ดิฉันรู้สึกว่าหากเราลองสังเกตดี ๆ ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก การล้มหายตายจากของบางสินค้าหรืออุตสาหกรรม และการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ วิธีการทำงานที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์โดยสมบูรณ์ จนกระทั่งการมาของไวรัส COVID-19 ทุกอย่างที่เกิดขึ้นทำให้เราคาดเดาไม่ได้เลยว่าอนาคตข้างหน้ามีอะไรรออยู่บ้าง
โลกที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและสถานการณ์ที่ผันผวนเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นโลกในรูปแบบ VUCA ซึ่งเป็นคำที่ดิฉันรู้จักเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา และน่าจะใช้อธิบายสถานการณ์ช่วงนี้ได้ดีที่สุด
โดย VUCA เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งใช้อธิบายสภาวะที่ไม่แน่นอนและคาดเดายากของเหตุการณ์ต่าง ๆ[1] มีลักษณะเด่นอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1) ผันผวน (Volatility) 2) ไม่แน่นอน (Uncertainty) 3) ซับซ้อนสูง (Complexity) 4) คลุมเครือไม่ชัดเจน (Ambiguity) โดยตัวอย่างที่ดิฉันและทุก ๆ คนได้เจอมากับตัว ก็คือ วิกฤต COVID-19 ที่อุบัติขึ้นมาและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดง่าย ๆ การกลายพันธุ์ของเชื้อที่ยังคงเห็นอยู่เรื่อย ๆ ตลอดสองปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องปรับพฤติกรรมให้เป็นวิถีแบบ New Normal เช่น จากที่เคยรับประทานอาหารนอกบ้านได้อย่างสะดวกสบายกลับกลายเป็นว่าต้องใช้ชีวิตอยู่บ้าน พึ่งพาแอปพลิเคชันสั่งอาหาร และดูแลตนเองให้ห่างไกลจากไวรัส จากพฤติกรรมใหม่ที่ไม่คิดว่าจะทำได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะก็กลับกลายเป็นความเคยชินไปโดยปริยาย
จะเห็นได้ว่าลักษณะแบบ VUCA ได้ส่งผลให้เราต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทุกวัน ทำให้ตัวเรามีโอกาสที่จะขาดความมั่นคงโดยเฉพาะด้านจิตใจเนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์การดำเนินชีวิตได้อย่างที่เคยเป็น เราเริ่มมีความกังวลและไม่มั่นใจเวลาอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด หรือแม้แต่การกลับบ้านไปหาญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุก็ไม่มั่นใจ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้อิสรภาพ สภาพจิตใจ และความรู้สึกควบคุมชีวิตตนเองได้นั้นขาดหายไป
จากปัจจัยต่าง ๆ นี้เอง ทำให้เรื่องของ Self-Care หรือ “รักษ์ตัวเอง” สำหรับดิฉันจึงเป็นแนวคิดที่จำเป็นมาก ๆ ที่จะอยู่รอดในยุค VUCA เพราะเราจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนได้นั้น เราควรเริ่มต้นจากการกลับมาดูแลตัวเองให้มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ นั่นก็คือ การหันมาให้เวลาและใส่ใจในสุขภาพตนเองให้ดีพอ การดูแลจากภายในสู่ภายนอก การเลือกอาหาร และ การออกกำลังกาย จนมีภูมิคุ้มกันที่มาจากภายในที่แข็งแรงพอต่อปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นแบบคาดเดาไม่ได้ ซึ่งแนวทางที่จะช่วยให้ Self-Care นั้นมีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมมากขึ้นก็คือ การสร้างสมดุลในชีวิตผ่านแนวทาง Mind, Body และ Soul โดยจะเป็นการเชื่อมโยงจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน
แล้วในฐานะแบรนด์จะเติมเต็มความสมดุลทางชีวิตของผู้บริโภคได้อย่างไร โดยที่จะช่วยผู้บริโภคในการต่อกรความไม่แน่นอนต่าง ๆ รวมไปถึงสร้างความสุขทางกายและใจได้อย่างยั่งยืน?
ดิฉันมองว่ากุญแจสำคัญคือ การที่แบรนด์ทำหน้าที่เสมือนเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ[2] มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้จิตใจผู้บริโภค ผ่านสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างจิตใจให้เป็นสุข (Mind) และดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง (Body) เมื่อความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างร่างกายและจิตใจได้รับการเติมเต็มจนสมบูรณ์ จิตวิญญาณก็จะมีความมั่นคง (Soul) จดจ่อกับสิ่งที่ตนเองควบคุมได้ จนไปถึงมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองและพิชิตเป้าหมายที่ต้องการจากเบื้องลึกของจิตใจ
ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างของแนวคิด Mind, Body และ Soul ของผู้บริโภคอย่างครบถ้วนอย่างหนึ่ง คือ ธุรกิจบริการเสริมความงาม เพราะผู้บริโภคมักมีความกังวลใจและไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งถือเป็นการรบกวนจิตใจ (Mind) โดยมากจะเป็นเรื่องผิวพรรณ รูปร่าง (Body) และหลาย ๆ ครั้งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของจิตใจในการออกไปเผชิญอุปสรรคหรือเป้าหมายของตนเองได้ (Soul)
ดิฉันเองได้รับฟังประสบการณ์ตรงมาจาก พญ. อัจจิมา สุวรรณจินดา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย และ ผู้อำนวยการ Medisci Anti-Aging Center ซึ่งท่านได้แบ่งปันการนำแนวทาง Holistic Anti-Aging Approach หรือศาสตร์ชะลอวัยแบบองค์รวม ที่ดูแลครบถ้วนทั้ง Mind, Body และ Soul มาใช้ในการดูแลคนไข้และเสริมความงาม
จากแนวคิด Mind, Body และ Soul จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับพันธกิจหลักของ Merz นั่นก็คือ “Look Better, Feel Better, Live Better” การสร้างสุขภาพดีแบบองค์รวม (Holistic Approach) โดย เมิร์ซ เอสเธติกส์ ได้นำความสำคัญของแนวคิด Mind Body และ Soul มาปรับใช้เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์คู่ค้าและธุรกิจที่จะต้องเผชิญได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่างแคมเปญ ‘Merz Always with You’ ซึ่งได้ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยทางเราได้มีการจัดทำชุดกู้ใจส่งให้กับแพทย์และพนักงานคลินิกคู่ค้า ในรูปแบบถุงผ้าที่ประกอบไปด้วย ชุดกู้อารมณ์ (ชุดเพาะปลูกต้นไม้) ชุดกู้ร่างกาย (วิตามินบำรุงสุขภาพ) และชุดกู้ธุรกิจ (โปรโมชั่นพิเศษจากเมิร์ซ) ทั้งหมดนี้เป็นการส่งกำลังใจและปลุกพลังใจให้กับคลินิกเสริมความงามที่ต่างได้ประสบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 และพนักงานส่วนใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำงานที่บ้านอย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อน
ด้วยเหตุนี้ กลยุทธ์การดูแลแบบองค์รวม โฟกัสทั้ง Mind, Body และ Soul จึงเหมาะสมสำหรับนักการตลาด ที่ต้องการพัฒนาแบรนด์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในโลกที่มีภาวะ VUCA ซึ่งปัจจัยที่แบรนด์ควรคำนึงก่อนที่จะนำกลยุทธ์มาใช้งานจริงก็คือ Mind, Body และ Soul นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายของแบรนด์ที่ดำเนินอยู่หรือไม่ เป็นไปในทิศทางเดียวกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรไหม และสินค้าและบริการของแบรนด์ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมหรือไม่ หากปัจจัยทั้งหมดนี้ตรงกับแนวทางปฏิบัติของแบรนด์อยู่เดิม ก็จะสามารถนำกลยุทธ์ Mind Body และ Soul มาต่อยอดด้านการตลาดได้ง่ายขึ้น
บทสรุป
การสร้างสมดุลชีวิตหรือ Mind, Body และ Soul คือแนวคิดหนึ่งที่องค์กรสามารถนำไปใช้สร้างกลยุทธ์การตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้าในโลกปัจจุบันที่โลกอยู่ในภาวะ VUCA ซึ่งใช้อธิบายสภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอน โดยมีลักษณะผันผวน (Volatility) ไม่แน่นอน (Uncertainty) ซับซ้อนเกินคาดเดา (Complexity) และคลุมเครือ (Ambiguity)
และ Self-Care หรือการรักษ์ตนเอง จึงมีส่วนสำคัญมากที่จะสร้างความตระหนักรู้ให้กับคู่ค้าและผู้บริโภคเสมอว่า เราต้องดูแลตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะออกไปสู้กับปัจจัยภายนอก โดยแนวทางที่เข้ามาเสริมการดูแลตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคือ การสร้างสมดุลชีวิต หรือ Mind, Body และ Soul ในฐานะแบรนด์ที่ต้องการนำแนวคิดไปใช้สร้างกลยุทธ์การตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ควรคำนึงในแต่ละแง่มุมต่อไปนี้
- Mind แบรนด์จะต้องมีบทบาทเสมือน “นักสร้างแรงบันดาลใจ” มีส่วนช่วยในการปลอบประโลมจิตใจและคลายความกังวลผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน
- Body สินค้าและบริการของธุรกิจจะต้องช่วยส่งเสริมการดูแลร่างกายและผิวพรรณไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง รวมไปถึงฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
- Soul บทบาทของแบรนด์จะต้องเข้าใจถึงจิตวิญญาณของผู้บริโภค และเลือกการสื่อสารของแบรนด์ให้เหมาะสมเพื่อเข้าถึงใจผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด
บทความโดย: เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ รัตนจันทร์ รองประธานบริหาร บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมความงามมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหาร บริษัทเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องอัลเทอร่า และเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม เพื่อทุกความมั่นใจของคนไทย ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2015 โดยเป็นบริษัทในเครือเมิร์ซ ฟาร์มา เยอรมนี กลุ่มบริษัท เมิร์ซ ฟาร์มา ประเทศเยอรมนี สั่งสมประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางด้าน เวชภัณฑ์ยา และเทคโนโลยีความงาม มากว่า 114 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ อันเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือของแพทย์ความงามและผู้บริโภค ทางด้านนวัตกรรมความงามและเวชภัณฑ์ยากลุ่มโบทูลินั่มท็อกซิน และเครื่องมือแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผิวพรรณและรูปร่าง ได้รับความไว้วางใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามกว่า 90 ประเทศทั่วโลก Confidence to be คือปณิธานองค์กรที่เรายึดมั่น เมิร์ซตั้งอยู่เพื่อขับเคลื่อนทุกความมั่นใจของคนไทย ผ่านพันธกิจองค์กร 3 ประการ ได้แก่ การทำให้ทุกคน ‘Look better, Feel better, Live better’ และเรายังคงเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีความงามและนวัตกรรมการรักษาระดับโลกสู่คนไทยทุกคน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.merzclubthailand.com และติดตาม Merz Aesthetics ได้ที่ Facebook: Merz Aesthetics Thailand Instagram: @merzaesthetics_th YouTube: Merz Aesthetics Thailand |
[2] https://www.consultancy.uk/news/26763/14-global-consumer-behaviour-trends-for-2021-and-beyond
[1] https://whatis.techtarget.com/definition/VUCA-volatility-uncertainty-complexity-and-ambiguity
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



