KBank Private Banking ประกาศความสำเร็จผลงานที่ปรึกษาการลงทุน  ชูผลตอบแทนสินทรัพย์ทางเลือก ‘Private Equity’ และ ‘หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง KIKO’ 12-18% ต่อปี* พร้อมโชว์ 18 กองทุนผลตอบแทนบวก นำโดย ธีมลงทุนเด่น พาพอร์ตลูกค้าโตฝ่ามรสุมโควิด สานต่อกลยุทธ์ 3S ผสานความเชี่ยวชาญการลงทุน ต่อเนื่องในปี 2565 

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวท แบงกิ้ง) ประกาศความสำเร็จโชว์ผลงานที่ปรึกษาด้านการลงทุน จากความพยายามในการสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าท่ามกลางสถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน แนะนำสินทรัพย์ทางเลือก เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) และ ตราสารอนุพันธ์แฝงแบบ KIKO พร้อมโชว์ 18 กองทุนที่มีผลตอบแทนเป็นบวก จาก 25 กองทุนที่แนะนำในพอร์ต KALPHA กับ ธีมลงทุนเด่น อย่าง Winner of the new economy, Policy Driven for Better World และ Laggard & Cyclical Upturn ทำให้พอร์ตการลงทุนที่แนะนำลูกค้าเติบโต ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 พร้อมประกาศสานต่อกลยุทธ์ 3S ใช้การลงทุนเป็นตัวนำและเป็นกรณีศึกษาช่วยสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าจากการเติบโตใหม่ (New ‘S’ Curve) สร้างความยั่งยืน (‘S’ustainability) ให้กับสิ่งแวดล้อม และสร้างความสุขให้กับสังคมผ่านการแบ่งปัน (‘S’haring)

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ ไพรเวท แบงกิ้ง กรุ๊ป เฮด (Private Banking Group Head) ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดการลงทุนตลอดปี 2564 ไม่สดใสเท่าที่ควร หลังตลาดหุ้นโลกรีบาวด์แรงไปแล้วในช่วงไตรมาส 2ปี 2563 ตลอดปี ตลาดลงทุนอ่อนไหวต่อข่าวสาร และสถานการณ์ความไม่แน่นอนมากขึ้น จากแนวโน้มที่ตลาดปรับตัวแบบ Bumpy Bend หรือมีการปรับขึ้นลงในกรอบแคบๆ และมีความผันผวนสูง ตามที่ธนาคารเคยคาดการณ์ ตลาดหุ้นโลกโดยรวมก็ยังปรับตัวขึ้นได้จากแรงหนุนของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตดี ล่าสุดตลาดก็กลับมาตื่นตระหนกอีกครั้ง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้ราคาหุ้นทั่วโลกปรับลดลง อย่างไรก็ดี ตลาดฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรปและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากสาเหตุหลักที่ว่าแม้ว่าโอมิครอนจะแพร่ระบาดได้ง่ายแต่อาการไม่รุนแรง

ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ธนาคารในฐานะที่ปรึกษาด้านการลงทุนได้ติดตามสถานการณ์ตลาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้า นอกเหนือจากคำแนะนำให้ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้แล้ว ธนาคารได้แนะนำให้กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึง +17.5%*** ต่อปีตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในช่วงกลางปี 2563 รวมถึงแนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้ควบอนุพันธ์ (KIKO) ที่อ้างอิงกับตะกร้าหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงถึง 1223% ต่อปี ในกรณีที่หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ 

นอกจากนี้ ธนาคารยังคงเชื่อมั่นในกลยุทธ์การลงทุนด้วยหลักการกระจายความเสี่ยงทั้งใน Core และ Satellite โดย 18 จาก 25 กองทุนที่แนะนำให้ลูกค้าลงทุนใน KALPHA สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น แบ่งเป็น จาก ใน Core port ที่เน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์หลักทั่วโลก และจัดสรรการลงทุนแบบคำนึงถึงความเสี่ยง และ อีก 14 จาก 20 กองทุนใน Satellite นำโดย ธีมการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น

  • Winner of the new economy (ผู้ชนะในยุคเศรษฐกิจใหม่) เช่น กองทุน KCHANGE (+11.9%)** ลงทุนในบริษัทที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามเป้าหมายของ UN กองทุน KHIT (+18.8%)** ลงทุนในธุรกิจแห่งโลกอนาคตที่ได้รับอิทธิพลจาก Megatrends และ กองทุน ONEUGG (+6.4%)** ลงทุนในธุรกิจที่มีนวัตกรรมหรือการปรับตัวเพื่อตอบรับกับผู้บริโภคในอนาคต 
  • Policy Driven for Better World (ธุรกิจที่มีนโยบายขับเคลื่อนเพื่อโลกที่ดีกว่า) เช่น กองทุน KCLIMATE (+14.3%)** ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ กองทุน KGINFRA (+9.5%)** ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในสหรัฐฯ ที่ได้รับอานิสงค์จากแผนการพัฒนาโครงสร้างครั้งใหญ่ของประธานาธิบดีไบเดน
  • Laggard & Cyclical Upturn (กลุ่มธุรกิจที่เติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ) เช่น กองทุน KEUROPE (+28.8%)** ลงทุนในหุ้นยุโรปที่มีโอกาสเติบโตสูง เช่น กลุ่มเทคโนโลยี และ เฮลท์แคร์ กองทุน KEUSMALL (+23.0%)** ลงทุนในบริษัทขนาดเล็กในตลาดยุโรป เช่น ภาคอุตสาหกรรม การเงิน อุปโภคบริโภค และเทคโนโลยี กองทุน ONEGLOBFIN (+17.6%)** เน้นกระจายการลงทุนหุ้นในกลุ่มการเงินที่มีคุณภาพทั่วโลก และ กองทุน KJP (+10.0%)** เน้นลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นโดยไม่จำกัดขนาดและหมวดอุตสาหกรรม

 

ในปี 2565 ธนาคารแนะนำ 10 กลยุทธ์การลงทุน ได้แก่

    1. เพิ่มเงินสดในพอร์ตเพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดที่สูงขึ้น จากความไม่แน่นอน โดยเฉพาะทิศทางการดำเนินนโยบายของ FED ท่ามกลางราคาของหลายๆ สินทรัพย์ที่เริ่มตึงตัว หากตลาดมีการปรับฐานก็สามารถใช้โอกาสการเข้าซื้อในราคาที่ต่ำลง
    2. ลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถชดเชยราคาที่จะถูกกดันจากบอนด์ยีลด์ขาขึ้นได้
    3. ตลาดหุ้นยังน่าสนใจลงทุน หนุนโดยกำไรสุทธิที่ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
    4. แนะนำลงทุนในหุ้นที่มีราคาถูกกว่าปัจจัยพื้นฐาน หรือ หุ้น Value หรือหุ้นที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักรหรือ หุ้น Cyclical เช่น กลุ่มการเงิน ที่ราคาพื้นฐานยังคงน่าสนใจ 
    5. ลงทุนในหุ้นกู้ตลาดเกิดใหม่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศพัฒนาแล้ว
    6. ประเมินค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะแข็งค่าขึ้น สวนทางกับค่าเงินยูโร 
    7. ลดสัดส่วนการลงทุนในทองคำ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงขึ้นจะกดดันราคาทองคำ
    8. เน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุก (Active) มากกว่าลงทุนตามดัชนี (Passive) โดยปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอตามสภาวะตลาด
    9. ความผันผวนถือเป็นโอกาสในการลงทุน
    10. การลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability) เป็นกุญแจสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นให้กับพอร์ตการลงทุน

โดยธนาคารยังคงเชื่อมั่นว่าการลงทุนระยะยาว ผ่านการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในระยะสั้น อีกทั้งธนาคารจะยังคงปรับกลยุทธ์และคำแนะนำการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนให้ยั่งยืน

นอกเหนือจากผลงานในการให้คำแนะนำด้านการลงทุน ธนาคารยังให้บริการครอบคลุมในทุกมิติ ได้แก่  

  • บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารสินทรัพย์ครอบครัว (Family Wealth Planning Service) จากการแพร่ระบาดของโควิด-19  หลายครอบครัวเริ่มเปิดรับและเห็นความสำคัญในการวางแผนบริหารสินทรัพย์ครอบครัวมากขึ้น ทั้งแผนระยะสั้นเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ไปจนถึงแผนการในระยะยาว โดยในปี 2565 มีแผนที่จะเพิ่มบริการในเรื่องการช่วยจัดตั้งสำนักงานครอบครัว (Family Office) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจธุระและธุรกรรมต่างๆ งานด้านสาธารณกุศล (Philanthropy) โดยนำองค์ความรู้จากพันธมิตร Lombard Odier มาปรับใช้เพื่อยกระดับองค์กรสาธารณกุศลของไทย รวมถึงการให้ความรู้ลูกค้าเกี่ยวกับการลงทุนตามความชอบ (Passion Investment) เช่น การสะสมงานศิลปะ พระเครื่อง เป็นต้น  
  • บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) พบว่า ลูกค้ายังกังวลเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากที่ดินกว่า 90% ที่ลูกค้าถือครองเป็นที่ดินที่ยังรอและยังไม่พร้อมพัฒนา ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราสูง ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ Land Loan for Investment จึงได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก และยังเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของธนาคาร โดยในปีนี้มีลูกค้ากว่า 145 รายให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ โดยอนุมัติวงเงินไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกกว่า 9 พันล้านบาท  
  • บริการที่ปรึกษาและโซลูชั่นนอกตลาดทุน (Noncapital Market Solutionsที่ได้ให้คำแนะนำลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจผ่านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อการขยายกิจการและต่อยอดกำไร โดยเป็นตัวกลางในการเจรจาในการระดมทุน โดยในปีนี้ ได้ช่วยระดมทุนให้ธุรกิจ SME ของลูกค้าไปกว่า 4.พันล้านบาท รวมไปถึงการให้คำแนะนำการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์นอกตลาด (Private Equity) เพื่อสร้างผลตอบแทนให้พอร์ตลงทุ 

การดำเนินธุรกิจ KBank Private Banking ในปี 2564 ยังเติบโต โดยมีจำนวนลูกค้าประมาณ 13,000 ราย สินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั้งหมดประมาณ 9 แสนล้านบาท ซึ่งขยายตัวจากปี 2563 ที่ 3% และ 6% ตามลำดับ ภายในสิ้นปี 2564 คาดว่าจะมีสินทรัพย์ลงทุนรวมประมาณ 5 แสนล้านบาท หรือประมาณ 68% โดยเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและ/หรือมีความซับซ้อน (Sophisticated asset) ถึง 1.แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2563 ถึง 16% และคาดว่ารายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมการลงทุนจะเติบโตถึง 27% นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับ 14 รางวัล จาก สถาบันระดับสากลทั่วโลกการันตีและตอกย้ำความเป็นผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ชั้นนำของประเทศไทยที่มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล อาทิ รางวัล Best Private Bank ของประเทศไทย จากหลายสถาบัน เช่น  The Asset Triple A, PWM/The Banker Global Private Banker และ Finance Asia รวมถึง รางวัลด้านดิจิทัล เช่น Best Private Banking for Digital Marketing & Communication in Asia จาก PWM Wealth Tech Awards 2021 และ Digital Private Banking of the Year – Thailand จาก The Asset Triple ADigital Awards 2021 จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการทำงาน สนับสนุนการให้บริการลูกค้า รวมถึงใช้เป็นช่องทางสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ธนาคาร ยังได้รับ Thailand – Best for ESG (Environment Social Governance) จาก Asia Money ซึ่งถือว่า ธนาคารเป็นผู้นำในเมืองไทยที่เน้นมิติในด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการอย่างโปร่งใส

สำหรับปี 2565 ธนาคารยังคงสานต่อกลยุทธ์ 3S ต่อเนื่อง โดยมี พันธกิจสำคัญ คือ 1) การส่งมอบบริการที่ครบถ้วนและคำปรึกษาการลงทุนเพื่อพาพอร์ตลงทุนลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน 2) นำความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน  ผลักดันและส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ สังคม ผ่านกลยุทธ์ 3S ได้แก่ S แรก-New SCurve เปิดโอกาสต่อยอดความมั่งคั่งให้กับลูกค้า จากผลสำรวจโดย Lombard Odier พบว่า HNWIs มีความกังวลต่อการลงทุนในยุค Post COVID19 เป็นโอกาสสำคัญให้ธนาคารนำเสนอการลงทุนทางเลือก อย่างการลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตผ่านทางกองทุนรวมและหุ้นนอกตลาด S ที่สอง-Sustainability แนะนำการลงทุนด้วยเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ยั่งยืน เพื่อโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า จากผลสำรวจโดย Lombard Odier พบว่าบุคคลสินทรัพย์สูง (HNWIs) ในประเทศไทยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนก่อนตัดสินใจลงทุนและเชื่อว่าจะสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าได้ S ที่สาม-Sharing ผสานร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และลูกค้าที่ต้องการจัดตั้งมูลนิธิของครอบครัว โดยให้คำแนะนำด้านการลงทุนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมายและมีส่วนร่วมในการผลักดันเศรษฐกิจให้ความก้าวหน้า สร้างโลกที่ยั่งยืน และสร้างสังคมที่มีความสุข



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online