้กับสังคม ขณะเดียวกัน แพทย์บางท่านก็ กลับมาร่วมงานกับพญาไท 2 ทำให้เราได้แพทย์ชำนาญการมาดูแลคนไข้ สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจของเรา ทั้งนี้ในเรื่อง fellowship เราก็ดำเนินการต่อเนื่อง อาจมีการเพิ่มโรคเฉพาะทางด้านอื่นๆ จากเรื่องกระดูกและ ข้อ ส่วนในด้าน CSR ที่เกี่ยวกับโรคนี้ เรามีโครงการผ่าตัดข้อเข่าและสะโพกให้ภิกษุ สามเณร ซึ่งเราทำทุกปี ต่อเนื่อง”

ครบรอบ 31 ปี ต่อยอดแนวทางการใช้ความสามารถหลักขององค์กร

โรงพยาบาลพญาไท 2 มีการทำงานวิจัยเพื่อช่วยต่อยอดทางธุรกิจควบคู่ไปกับการเผยแพร่ งานวิจัยเพื่อ ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้กับสังคม เช่น งานวิจัยเพื่อลดอัตตราความเสี่ยงการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน ฯลฯ คือ “การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคอ้วน” เป็นการทำวิจัยทดลอง ให้กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ ในช่วงอายุ 41 – 60  ปี ปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตอย่างสิ้นเชิง

ความสำคัญของงานวิจัยนี้อยู่ที่การรับมือกับ “โรคอ้วน” ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งเป็น อัตราเพิ่มในระดับโรคระบาด และเป็นปัญหาระดับโลก ในด้านการสร้างคุณค่าทาง ธุรกิจให้กับพญาไท 2 แพทย์สามารถนำวิธีการนี้ ไปร่วมวางแผนการรักษากับผู้ป่วยของโรงพยาบาล และนำไป พัฒนาเป็นโปรแกรมดูแล พัฒนาศักยภาพให้องค์กรทั่วไป ที่ต้องการมากกว่าการทำประกันสุขภาพให้พนักงาน

แต่เป็นการบริหารจัดการโดยรวมด้านสุขภาพ เพื่อลดต้นทุนในการดูแลสุขภาพ ขององค์กรทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เพราะถ้าองค์กรมีพนักงานที่สุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะขาดซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน ในด้านคุณค่า ทางชุมชน สังคม ก็สามารถนำมาใช้ ในการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันก่อนป่วย

ในปีนี้ พญาไท 2 ครบรอบ 31 ปี จึงต่อยอดแนวทางการใช้ความสามารถหลักขององค์กร ในภาคการให้ความรู้ แก่สังคม เป็นการชวนให้สังคมดูแลตัวเอง ด้วยการเข้ามาตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพื่อการป้องกัน ไม่ปล่อยให้ป่วย หรือถ้ามีอาการก็ได้รับการรักษาทัน ไม่ปล่อยให้ป่วยหนัก ด้วยแนวคิด #อย่าปล่อยให้ป่วย

“ปีนี้โรงพยาบาลพญาไท 2 รณรงค์ดูแลและจัดการปัญหาโรคหัวใจ โดยเรามีศูนย์หัวใจที่มีแพทย์และเทคโนโลยีการรักษา วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทันสมัยเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย ด้วยการทำคู่มือดูแลหัวใจประจำบ้าน ที่เป็นฉบับ สิ่งพิมพ์ และดาวน์โหลดจากเวบไซต์ พร้อมทั้งลงพื้นที่ให้ความรู้ในชุมชน

ร่วมมือเปิดโครงการพญาไท 2 Alarm Center

พร้อมจับมือกับพาร์ทเนอร์ หน่วยงานเครือข่าย ฝึกอบรมโครงการพญาไท 2 Alarm Center ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ การช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ การทำ CPR เช่นในวันนี้ ที่ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ลูกค้าคนสำคัญที่มีแนวคิด เดียวกัน คือ ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว”

นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้างคุณค่าร่วม  ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจด้านอื่นๆ ได้แก่ ‘โครงการดูแลหัวใจ ดวงเล็ก’ ชวนบุคคลทั่วไปตรวจคลื่นหัวใจฟรี พร้อมบริจาค 100  บาท เพื่อนำเงินบริจาคไปสมทบค่าผ่าตัด โรคหัวใจเด็กพิการแต่กำเนิด แก่มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยโรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ความรู้ว่าเมื่อตรวจคลื่นหัวใจ ประโยชน์คือทำให้รับทราบถึงความเสี่ยงต่อโรค เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด การเต้นของหัวใจผิดปกติ ฯลฯ ไม่ว่าคุณจะยัง สบายดีก็ตาม

ส่วนด้านการวิจัยซึ่งคาดว่าจะได้ผลสัมฤทธิ์ในปี 2562 โรงพยาบาลกำลังทำโครงการวิจัย เกี่ยวกับเด็ก 2 โครงการคือ

  • โครงการตู้อบเด็ก ซึ่งทำวิจัยร่วมกับคณะแพทย์และคณะวิศวกรรมมหาวิทยาลัยบูรพาร่วมกับฝ่ายวิจัย ทางการแพทย์ รพ.พญาไท 2 เพื่อใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะตัวเหลืองหรือคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเมื่อสำเร็จโรงพยาบาลตั้งใจ ที่จะมอบให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนและต้องรอการสนับสนุน งบประมาณจากภาครัฐ หรืออาจต่อยอดโดยการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ เป็นการลดต้นทุน การนำเข้าเครืองมือจากต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเก็บสถิติวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ของ คณะแพทย์จากทางมหาวิทยาลัยบูรพา
  • โครงการฝักบัวล้างจมูกเด็ก เกิดจากพบว่ามีปริมาณผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านโรคระบบทางเดินหายใจ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และแพทย์แนะนำให้มีการล้างจมูก ซึ่งพบว่าเมื่อล้างโดยอุปกรณ์แบบเดิม แรงดันที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบของหู ต้องนอนในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่าย ในการดูแลเพิ่มขึ้น และอาจเกิดการติดเชื้อในกรณีที่ล้างอุปกรณ์ไม่สะอาดพอ  อุปกรณ์ที่พัฒนาใหม่นี้ สามารถแก้ปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ และการติดเชื้อ เพราะมีความนุ่มนวลของสายน้ำ และแรงดันอยู่ในระดับ คงที่  รวมถึงสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำโดยการต้มทำความสะอาดได้เข้าถึงมากกว่า และต้มฆ่าเชื้อ ในน้ำร้อนอุณหภูมิสูงได้ซึ่งแตกต่างจากแบบเดิม

นอกจากนี้พญาไท 2  ยังมีนโยบายเข้มงวดด้านการบริหารจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจาก จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ โรงพยาบาลแล้ว โครงการเพื่อสังคมต่างๆที่ร่วมกันกับพนักงาน ก่อให้เกิดนิสัย ในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ใส่ใจสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามมา


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online