โซเชียลคอมเมิร์ซ โตต่อเนื่อง คนไทยช้อปและขายมากแค่ไหน ?

ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ปี 2562 มูลค่า 163,300 ล้านบาท

จากข้อมูลของไพรซ์ซ่า พบว่ามีมากถึง 38% หรือมูลค่า 62,054 ล้านบาทที่เกิดการโซเชียลคอมเมิร์ซ

มูลค่าตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซถือเป็นมูลค่าอันดับ 2 รองจาก อีมาร์เก็ตเพลส ที่มีมูลค่า 76,751 ล้านบาท

ขณะที่ในปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ซ เติบโตมากถึง 81% มีมูลค่า 294,000 ล้านบาท

การเติบโตนี้มาจากปัจจัยอย่างสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ‘ช้อปออนไลน์’ คือทางเลือก

เทรนด์ที่น่าจับตาคือตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างน่าสนใจ ที่เราเห็นเทรนด์และพฤติกกรมของแบรนด์ พ่อค้าแม่ค้าหันมาใช้ช่องทางโชเชียลเป็นช่องทางในการขายสินค้าสร้างรายได้

ทั้งการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ไลฟ์สดในอินสตาแกรม ขายผ่านไลน์ OA หรือแม้แต่การลงขายผ่านทวิตเตอร์

แล้วทิศทางตลาดโซเชียลตอมเมิร์ซ เป็นอย่างไร และพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างไรมาหาคำตอบ

ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ Country Manager, SHOPLINE Thailand ผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจรเปิดเผยว่า

สถานการณ์โควิด-19 เข้ามาเป็นตัวเร่งสำคัญที่กระตุ้นผู้บริโภคคนไทยก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ และทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซมีการขยายตัวสูงในช่วงที่ผ่านมา

ขณะที่ครึ่งปีหลังของปีนี้มองว่า ทิศทางของตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคยังคงหันมาช้อปออนไลน์มากขึ้น

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเองมองการขายสินค้าช่องทาง ‘ออนไลน์’ เป็นช่องทางหลัก และจากการขายสินค้าแบบออฟไลน์ ก็เปลี่ยนมาขายสินค้าช่องทางออนไลน์มากขึ้น

โดยทั้งปีคาดว่าภาพรวมตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยปี 2564 จะขยายตัว 15-20%

และจะขยายตัวในระดับนี้ไปอีกราวๆ 3 ปี

 

 

สำหรับเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2021 และจะอยู่ไปอีกนานหลายปี

 

1. Omnichannel ช่องทางการขายที่จะมีทั้งออฟไลน์และออนไลน์

2. Availability of payment and delivery options มีช่องทางรับการจ่ายเงินที่ควรมีหลายออปชั่นให้เลือก

3. Creative wins จากเดิมที่ผู้บริโภคจะซื้อจากราคาแต่ในปัจจุบันเรื่องราคาไม่สำคัญสุด ผู้ประกอบการต้องมีความคิดสร้างสรรค์

4. Seamless customer experience ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เข้ามาค้นหาสินค้าจนถึงการเลือกซื้อสินค้าและได้รับสินค้า

5. Direct to consumer (D2C) แบรนด์ต้องการอยากได้ข้อมูลโดยตรงกับลูกค้าสามารถไปต่อยอดได้ และ Social commerce ที่มีหลายด้าน

แต่สิ่งที่มาแรงคือ Live commerce

 

ผลสำรวจการใช้ โซเชียล คอมเมิร์ซ ของคนไทยจะสนใจพูดคุยและ Live ในสัดส่วน 56%

และมีความสนุกและพอใจในการซื้อของผ่าน Social commerce สัดส่วน 62%

มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,000-3,000 บาท และใช้เวลาผ่าน Social commerce ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน

ช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการทำ Live selling คือ 19.00 น.

ชนนันท์ ระบุอีกว่า แนวโน้มการทำ Live commerce ในไทยเติบโตสูงมาก พฤติกรรมการซื้อสินค้าของ Live Commerce หมวดหมู่ยอดนิยมจะเป็น ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ มีสัดส่วน 37% เครื่องแต่งกาย 28% และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 24%

ทำให้มูลค่ารวมของยอดขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 300% เมื่อเทียบกับยอดขายไตรมาสแรก

และยังเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 160%

ส่วนจำนวนคำสั่งซื้อก็เติบโตเพิ่มขึ้น 210% จำนวนการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้น 300%

รวมทั้งจำนวนความคิดเห็นเพิ่มขึ้น 283%

โดยในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะมีออเดอร์สูงสุดในวันจันทร์ และออร์เดอร์สูงสุดในช่วง 20.00 น.

ส่วนภาพรวมยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ของภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 160%

จำนวนคำสั่งซื้อเติบโต 180% จำนวนการถ่ายทอดสดเติบโต 70%

และจำนวนความคิดเห็นเติบโตเพิ่มขึ้น 125% โดยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะมีออเดอร์สูงสุดในวันพุธ และมีการสั่งซื้อสูงสุดช่วง เวลา 22.00 น.

สำหรับทิศทางของ SHOPLINE ในครึ่งปีหลังนี้ ชาญฤทธิ์ อนันตประยูร Marketing Manager ระบุว่า

ช่วงครึ่งปีหลัง SHOPLINE มีแผนเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ได้แก่ LIVE bidding เป็นฟีเจอร์การประมูลแบบ LIVE

และ Golden Minutes นาทีทอง สำหรับร้านค้าที่จะจัดกิจกรรมเล่นเกมกับลูกค้า

และตั้งเป้าเป็นผู้นำผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจรในปีนี้

 

 

 5 สินค้าที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคและมีการเลือกซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซสูงสุด

อันดับแรกเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม มีสัดส่วน 28%

อันดับสองผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล มีสัดส่วน 16%

อันดับสามกลุ่มโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน มีสัดส่วน 8%

อันดับสี่ของใช้ในบ้าน มีสัดส่วน 6% อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มสินค้าเพื่อความสวยงาม มีสัดส่วน 5%

 

ขณะที่พฤติกรรมการซื้อสินค้าของ Live Commerce หมวดหมู่ยอดนิยมจะเป็น ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ มีสัดส่วน 37% เครื่องแต่งกาย 28% และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 24%

I

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน