ไมค์ แคนนอน บรูคส์ ทำความรู้จักเศรษฐีชาวออสเตรเลียที่รวยแล้วช่วยโลก
ไมค์ แคนนอน บรูคส์ หนึ่งในคนที่รวยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย ผู้มีทรัพย์สินรวมแล้วกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ มีความหลงใหลที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อม และช่วยรักษาโลกใบนี้เอาไว้ เริ่มตั้งแต่วิธีการใช้ชีวิตของเขาที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืน ไปจนถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำ และเขาก็เลือกที่จะใช้เงินทุนที่เขามีอยู่ลงทุนไปกับบริษัทที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
Mike Cannon-Brookes / Forbes
การลงทุนเพื่อความยั่งยืนในความคิดของแคนนอน บรูคส์
ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะมีการประชุม COP26 เพื่อหารือเกี่ยวกับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสกอตแลนด์ แคนนอน บรูคส์ และแอนนี่ภรรยาของเขา ได้ให้สัญญาว่าจะร่วมกันบริจาคเงินถึง 357 ล้านดอลลาร์จนถึงปี 2030 ให้กับบริษัทที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ต้องการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยความเห็นอกเห็นใจที่เขามีต่อผู้อื่น เขาต้องการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำในสิ่งที่ดีที่พ่วงไปกับการลงทุน โดยได้ทำการวางแผน และเปิดเผยแผนการลงทุนด้านการกุศลของเขาผ่านพลังงานหมุนเวียน และโปรเจกต์เพื่อความยั่งยืนอื่น ๆ โดยตั้งเป้าการลงทุนไว้ที่ 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียผ่านบริษัทด้านการลงทุนของเขาที่ชื่อว่า Grok Ventures
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเปลี่ยนให้เป็นฟาร์มเกษตรปฏิรูป
นอกจากนั้นแล้ว เขาก็ยังซื้ออสังหาริมทรัพย์ในนิวเซาท์เวลส์ ด้วยเป้าหมายที่จะเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับการทำเกษตรปฏิรูป (regenerative agriculture) เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการทำฟาร์มแบบดั้งเดิม รวมทั้งเพาะพันธุ์จิ้งหรีดและแมลงอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นโปรตีนทดแทน พร้อมใช้รถแทรกเตอร์ไฟฟ้า และนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในฟาร์มอีกด้วย
แคนนอน บรูคส์มองว่าการทำเกษตรกรรมในออสเตรเลียสร้างปัญหาใหญ่มากมายและมองว่าเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมนี้ดีขึ้นอย่างไรได้บ้าง เขานึกถึงภาพบ้านฟาร์มในชนบทขนาดเล็กในเมืองแคงกาลูน ซึ่งอยู่ไกลจากซิดนีย์เพียง 140 กิโลเมตร ท่ามกลางไร่องุ่น ป่าฝน และน้ำตก ที่นั่นเต็มไปด้วยต้นไม้ จิงโจ้ และวอมเแบทมากมาย
ความเห็นของความคิดของ ไมค์ แคนนอน บรูคส์ ที่มีต่อการปรับตัวของธุรกิจเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แคนนอน บรู๊คบอกว่าบริษัทไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากที่จะปรับธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนกำลังเพิ่มภาษีคาร์บอนจากการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิงนำเข้าสินค้า หรือแม้กระทั่งเลือกที่จะหยุดซื้อสินค้าเหล่านั้น และการเปลี่ยนแปลงจากที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นพลังงานหมุนเวียนนี้ต้องอาศัยทั้งเงินและการลงทุนสุนทาน (philanthropic investment) รวมทั้งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อเรียนรู้และวิจัยว่าจะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ในแต่ละพื้นที่และภูมิภาคได้อย่างไรบ้าง
การบริจาคเงินและลงทุนให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของแคนนอน บรูคส์
แคนนอน บรูคส์ได้บริจาคเงินให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Beyond Zero Emissions (BZE), Climate Council และ Rewiring Australia และนั่นก็มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะหลังจากที่นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียได้ตกลงที่จะลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ในการประชุม COP26 เขามองว่ารัฐบาลยังไม่มีแผนการที่แน่ชัดว่าจะมีขั้นตอนหรือนโยบายอะไรบ้างที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
BZE ก็ชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลออสเตรเลียได้ริเริ่มนโยบายเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศอย่างจริงจังเสียที เพราะประเทศยังส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากไปยังประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา และชี้ให้เห็นว่าออสเตรเลียสามารถส่งออกได้มากถึง 333 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อปีภายในปี 2050 หากหันมาเพิ่มการลงทุนในด้านการส่งออกที่ไม่ผลิตคาร์บอนเป็นศูนย์ แน่นอนนั่นจะเป็นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง และออกนโยบายเพื่อแก้ไขโดยไม่รอช้า
แคนนอน บรูคส์ก็เห็นด้วยอย่างมากว่าการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดสำหรับโรงไฟฟ้าด้านทรัพยากรต่าง ๆ และเขาก็ได้ร่วมมือกับแอนดรูว์ ฟอเรสต์ มหาเศรษฐีจากการทำเหมืองแร่ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่มีแดดจัดของออสเตรเลีย พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของ Sun Cable บริษัทสตาร์ตอัปในออสเตรเลียที่ดูแลโปรเจกต์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หนึ่งในบริษัทที่แคนนอน บรูคส์ลงทุนผ่าน Grok Ventures ก็คือ Australian fintech Brighte ซึ่งให้เงินสนับสนุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านของคนออสเตรเลีย ซึ่งนับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทในปี 2015 บริษัทได้เบิกจ่ายเงินกู้ไปแล้วกว่า 600 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ให้มากถึง 75,000 ครัวเรือน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างมาก
แคนนอน บรูคส์ประสบความสำเร็จอย่างมากจากธุรกิจ Atlassian ที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเขาที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร ทว่าเขาต้องการเป็นมากกว่านั้น เขาต้องการที่จะนำรายได้จากการประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งสำหรับประเทศของเขาเองและสำหรับคนทั่วโลกด้วย
อ้างอิง :
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



