ตู้กดสินค้า ตลาดนี้ทำไมกลับมาฮิต หรือแค่กดง่ายจนต้องกดแล้วกดอีก (วิเคราะห์)

ตลาดเวนดิ้งแมชชีน ในไทย กำลังน่าจับตา

ตลาดตู้กดสินค้าอัตโนมัติ หรือ เวนดิ้งแมชชีน ทั่วโลกเติบโตไม่น้อย

อ้างอิงจาก alliedmarketreserch มูลค่าตลาดเวนดิ้งแมชชีนปี 2019 อยู่ที่ 1.82 หมื่นล้านดอลลาร์

และคาดว่าจะมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2027

โดยในตลาดทั่วโลกมีตู้กดสินค้าอัตโนมัติประเภท “เครื่องดื่ม” มากที่สุด รองลงไปเป็นสินค้าจำพวกขนมขบเคี้ยว บุหรี่ และสินค้าอื่นๆ

สำหรับในไทยตลาดเวนดิ้งแมชชีนปีที่ผ่านมาแข่งขันกันไม่น้อย แม้ธุรกิจจะโดนกระทบจากโควิด-19

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิดทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาใช้ตู้กดมากขึ้น

บวกกับโอกาสของผู้ประกอบการที่นำสินค้าที่จำเป็นในยุคนี้วางขึ้นขายอย่างเช่นสเปรย์แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ที่เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมากดซื้อ

ตลาดเวนดิ้งแมชชีน

รวมทั้งยุคนี้ตู้กดสินค้าอัตโนมัติแก้ pain point ของคู้ยุคก่อนที่มีแค่หยอดเหรียญอย่างเดียว แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการปรับตัวรับชำระเงินแบบ QR Code ด้วย

ปีที่ผ่านมาในไทยมีตู้กดสินค้าอัตโนมัติราวๆ 30,000 ตู้ หากเทียบตามจำนวนประชากร ตลาดตู้กดสินค้าอัตโนมัติยังสามารถโตได้อีกมาก

ขณะที่หากเทียบกับญี่ปุ่นที่มีประชากรราว 120 ล้านคน ในญี่ปุ่นมีตู้กดสินค้าอัตโนมัติมากถึง 5 ล้านตู้

ในไทยเจ้าแรกที่รุกตลาดตู้กดสินค้าอัตโนมัติคือ ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มสหพัฒน์ ตั้งแต่ปี 2535 นำ ตู้กดสินค้า เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังครั้งแรก ผ่านเครื่องเวนดิ้งแมชชีนจำหน่ายสินค้า 3 รูปแบบ คือ

– เครื่องจำหน่ายเครื่องดื่มในรูปแบบชงเป็นแก้ว

– เครื่องจำหน่ายเครื่องดื่มบรรจุขวด

– เครื่องจำหน่ายขนมขบเคี้ยว

หลังจากที่ ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนลนำเวนดิ้งแมชชีนทำตลาดได้ระยะเวลาหนึ่ง จึงเริ่มมีคู่แข่งในตลาดจากการมองเห็นโอกาสในธุรกิจ

มีผู้เล่นลงมาเล่นในตลาดตู้กดสินค้าอัตโนมัติมากมาย

รวมทั้งมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาอย่าง ‘โลตัส’ ไฮเปอร์มาร์เก็ตในกลุ่มของซีพี ที่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเริ่มทดลองตลาดด้วยการส่ง ตู้กดสินค้าอัตโนมัติมาวางอยู่หน้าสาขาโลตัส ลาดพร้าว

ขณะที่ตอนนี้บิ๊กซี ของกลุ่มไทยเบฟ ก็ซุ่มทดลองโมเดลนี้เช่นกัน

ทำให้ทิศทางในปีนี้ “ตลาดตู้กดสินค้าอัตโนมัติ” น่าจับตาไม่น้อย

อ่าน : 28 ปีผ่านไป เวนดิ้งแมชชีน ถึงฮิต

I

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online