ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย ปี 2566 ร้านซูชิลดลง เเต่ร้านราเมง ชาบู เนื้อย่าง เปิดเพิ่มขึ้น (วิเคราะห์)

ร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมในประเทศไทย และในอนาคตจะยิ่งมีความหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เเละเป็นที่รู้จักแพร่หลายในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กรุงเทพฯ แถลงผลสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยประจำปี 2566 พบว่า มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย 5,751 ร้าน เพิ่มขึ้น 426 ร้านจากปีที่เเล้ว

ร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล และต่างจังหวัด  ร้านประเภทราเมง ร้านสุกี้ยากี้ ชาบูชาบู ร้าน Izakaya เเละร้านเนื้อย่างมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนร้านซูชิลดน้อยลง

การสำรวจปี 2566 พบว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยมีจำนวน 5,751 ร้าน เพิ่มขึ้น 426 ร้าน หรือ 8.0% เมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว โดยมีจำนวนร้านเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล และต่างจังหวัด

เมื่อจำแนกตามประเภทร้าน พบว่า ร้านซูชิ ซึ่งเป็นประเภทร้านที่มีจำนวนมากที่สุด ในปี 2566 ร้านกลับลดลง 4.1%  ขณะที่ร้านประเภทราเมง สุกี้ยากี้ ชาบูชาบู ร้าน lzakaya และร้านเนื้อย่าง มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากความต้องการของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย

2562 2563 2564 2565 2566
ต่างจังหวัด 1,189 1,425 1,671 2,147 2,299
5 จังหวัดปริมณฑล 455 564 626 784 850
กรุงเทพฯ 1,993 2,105 2,073 2,394 2,602

 

จำแนกร้านตามประเภท เฉพาะปี 2566

ประเภท เพิ่ม ลด รวม อัตรา
Sushi 225 284 1,372 -4.1
ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น 197 116 1,354 6.4
ราเมง 191 61 741 21.3
สุกี้/ชาบู 85 18 453 17.4
Izakaya 112 44 437 18.4
Yakiniku/BBQ 116 40 417 22.3
คาเฟ่ 71 58 291 4.7
Donburi 26 24 169 1.2
Curry/Omu-rice 37 20 158 12.1
อาหารตะวันตก 24 9 144 11.6
อาหารทอด 23 10 136 10.6
Teppanyaki/

Okonomiyaki

3 10 48 -12.7
Soba/Udon 10 0 31 47.6
รวม 1,120 694 5,751 8.0

 

จำนวนลูกค้าและยอดขายฟื้นตัว 80-90% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19

ในปี 2565 เป็นช่วงที่ยังไม่สามารถเดินทางเที่ยวญี่ปุ่นได้ ผู้บริโภคชาวไทยจึงหันมารับประทานอาหารญี่ปุ่นของร้านในประเทศ ทำให้การบริโภคอาหารญี่ปุ่นในประเทศสูงขึ้น เเต่ในปี 2566 การรับประทานอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคชาวไทยกลับสู่สภาพช่วงก่อนโควิด-19 แล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ฟื้นตัวต่อเนื่อง จำนวนลูกค้าและยอดขายฟื้นตัวกลับมา 80-90% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด

การแข่งขันระหว่างร้านอาหารทวีความรุนเเรงขึ้นในทุกภูมิภาคและทุกประเภทร้าน

ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นหลายท่านให้ความเห็นว่า การแข่งขันระหว่างร้านอาหารญี่ปุ่นด้วยกันเองและร้านอาหารประเภทอื่น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ร้านอาหารประเภทซูชิ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา กลับลดลงในปี 2566 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนเเรง ผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงปรับตัวสูง

จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นทั้งในต่างจังหวัดส่งผลไปยังการเพิ่มยอดส่งออกวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในปี 2561 และปี 2566 พบว่า มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ส่วนในจังหวัดปริมณฑลเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า และต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า โดยรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 1.9 เท่า

ร้านอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มมากขึ้นในต่างจังหวัด หากสามารถเชิญชวนให้ร้านเหล่านั้นมาใช้วัตถุดิบอาหารจากญี่ปุ่น จะช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าอาหารจากญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย ที่ผ่านมาจึงได้เห็น เจโทร กรุงเทพฯ ดำเนินกิจกรรมเชิงรุกในต่างจังหวัดต่อเนื่อง ทั้งการจัดงานเเสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจครั้งเเรกในต่างจังหวัด ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและค้าปลีกในเชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง  และเเคมเปญ “Made in JAPAN on tour”  ประชาสัมพันธ์วัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่นในภาคเหนือเเละอีสาน

ในปี 2565 สินค้าเกษตร ป่าไม้ ประมง และอาหาร ที่ส่งออกจากญี่ปุ่นมายังไทย ได้แก่

2563 2564 2565
1 ปลาคัตสึโอะและปลาจำพวกมากุโระ

9.6 พันล้านเยน

ปลาคัตสึโอะและปลาจำพวกมากุโระ

7.7 พันล้านเยน

ปลาอิวาชิ (ปลาซาดีน)

6 พันล้านเยน

2 หนังหมู

3.2 พันล้านเยน

หนังหมู

5.4 พันล้านเยน

หนังหมู

4.5 พันล้านเยน

3 ปลาอิวาชิ (ปลาซาร์ดีน)

3.2 พันล้านเยน

ปลาอิวาชิ (ปลาซาดีน)

3.3 พันล้านเยน

ปลาซาบะ

3.5 พันล้านเยน

4 ปลาซาบะ

3.1 พันล้านเยน

ปลาซาบะ

2.7 พันล้านเยน

เนื้อวัว

3.2 พันล้านเยน

5 ซอสปรุงรส

1.4 พันล้านเยน

เนื้อวัว

1.8 พันล้านเยน

ปลาคัตสึโอะและปลาจำพวกมากุโระ

3.1 พันล้านเยน

ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ ประมง และอาหารมายังประเทศไทยตั้งแต่ มกราคม-พฤศจิกายน 2566 มูลค่า 46,500 ล้านเยน เป็นอันดับที่ 8 ของโลก เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ร้านอาหารญี่ปุ่นยังมีความสำคัญในการเผยเเพร่วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นไปสู่นานาประเทศ พร้อมกันนั้นยังมีบทบาทขยายการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ ประมงและสินค้าอาหารญี่ปุ่น

จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในต่างประเทศปี 2566 มีประมาณ 187,000 ร้าน เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 159,000 ร้าน

โดยที่เอเชียเพิ่มขึ้น 21,000 ร้าน อเมริกากลางและใต้เพิ่มขึ้น 7,000 ร้าน ยุโรปเพิ่ม 3,000 ร้าน อเมริกาเหนือลดลง 3,000 ร้านโดยประมาณ

ประเทศที่มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุด ไทยติด Top7

ประเทศ จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่น
จีน 78,760
สหรัฐฯ 26,040
เกาหลีใต้ 18,210
ไต้หวัน 7,440
เม็กซิโก 7,120
ไทย 5,330
ฝรั่งเศส 4,680

 

เขต จำนวนร้าน อัตรา
เอเชีย 122,000 +20%
อเมริกาเหนือ 28,600 -10%
ยุโรป 16,200 +20%
อเมริกากลาง/ใต้ 12,900 2เท่า
รัสเซีย 3,200 +0.31
โอเชียเนีย 2,500 ไม่เปลี่ยนแปลง
ตะวันออกกลาง 1,300 ไม่เปลี่ยนแปลง
แอฟริกา 690 -0.07

 

อินโฟสรุป

จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย
2564 2565 2566
ต่างจังหวัด 1,671 2,147 2,299
5 จังหวัดปริมณฑล 626 784 850
กรุงเทพฯ 2,073 2,394 2,602
รวม 4,370 5,325 5,751
จำแนกตามประเภท วัตถุดิบที่ญี่ปุ่นส่งมาไทย 4 อันดับเเรกเพื่อประกอบอาหาร

1. ปลาอิวาชิ (ปลาซาร์ดีน) = 6 พันล้านเยน

2. ปลาซาบะ = 3.5 พันล้านเยน

3. เนื้อวัว = 3.2 พันล้านเยน

4. ปลาคัตสึโอะและปลาจำพวกมากุโระ = 3.1 พันล้านเยน

 

ประเภท จำนวนร้าน
Sushi 1,372
ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น 1,354
ราเมง 741
สุกี้/ชาบู 453
Izakaya 437
ประเทศที่มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุด
ประเทศ จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่น
จีน 78,760
สหรัฐฯ 26,040
เกาหลีใต้ 18,210
ไต้หวัน 7,440
เม็กซิโก 7,120
ไทย 5,330

ที่มา: องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กรุงเทพฯ

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online