จิม ทอมป์สัน เพราะขาดทุนต่อเนื่อง จึงต้องเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ไปเป็นแบรนด์ไอคอนิกไลฟ์สไตล์ระดับโลก

จิม ทอมป์สัน ประกาศมุ่งสู่การเป็นแบรนด์ไอคอนิกไลฟ์สไตล์ระดับโลกแบรนด์เเรกของเอเชีย ขยายธุรกิจสินค้าตกแต่งบ้าน เตรียมทำโรงเเรมเพิ่ม เเต่กำไรยังติดตัวเเดงหกปีซ้อน

Jim Thompson แบรนด์ของชาวอเมริกันที่ตกหลุมรักผ้าไหมไทย ด้วยการเล็งเห็นคุณค่าความงดงามของเส้นไหม การถักทอ ด้วย passion ของชายที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาไหมไทย” ได้ยกระดับผ้าไหมสู่แบรนด์ Hi-end ระดับสากล

แต่เมื่อเจอกับวิกฤตโควิด-19 จิม ทอมป์สันได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการปิดหน้าร้านหลายแห่ง เเละช่องทางอีคอมเมิร์ซก็เริ่มดำเนินการได้ไม่นาน ตลอดเวลามานี้จึงเป็นช่วงที่เเบรนด์ต้องปรับตัวอย่างหนัก ลงเเรงไปกับการลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่ม เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการเป็นเเค่แบรนด์เเฟชั่น ทำให้การขาดทุนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ลากยาวมาจนถึงปี 2565 ยังคงติดตัวเเดงต่อเนื่อง

ทางออกของแบรนด์ผ้าไหมไทยระดับไฮเอนด์ ที่เคยนิยามตนเองว่า อยากเป็น “เเอร์เมสแห่งเอเชีย” นี้ กำลังจะมุ่งไปในทิศทางใด

แฟรงก์ แคนเซลโลนี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด เเบรนด์จิม ทอมป์สัน กล่าวว่า  ในช่วงเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ต่างจากคนอื่น ด้วยว่านักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก ประกอบกับเป็นช่วงปรับตัวของแบรนด์ในการก้าวสู่น่านน้ำใหม่ จากที่โดยปกติในอุตสาหกรรมเเฟชั่นส่วนใหญ่จะใช้งบลงทุนในธุรกิจใหม่ 3-4% ของรายได้ เเต่ตลอดช่วงที่ผ่านมานับเเต่ช่วงโควิด บริษัทลงทุนกับการปรับตัวของแบรนด์ไป 9% ของรายได้ ทั้งสำหรับการรีโนเวต เเละขยายธุรกิจเสริม ซึ่งในปีนี้มีเเนวโน้มฟื้นตัวกลับมาได้มากกว่าพรีโควิดเเล้ว

ธุรกิจหลักยังคงนำมาโดยแฟชั่น ผ่านสินค้าซิกเนเจอร์คอลเลกชัน ทั้งเสื้อผ้าเรดี้ทูแวร์ เครื่องประดับ และกระเป๋าหลากสไตล์ บริษัทยังได้จับมือกับ King Power เพิ่มเติมเพื่อเปิดสโตร์ใหม่ในภูเก็ตและสนามบินดอนเมือง เเละเปิดไลฟ์สไตล์สโตร์ในสไตล์ดูเพล็กซ์ ณ One Bangkok

ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน มีสโตร์ทั้งสิ้น 25 แห่งในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 25 สโตร์ แบ่งเป็น ฟูลไพรซ์สโตร์ 16 แห่ง ทราเวลรีเทลสโตร์ 6 แห่ง เเละเอาท์เล็ตสโตร์ 3 แห่ง สินค้ายอดนิยมของแบรนด์ ได้แก่ เสื้อผ้าเรดี้ทูแวร์ ผ้าพันคอ กระเป๋า และเครื่องประดับ

ธุรกิจร้านอาหาร

เตรียมเปิดร้าน Jim’s Terrace ที่ One Bangkok และขยายสาขา Jim Thompson, A Thai Restaurant x The O.S.S. Bar ในคอนเซ็ปต์ร้านอาหารและบาร์ในภูมิภาคเอเชียเร็ว ๆ นี้

ธุรกิจสินค้าผ้าตกแต่งบ้าน

นำเสนอผ้าตกแต่งคุณภาพสูง ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ ผ่านกระบวนการผลิตขั้นสูง ประณีตบรรจง อาทิ ผ้าตกแต่งผนัง ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ และผ้าปักประเภทต่าง ๆ เพื่อการอยู่อาศัย และล่าสุด ในลิสต์ The World’s 50 Best Hotels มากกว่า 35% ของโรงแรมระดับโลกในรายการนี้ เลือกใช้สินค้าของจิม ทอมป์สันในการตกแต่ง

มุ่งสู่แบรนด์ไอคอนิกไลฟ์สไตล์ระดับโลก

แนวทางในการเติบโตไปเป็นแบรนด์ชื่อก้องโลกที่ทุกคนรู้จักในระดับสากล เป็นเส้นทางที่จิม ทอมป์สันจะไป คือ การมุ่งสู่แบรนด์ไอคอนิกไลฟ์สไตล์ระดับโลก (เเบรนด์ที่มี Position เดียวกันนี้ ในระดับโลก ฝั่ง US ได้เเก่ Ralph Lauren ฝั่งยุโรป ได้เเก่ Armani) ที่ไม่ใช่เพียงแบรนด์แฟชั่นแต่คือไลฟ์สไตล์แบรนด์ที่ครอบคลุมทั้งธุรกิจแฟชั่น ร้านอาหาร สินค้าตกแต่งบ้าน เสริมด้วย hospitality, Heritage เเละ Art center

หนึ่งในการทำให้ภาพการเป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์ชัดขึ้น คือ Jim Thompson Heritageca Quarter แลนด์มาร์กอาณาจักรไลฟ์สไตล์ รวบรวมแหล่งกิน เที่ยว ช้อป พักผ่อน ทางวัฒนธรรมไว้ในสถานที่ใจกลางกรุง ภายใต้บรรยากาศอันร่มรื่น สถานที่ภายในประกอบไปด้วย บ้านเรือนไทยพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน, นิทรรศการ ‘Museum About the Man’, นิทรรศการ The Evolving World of Jim Thompson Textiles เเละ The Iconic Store พร้อมโซนร้านอาหารไทย จิม ทอมป์สัน, The O.S.S. Bar, คาเฟ่ Jim’s Terrace เเละ Silk Café ตลอดจนห้องจัดอีเวนต์อเนกประสงค์ Moonlight Hall ใกล้กับ Jim Thompson Art Center

นอกจากธุรกิจหลัก บริษัทได้ขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง คาดการณ์เม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนอยู่ในระหว่าง 100 – 150 ล้านบาท ได้เเก่ Jim Thompson Hotel and residence ซึ่งอยู่ในช่วงการศึกษาเเละเจรจากับทั้ง 3rd party ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ และธุรกิจของใช้ในบ้าน Maison Jim Thompson ที่อยู่ในช่วงศึกษาตลาด รวมถึง Concept store ที่จะเดินเครื่องรีโนเวตปลายปี 2024 เเละเปิดให้ยลโฉมได้ไตรมาสสุดท้ายของปี 2025

การพาจิม ทอมป์สัน ไปสู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลก อีกอย่างหนึ่งคือการคอลแลบส์กับพาร์ตเนอร์ อาทิ Panpuri Wellness, การบินไทย, ศิลปินร่วมสมัยและดีไซเนอร์ชื่อดังเมืองไทย หรือแบรนด์ระดับโลกต่าง ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน มีสโตร์โชว์รูมสินค้าผ้าตกแต่งบ้าน บริษัทตัวแทนจำหน่าย อยู่ใน 60 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป เเละกำลังเดินหน้าขยายธุรกิจในเอเชียและตะวันออกกลาง

ปี 2024 ก้าวสู่การเป็นบริษัทมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี แฟรงก์ แคนเซลโลนี อธิบายว่า ในปี 2023 คาดการณ์ว่ารายได้จะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้มากกว่า ปี 2017-2019 รวมกัน เป็นผลพวงจากการปรับตัวของเเบรนด์ตามที่ได้กล่าวมา  เเละปี 2024 จะมุ่งสู่การเป็นบริษัทมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์

ด้วย Brand story ที่เรื่องราวของผู้ก่อตั้งเป็นพลอตยูนีค เป็นข้อได้เปรียบหนึ่งของจิม ทอมป์สันในการต่อยอดการตลาด ซึ่งเร็ว ๆ นี้ แบรนด์ได้เตรียมจะทำเรื่องราวของ “เจมส์ แฮร์ริสัน วิลสัน ทอมป์สัน” ผู้ก่อตั้ง  เป็น TV Series ร่วมกับทีมงานฮอลลีวูด ฉายบนเเพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ซึ่งจะช่วยให้ Brand story แข็งแกร่งขึ้นอีก

ผลประกอบการ บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด ย้อนหลัง 5 ปี

 

ปี รายได้ (ลบ.) กำไร (ลบ.)
2561 2,292 ขาดทุน  125
2562 2,232 ขาดทุน 480
2563 1,010 ขาดทุน 692
2564 806 ขาดทุน 738
2565 1,259 ขาดทุน 167

 

 

Jim Thompson ขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ปักหมุดใหม่มุ่งสู่ ‘แบรนด์ไอคอนิกไลฟ์สไตล์ระดับโลก’ หยิบ Brand story มาเล่าฉาย Netflix

Jim Thompson (บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด)

แบรนด์แฟชั่นผ้าไหมไทย ก่อตั้งปี 2494 โดยเจมส์ แฮร์ริสัน วิลสัน ทอมป์สัน สถาปนิกและนักธุรกิจชาวอเมริกัน

ปี 2510  จิม ทอมป์สัน หายตัวไปอย่างลึกลับ เเละกลายเป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้จนทุกวันนี้

เตรียมทำเป็น TV Series ฉายบน Netflix

กลุ่มธุรกิจหลัก 1. ธุรกิจเเฟชั่น

2. ธุรกิจร้านอาหาร

3. ธุรกิจสินค้าผ้าตกแต่งบ้าน

25 สโตร์ในไทย:
16

Full Price Stores

6

Travel Retail Stores

3

Outlet Stores

Top 3  หมวดหมู่สินค้า:
Ladieswear

27%

Scarves

22%

Menswear

16%

ยอดการใช้จ่ายต่อบิล มากกว่า 7,000 บาท ต่อครั้งต่อเมมเบอร์

 

ปี รายได้ (ลบ.) กำไร (ลบ.)
2560 2,328 ขาดทุน 10
2561 2,292 ขาดทุน  125
2562 2,232 ขาดทุน 480
2563 1,010 ขาดทุน 692
2564 806 ขาดทุน 738
2565 1,259 ขาดทุน 167

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online