รายงาน e-Conomy SEA 2023 โดย Google คาดการณ์ปี 2023 Thailand Digital Economy หรือเศรษฐกิจในไทยเติบโต 16% เทียบกับปีที่ผ่านมา

ด้วยมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.28 ล้านล้านบาท เป็นมูลค่าใหญ่สุดเป็นอันดับสองในเซาท์อีสต์เอเชีย รองจากอินโดนีเซีย (ในบทความนี้แปลงค่าเงินจากดอลลาร์ที่ได้จากรายงานเป็นค่าเงินบาทเรต 35.58 บาท ต่อดอลลาร์เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น)

และเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าสูงถึง 1.74 ล้านล้านบาท หรือ 49,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025

เมื่อเทียบเศรษฐกิจดิจิทัลกับประเทศต่าง ๆ อีก 5 ประเทศในเซาท์อีสต์เอเชีย ที่ Google ได้สำรวจพบว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในแต่ละประเทศมีการเติบโตดังนี้

 

ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศ มีการเติบโตมาจาก

1. Ecommerce เซกเมนต์ที่เป็นกำลังสำคัญหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย

และเซกเมนต์นี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี

ข้อมูลจากรายงานพบว่า GMV (Gross Merchandize Volume) หรือยอดขายสินค้าออนไลน์ที่คำนวณจากจำนวนชิ้นที่ขายได้คูณด้วยราคาขายพบว่าในแต่ละปียังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บนการแข่งขันที่รุนแรงจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ รวมถึงอีมาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างรายได้, ขยายฐานลูกค้า

แม้ว่าการแข่งขันนี้แพลตฟอร์มและแบรนด์จะลดการจัดโปรโมชั่น และปรับส่วนลดเพื่อสมดุลของการเติบโตด้านรายได้และกำไรก็ตาม

ปี 2021 มีมูลค่า 747,000 ล้านบาท (21,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2022  มีมูลค่า 712,000 ล้านบาท (20,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2023 คาดการณ์มูลค่า 783,000 ล้านบาท (22,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2025 คาดการณ์มูลค่า 1,067,000 ล้านบาท (30,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2030 คาดการณ์มูลค่า 2,135,000 ล้านบาท (60,000 ล้านดอลลาร์)

และ Google ประเทศไทย มองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีโอกาสที่น่าสนใจที่จะขยายตลาดได้ผ่านธุรกิจ Grocery ที่ยังมีช่องว่างในการลงเล่นอีกด้วย

2. Online Travel ในปีนี้มูลค่าอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตเป็นอันดับสองในเซาท์อีสต์เอเชีย รองจากฟิลิปปินส์ ด้วยการเติบโตมากถึง 85% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนฟิลิปปินส์เติบโต 88%

แม้ประเทศไทยจะมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวออนไลน์สูงเป็นอันดับสองใน SEA​ แต่ผู้บริหาร Google ให้ข้อมูลว่าการท่องเที่ยวไทยมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเหตุผลนักท่องเที่ยวจีนยังกลับมาไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด

และคาดการณ์ว่านโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ออกมาในปี 2023 เช่น การฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีน และโครงการอื่น ๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะช่วยผลักดันให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวดีได้เป็นอย่างดี และเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออนไลน์เติบโตเช่นกัน

เมื่อมองไปที่มูลค่าของการท่องเที่ยวออนไลน์ พบว่า

ปี 2019 ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาดในไทยจนต้องปิดประเทศ มีมูลค่าการท่องเที่ยวประมาณ 249,000 ล้านบาท (7,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2021 มูลค่า 71,000 ล้านบาท (2,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2022 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2023 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2025 มูลค่า 285,000 ล้านบาท (8,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2030 มูลค่า 534,000 ล้านบาท (15,000 ล้านดอลลาร์)

 

3. Food Delivery and Transport บริการส่งอาหารออนไลน์และการขนส่งยังเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีการเติบโตบนการแข่งขันของแพลตฟอร์มที่เริ่มลดจำนวนแคมเปญโปรโมชั่นเพื่อจูงใจลูกค้า เพื่อสร้างความสมดุลของการเติบโตด้านรายได้และผลกำไร

ในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี มีมูลค่าจากจากพฤติกรรมคนไทยที่ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ยังคงสั่งอาหารในรูปแบบฟู้ดเดลิเวอรีอยู่

และการขนส่งเติบโตจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

สำหรับมูลค่าของอุตสาหกรรมบริการส่งอาหารออนไลน์และขนส่งในช่วงที่ผ่านมาและคาดการณ์อนาคตมีมูลค่าดังนี้

ปี 2021 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2022 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2023 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2025 มูลค่า 142,000 ล้านบาท (4,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2030 มูลค่า 356,000 ล้านบาท (10,000 ล้านดอลลาร์)

 

4. Online Media สื่อออนไลน์ที่ประกอบด้วยวิดีโอ/เพลงออนดีมานด์ และเกมออนไลน์ เป็นเซกเมนต์ที่สร้างมูลค่าจากไทยเป็นประเทศที่ตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งที่เรียกเก็บค่าสมาชิกใหญ่ที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชียแม้จะมีข้อจำกัดด้านคอนเทนต์ที่เป็นภาษาไทยก็ตาม

จากการสำรวจของ Google ในรายงาน e-Conomy พบว่าไทยมีมูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ดังนี้

ปี 2021 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2022 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2023 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2025 มูลค่า 249,000 ล้านบาท (7,000 ล้านดอลลาร์)

ปี 2030 มูลค่า 534,000 ล้านบาท (15,000 ล้านดอลลาร์)

 

อย่างไรก็ดี สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยยังขับเคลื่อนผ่านบริการอื่น ๆ เช่น

บริการด้านการเงินดิจิทัล (Digital financial services: DFS) ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งจาก

– นโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการบริการด้านการเงินดิจิทัล

– ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีแผนที่จะออกใบอนุญาตประกอบการธนาคารดิจิทัลใหม่ในปี 2024 ให้กับลูกค้าและช่วยให้คนไทยทั่วประเทศเข้าถึงบริการด้านการเงินได้มากขึ้น

– การขยายระบบผูกบัญชีพร้อมเพย์จะเข้ามารองรับในเรื่องนี้ โดยจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินได้มากขึ้น

– บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลมีการเติบโตเร็วที่สุดถึง 65% เติบโตรวดเร็วที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชีย โดยมียอดสินเชื่อปีนี้สูงประมาณ 427,000 ล้านบาท หรือ 12,000 ล้านดอลลาร์

– บริการด้านความมั่งคั่งทางดิจิทัลมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเร็วที่สุดถึง 39% และจะมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการอยู่ที่ประมาณ 818,000 ล้านบาท หรือ 23,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025 และคาดว่าบริการด้านการเงินดิจิทัลของไทยจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเซาท์อีสท์เอเชียในปี 2023

จำนวนผู้ใช้จ่ายออนไลน์ที่มีการใช้จ่ายมูลค่ารวมกันสูงในแต่ละปีที่สูงขึ้น (High-value users: HVUs)

ในปัจจุบันประเทศไทย High-value users ที่มีการใช้จ่ายสูงกว่าผู้ใช้จ่ายออนไลน์ที่มีมูลค่าไม่สูง (Non-HVUs) โดยเฉลี่ยถึง 7 เท่า โดยเฉพาะการใช้จ่ายในส่วนของเกม การขนส่ง และการท่องเที่ยว และคาดว่ากลุ่ม HVUs ในไทยจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 64% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า นับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชียเช่นกัน



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online