Dunkin’ ทำความรู้จักแบรนด์ ความสำเร็จ และอนาคตที่มุ่งสู่ธุรกิจกาแฟ

เกือบ 7 ทศวรรษมาแล้วที่คนทั่วโลกได้รู้จักแบรนด์ในธุรกิจร้านอาหารแบบบริการด่วน (Quick Service Restaurant – QSR) ซึ่งมี Donut เป็นจุดเด่นพร้อมเครื่องดื่มหลากหลาย ทั้งเพื่อรองท้องยามเร่งด่วน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ จุดนัดพบ หรือบางครั้งอาจเป็นมื้ออิ่มระดับที่ฝากท้องได้เลย มาวันนี้แบรนด์ระดับ Top 10 ในธุรกิจนี้ซึ่งใช้ชื่อDunkin’ Donuts มาตั้งแต่เริ่มต้น ตัดเหลือเพียงDunkin’ เท่านั้น

Dunkin' 3

นี่คือการส่งสัญญาณว่าอนาคตของแบรนด์ QSR มูลค่า 4,631 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 143,561 ล้านบาท) ไม่สามารถฝากไว้กับขนมแป้งทอดมีรูตรงกลางได้เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป และถึงเวลาแล้วที่ต้องชูกาแฟให้เด่น เพราะไม่กี่ปีมานี้เครื่องดื่มรสขมทั้งร้อน-เย็น ทำยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

ตั้งต้นจากมื้อกลางวันในโรงงาน สู่แบรนด์ QSR ที่มีสาขาทั่วโลก

Dunkin’ก่อตั้งเมื่อปี 1950 ในชื่อDunkin’ Donuts โดย William Rosenberg ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปตะวันออก ที่เรียนไม่จบมัธยมต้น เพราะต้องช่วยพ่อแม่หารายได้จุนเจือทั้งครอบครัวและเลี้ยงตัวเองในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง โดยเป็นร้านขายกาแฟและ Donut ที่ต่อยอดมาจากบริษัทจัดส่งอาหารกลางวันให้พนักงานโรงงานและรถขายอาหารกลางวันเคลื่อนที่ปลายยุค 40 ซึ่งชื่อมาจากที่ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบจุ่ม (Dunk) Donut ลงในกาแฟก่อนกิน

Will Resenberg Dunkin

William Rosenberg ผู้ก่อตั้งDunkin’ 

Dunkin’Donuts สาขาแรกตั้งอยู่ที่เมือง Quincy รัฐ Massachusetts โดยภายใต้รูปแบบ Franchise ทำให้การขยายสาขาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนในปี 1963 จำนวนสาขาเพิ่มเป็น 100 แห่ง

และ William Rosenberg ผลักดันให้ Robert  Rosenberg ลูกชายคนโตขึ้นมาเป็นประธานบริหาร (CEO) ด้วยวัยเพียง 25 ปี ภายใต้จุดขายว่ามีขนมหลายสิบชนิดให้กินระหว่างจิบกาแฟ ซึ่งถือว่ามากกว่าคู่แข่ง

จากนั้นในปี 1973 ก็เริ่มขยายสาขาสู่ต่างประเทศ โดยสาขาที่ญี่ปุ่นเป็นสาขาแห่งแรกนอกสหรัฐฯ ต่อมาDunkin’ Donuts ก็ขยายไปทั่วโลก เมื่อถึงปี 1995 มีสาขาในต่างประเทศครบ 1,000 แห่ง โดยสาขาที่ 1,000 เป็นสาขาในไทย ซึ่งช่วงนี้สินค้าขายดียังคงเป็น Donut

First Dunkin OldDunkin’ สาขาแรก 

ข้ามมาถึงปี 2015 ทำยอดขายทั่วโลกได้ 810 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 25,110 ล้านบาท) และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 1,248 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 38,688 ล้านบาท) ในปี 2016 พร้อมจำนวนสาขาเพิ่มเป็น 12,000 แห่ง

แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็มาถึงในปี 2018 หลังประกาศว่า ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไปชื่อแบรนด์จะเหลือเพียง Dunkin’เพื่อประโยชน์ในการขยายธุรกิจ เพราะเครื่องดื่มครองสัดส่วนถึง 60% ของยอดขายและในจำนวนนี้กาแฟขายดีสุด  

Dunkin; Poster

การดันเครื่องดื่มโดยเฉพาะกาแฟให้เป็นพระเอกของDunkin’ เพราะปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกดื่มกันมากมายในแต่ละวัน และเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มทำกำไร 

จน Coca-Cola ที่ไม่อยากตกขบวนต้องซื้อกิจการ Costa Coffee แบรนด์เครือร้านกาแฟสัญชาติอังกฤษซึ่งมีสาขาทั่วโลกมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Starbucks มาเป็นแบรนด์ใต้ชายคา

Dunkin CEODavid Hoffman – CEO คนปัจจุบันของ Dunkin’ 

ปัจจุบัน Dunkin’อยู่ภายใต้การบริหารของ David Hoffman เดินหน้าเข้าสู่ปี 70 ด้วยจำนวนสาขาทั่วโลกราว 12,800 แห่งใน 44 ประเทศทั่วโลก และมียอดขายกาแฟทั้งร้อน-เย็นเฉลี่ย 2,000 ล้านแก้วต่อวัน

และเป็นแบรนด์ QSR มูลค่าอันดับ 9 ในโลก ด้วย 4,631 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 73% จากมูลค่า 2,677 (ราว 143,561 ล้านบาท) เมื่อปี 2018

original dunkin             Dunkin’  สาขาแรกในปัจจุบัน     

Dunkin’ ความเกี่ยวข้องที่คาดไม่ถึงกับคู่ปรับสำคัญและบ้านหลังใหญ่นอกสหรัฐฯ

ขึ้นชื่อว่าเป็นแบรนด์ใหญ่ย่อมต้องมีคู่แข่ง โดยสำหรับ Dunkin’แม้ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าขอท้าสู้กับ Starbucks แล้ว แต่ในอดีตคู่แข่งคือ Mister Donuts ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน

เพราะก่อตั้งโดย Harry Winokur ผู้มีศักดิ์เป็นพี่เขยของ William Rosenberg ผู้ก่อตั้ง Dunkin’ซึ่งเคยทำธุรกิจร่วมกันมาก่อน และสาขาเฉพาะในสหรัฐฯ ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจในเครือ Dunkin’ด้วย

Dunkin South Korea Dunkin’ในเกาหลีใต้ 

สำหรับเรื่องจำนวนสาขาของ Dunkin’แน่นอนว่ามีในสหรัฐฯ มากสุด แต่สาขาในต่างประเทศ เกาหลีใต้คืออันดับ 1 ด้วยจำนวนเกือบ 1,000 แห่ง มากกว่าสาขาของทั้ง Starbucks และ McDonald’s โดยจากความนิยมดังกล่าวเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศนอกสหรัฐฯ ประเทศเดียวที่มีโรงบ่มกาแฟของ Dunkin’ / inc, eatthis, dunkindonut, statista, brandfinance, wikipedia

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 

 

 

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online