ราว 5 ปีนี้มานี้บริษัทเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่ใช้ผ่านแอปเข้ามีบทบาทต่อชีวิตคนทั่วโลก ช่วยให้การกิน-ใช้-ช้อป-และไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้น เทรนด์ดังกล่าวทำให้แอปใหญ่ ๆ ในแต่ละทวีปทำเงินได้มหาศาลจนเกิดการต่อยอดขยายกิจการจนกลายเป็นแอปที่ใช้งานได้ครบในแอปเดียว (Super App) สำหรับใน AEC มี Grab กับ GoJek ที่ขับเคี่ยวกันมาตลอดตั้งแต่เริ่มต้น

ล่าสุดการขับเคี่ยวกันระหว่าง Grab กับ GoJek ขยับไปนอก AEC เพราะต่างก็ตั้งเป้าทำ IPO ในสหรัฐฯ ตามแผนที่วางไว้ในปีนี้ จึงต้องจับตามองว่าบริษัทใดจะไปปักธงในตลาดหุ้น “เมืองลุงแซม” ได้ก่อนกัน                                                                 

จากไอเดียแก้ Pan Point ของเพื่อนร่วมรุ่น สู่คู่ปรับตลอดกาล

Anthony Tan Grab Gojek Anthony Tan

เพราะผู้ก่อตั้งเป็นคนร่วมรุ่น และเป็นชาว AEC เหมือนกันจึงทำให้เห็นว่าปัญหาการจราจรและความติดขัดในการเดินทาง เป็นจุดบกพร่องที่ควรต้องแก้ไข (Pain Point) Anthony Tan ทายาทบริษัทนำเข้ารถ Nissan รายใหญ่ในมาเลเซีย

Nadiem Grab GoJek Nadiem Makarim

กับ Nadiem Makarim ที่มีปู่เป็นถึงผู้ร่วมต่อสู้เพื่อเอกราชอินโดนีเซีย ต่างรู้ดีว่าชีวิตคน AEC จะสะดวกขึ้นอีกมากถ้าแก้ Pain Point เรื่องการเดินทางได้

เมื่อได้เจอกันระหว่างต่อ MBA ที่ Harvard Business School ในสหรัฐฯ ทั้งคู่จึงนำ Pain Point นี้ทำ Project ช่วงเรียน โดยต่อมาพัฒนาสู่ Grab ที่ Anthony Tan เป็นก่อตั้งเมื่อปี 2012 กับ GoJek ที่ Nadiem Makarim เป็นคนปั้นในปี 2010 

แน่นอนว่าช่วงแรกทั้งคู่ต่างต้องเผชิญอุปสรรคทั้งเรื่องกำลังคนและระบบหลังบ้าน รวมไปถึงเงินทุนเหมือนบริษัทตั้งต้นใหม่ (Startup) ทั่วไป

Gojek-Logo

แต่หลังจากแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ Grab และ GoJek ก็เดินหน้าขยายธุรกิจไปให้เพื่อให้ครอบคลุมประเทศใน AEC ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ รองจากจีนด้วยจำนวนประชากรมากถึง 700 ล้านคน ซึ่งหมายถึงโอกาสทำเงินมหาศาล จึงทำให้ Grab และ GoJek ต้องขับเคี่ยวกันอย่างเลี่ยงไม่ได้

แต่เมื่อปี 2020 เกิดข่าวดังขึ้นในแวดวง Digital Economy ของ AEC โดยมีรายงานว่า GoJek กับ Grab ได้มีการเจรจาควบรวมกิจการเพื่อขึ้นเป็น Super App ยักษ์ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก้าวต่อไปสู่การทำ IPO ในสหรัฐฯ

IPO GoJek Grab

ซึ่งหากทำให้จะถือเป็นบริษัทกลุ่ม Digital Economy แห่งที่ 2 ที่ ‘ปักธง’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่อจาก SEA บริษัทแม่ของเกมออนไลน์ Garena และ Shopee หนึ่งใน E-commerce ใหญ่ของ AEC แม้ที่สุดดีลนี้ล่มไม่เป็นท่า แต่ทั้งสองบริษัทยังไม่พับแผน Go Inter

Shopee Grab Gojek

GoJek หันไปรวมกับ Tokopedia แพลตฟอร์ม E-commerce ร่วมแผ่นดินอินโดนีเซีย เกิดเป็น GoTo ขึ้น และมีแผนทำ IPO ในอินโดนีเซียและสหรัฐฯ เป็นเป้าหมายต่อไป

สำหรับ IPO ในสหรัฐฯ ของ GoTo ที่คงจะมีขึ้นภายในปีนี้ อาจทำผ่านบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์พิเศษ (เช่น การซื้อกิจการหรือเข้าตลาดหุ้น) SPAC

Richard Li Grab GoJek Richard Li

หรือที่เรียกในหมู่นักลงทุนว่าบริษัทเช็คเปล่าของ Richard Li ลูกชาย Li Ka Shing มหาเศรษฐีชาวฮ่องกง เพราะเคยมาลงทุนใน Tokopedia แล้ว

ส่วน Grab ก็มีแผนทำ IPO ในสหรัฐฯ ผ่านบริษัทเช็คเปล่าเช่นกัน โดยได้จับมือกับ Altimeter Growth – VC ใหญ่ใน Silicon Valley ท่ามกลางคาดกันว่ามูลค่า IPO อาจสูงถึง 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) เลยทีเดียว

grab-gojek

ความเคลื่อนของ Grab และ GoJek ช่วงหลายปีมานี้รวมถึงความก้าวหน้าต่าง ๆ เป็นการยืนยันความเป็นคู่ปรับกันและแสดงให้เห็นว่า AEC เป็นตลาด Digital Economy ใหญ่ที่กลุ่มทุนระดับโลกให้ความสนใจ

นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำถึงการขยายตัวของบริษัทเช็คเปล่าทั่วโลก ที่มหาเศรษฐีและกลุ่มทุนใหญ่ ๆ ใช้เป็นช่องทางทำกำไร

เพียงไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทเช็คเปล่าทั่วโลกก็ระดมทุนรวมกันได้สูงถึง 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.9 ล้านล้านบาท) และหนึ่งในตลาดใหญ่คือบริษัทในทวีปเอเชีย โดยมี Richard Li ถือเป็น ‘เสี่ยใหญ่’ ในวงการ 8 เดือนที่ผ่านมา เปิดบริษัทเช็คเปล่าไปแล้ว 3 แห่ง ระดมทุน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท)

และกำลังจะเปิดแห่งที่ 4 ซึ่งไม่แน่ว่า 1 ใน 4 แห่งนี้อาจเป็นประตูให้ GoJek ได้เข้าไปทำ IPO ในสหรัฐฯ/cnbc, cnn, cna, wikipedia, scmp, forbes



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online