MBK ใหญ่กว่าที่คิด และยังมี “สยามพิวรรธน์” เป็นขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่

แล้วใครคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน MBK

3  อันดับแรกของผู้ถือหุ้น MBK คือ

1.บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)               28.35 %

2.บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)                                  20.97 %

3. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด                                             6.4 %

ปี 2522 ศิริชัย บูลกุล ได้จดทะเบียนก่อตั้งจากโรงสีข้าวที่ใหญ่และทันสมัยขึ้น ภายใต้ชื่อ “บริษัท มาบุญครองไรซมิล จำกัด

ส่วนจุดเริ่มต้นในการทำศูนย์การค้าของกลุ่มนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2526 เมื่อกลุ่มนี้ไปเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกปทุมวัน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อสร้างเป็นศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เปิดบริการปี พ.ศ. 2528

นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น

ผ่านมา 45 ปี วันนี้MBKกรุ๊ป ขยายกิจการไปเป็น 8 กลุ่มธุรกิจ ครอบคลุมทุกมิติของการใช้ชีวิต และกำลังวางแผนปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจเอ็ม บี เค โดยจัดตั้งบริษัทย่อยตามกลุ่มธุรกิจและให้บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) (MBK) เป็นโฮลดิ้ง คอมพานี (Holding Company)

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

ตัวเลขจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 รายได้หลักของMBKมาจาก 3 ธุรกิจหลัก คือ ศูนย์การค้า 1,903 ล้านบาท 2. การเงิน 1,766 ล้านบาท 3. อาหาร 1,339 ล้านบาท

ที่เหลือจะเป็นส่วนของโรงแรม 936 ล้านบาท สนามกอล์ฟ 363 ล้านบาท อสังหาฯ 424 ล้านบาท ประมูล 558 ล้านบาท และอื่น ๆ อีก 20 ล้านบาท

สำหรับธุรกิจศูนย์การค้าซึ่งกำลังทำรายได้สูงสุดให้กลุ่มMBKนั้น ไม่ได้มีแค่ห้างมาบุญครอง ห้างใหญ่เก่าแก่ อายุ 39 ปีเท่านั้น แต่ยังมีห้างอื่น ๆ อีก 4 แห่ง

และที่สำคัญหลายคนคงไม่รู้ว่า สยามพิวรรธน์ เจ้าของโครงการศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ พารากอน และไอคอนสยาม ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้น มีMBKเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มานานหลายปี

จนปัจจุบันสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 49%

กลายเป็นขุมทรัพย์ลับ ๆ ที่ซ่อนอยู่และกำลังสร้างรายได้ให้กับMBKอย่างต่อเนื่อง

รายได้ปี 2565 ของสยามพิวรรธน์มีถึง 4,113 ล้านบาท กำไร 1,330 ล้านบาท (ตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์)

และสยามพิวรรธน์เองก็ไม่ได้หยุดแค่การลงทุนในประเทศ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น รางวัลต่าง ๆ ระดับนานาชาติที่ได้รับอย่างมากมาย

ทำให้เมื่อปีที่ผ่านมาสยามพิวรรธน์กล้าที่จะประกาศว่าพร้อมแล้วที่จะเป็นพันธมิตรกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างโครงการที่เป็นแลนด์มาร์กในประเทศต่าง ๆ ของภูมิภาคเอเชีย

รวมทั้งการเตรียมตัวเข้าไปเป็นบริษัทด้านรีเทลที่จะเข้าไปโลดแล่นในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ดังนั้น ท่ามกลางความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในโลกธุรกิจ แต่การที่ MBK มีรายได้มาจากหลายทางที่เข้าไปลงทุน รวมทั้งจุดแข็งที่โดดเด่นของพันธมิตรอย่างสยามพิวรรธน์

ทำให้ 2 กลุ่มนี้น่าจะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

 

 

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online