เทคนิคการฟัง ฟังอย่างไร ? ฟังให้เป็น แล้วจะขึ้นชั้นเป็นผู้บริหาร
เรียนรู้ที่จะฟัง
ฟังคนอื่นพูด ก็ดูง่าย ๆ นี่นา แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ฟังคนอื่นพูด กับตั้งใจฟัง และจับความรู้สึกผู้พูด เป็นเรื่องที่เราไม่ถนัดเลย
การสื่อสารบางทีก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาเสมอไป โดยเฉพาะกับหัวข้อที่ซับซ้อนอย่างให้ Feedback หรือเรื่องส่วนตัว
Active Listening คืออะไร?
Active Listening คือการจดจ่อกับผู้พูด พยายามทำความเข้าใจกับทั้งคำพูดไปจนถึงอารมณ์ภายใต้คำพูดนั้น ๆ พร้อมทั้งตอบกลับอย่างเหมาะสม
ความรู้พื้นฐานของ Active Listening คือ
เข้าใจความรู้สึกผู้พูด: พื้นฐานของ Active Listening คือการมองโลกผ่านสายตาคนพูด เราต้องการให้ผู้พูดเข้าใจว่า “เราเข้าใจสิ่งที่เธอพูด และเข้าใจความรู้สึกของเธอ”
การฟังไม่ใช่การเห็นด้วยเสมอไป: การฟังเพื่อเข้าใจความรู้สึกคนอื่นไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับความคิดของเขาเสมอไป เมื่อเรารับฟังอีกฝ่าย และเมื่อผู้พูดพูดจบเราสามารถแสดงความเห็นของเราได้ แม้ว่าจะเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกันก็ตาม
ตั้งใจฟังแบบไม่วอกแวก: ถ้าเรากำลังยุ่ง หรือหัวต้องคิดเรื่องอื่นอยู่ให้บอกคู่สนทนาไปตรง ๆ ขอเลื่อนวันคุยกัน หรือไปจัดการธุระให้เสร็จเสียก่อน
เรามีคำแนะนำ 3 ข้อที่จะเพิ่มทักษะ Active Listening
- ทวนคำพูดของผู้พูด เพื่อให้รู้ว่าเราเข้าใจความหมายที่ถูกต้อง
ทวนคำพูดของผู้พูด ถ้าเราทวนคำพูดได้ถูกต้องแสดงว่าเราเข้าใจอีกคนหนึ่งจริง
วิธีที่ดีที่สุดที่จะทวนคำพูดคือ พูดในแบบที่เป็นคำพูดของเราเอง อาจจะถามว่าเราตกประเด็นไหนไปไหม เราอาจจะตบท้ายด้วยคำถาม “เราเข้าใจถูกไหมครับ”
หรือถามคำถามเฉพาะ เช่น
- สิ่งที่อีกฝ่ายสังเกตเห็น: “คุณหมายถึงจำนวนวันที่ผมลาหยุดในอาทิตย์ที่ผ่านมาใช่ไหมครับ”
- สิ่งที่อีกฝ่ายรู้สึก: “คุณรู้สึกว่าไม่มีใครเห็นค่าในผลงานของคุณเท่าไรใช่ไหมครับ”
- สิ่งที่อีกฝ่ายร้องขอ: “คุณอยากฟังถึงเหตุผลว่าทำไมผมถึงพูดแบบนั้น”
แม้ว่าเราจะทวนคำพูดได้ไม่ถูกต้อง 100% ก็ไม่เป็นไร อีกฝ่ายจะได้พยายามสื่อสารให้เข้าใจ และจะได้เข้าใจกันมากขึ้น
นอกจากนั้น เรายังเป็นเหมือนกระจกสะท้อนความคิดให้ผู้พูดได้ฟัง และเข้าใจสถานการณ์ในชีวิตตัวเองมากขึ้นอีกด้วย
- สิ่งที่ไม่ควรพูดใน Active Listening
คำพูดตอบกลับต่าง ๆ มีผลในการฟัง เช่น
- ให้คำแนะนำ “ผมว่าคุณควรจะ…” “ทำไมคุณไม่…”
- พูดข่ม “เรื่องที่คุณพูดจิ๊บๆ เรื่องของผมนะ…”
- ปลอบใจ “มันไม่ใช่ความผิดของคุณหรอก คุณพยายามที่สุดแล้ว…”
- เล่าเรื่อง “เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ …”
- ตัดบท “ทนหน่อยน่า…”
- สงสาร “โถ…”
- ให้คำอธิบาย “เราก็คิดว่าจะโทรไปแหละ แต่ …”
- แก้คำพูด “เรื่องไม่ได้เป็นแบบนี้…”
ลิสต์คำพูดที่ไม่ควรพูดออกมา พอเราจะพูดอะไรแบบนี้ เราจะหยุด และหาคำตอบที่ดีกว่านี้
- ทำให้ผู้พูดรู้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังอยู่
สุดท้าย และสำคัญที่สุดคือตั้งใจฟัง และแสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังอยู่
ไม่สนใจสิ่งอื่นรอบตัว ปิดโทรศัพท์ และ Notification ต่าง ๆ สบตาคู่สนทนา และส่งสัญญาณว่าเรากำลังฟังอยู่ เช่น “ใช่” “อืม” “ครับ/ค่ะ” โดยเฉพาะกับการคุยโทรศัพท์ หรือ VDO Call เราควรให้คู่สนทนารู้ว่าเรากำลังฟังอยู่
แน่นอนว่า Active Listening ก็ไม่ได้ง่ายดาย นี่คืออุปสรรคที่เราเจอ และเรากำลังพยายามจะข้ามผ่าน
1. ไม่เสนอทางแก้ปัญหา
จากการเป็นวิศวกรมาก่อนเราชอบแก้ปัญหา เวลานั่งฟังคนอื่นเล่า โดยไม่ได้เสนอทางออกเป็นเรื่องยากมากสำหรับเรา แต่ทางออกของปัญหาไม่ได้มาจากการคุยกันแค่ครั้งเดียว ทางออกมาจากการพูดคุยกันหลายครั้งจนเข้าใจถึงบริบท และปัญหา
2. อย่ากลัวดราม่า
บางครั้งเวลาเราพูดคุยเรื่องส่วนตัว อารมณ์ความรู้สึก หรือน้ำตาก็ตามมาด้วย เรามักกลัวอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น “ไม่เป็นไร อย่าร้องไห้เลย” หรือแม้แต่เปลี่ยนเรื่องไปเลย
บางครั้งเราอาจจะไม่ต้องทำอะไรมาก แค่นั่งข้าง ๆ โดยไม่พยายามแก้ปัญหา ยิ่งใหญ่พอแล้ว
3. เทคนิคการฟัง ไม่ต้องกลัวความเงียบ
เวลาคุย ๆ กันแล้วมีจังหวะเงียบก็ไม่เป็นไร อีกฝ่ายอาจจะกำลังคิดอยู่ว่าจะพูดอะไร หรือพูดอย่างไร
ถ้าบางทีเงียบนานเกินไป เราอาจจะถามได้ว่า “คิดอะไรอยู่หรือ” คำตอบจะบอกเองว่าให้เรารออีกหน่อย หรืออีกฝ่ายหมดประเด็นที่จะคุยแล้ว
อ้างอิง : fastcompany.com
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



