Digital 1. ยุคของอินเทอร์เน็ต

คำจำกัดความของ Digital 1.0 คืออินเทอร์เน็ต เป็นยุคที่เกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เว็บไซต์ และอีเมล์ Digital 1.0 เป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งยิ่งใหญ่จากโลกออฟไลน์มายังออนไลน์ เปลี่ยนจากการส่งจดหมายติดแสตมป์ เป็นเป็นอีเมล์ ที่สะดวกรวดเร็วขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เกิดผลกระทบใหญ่ที่ทำให้บางสิ่งบางอย่างในโลกออฟไลน์ที่เคยใช้งานอยู่เดิมได้หายไปและเกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง

สิ่งที่เกิดขึ้นทางธุรกิจในในยุค Digital 1.0 คือ องค์กรเริ่มมองเห็นโอกาสทางดิจิทัล ในยุคแรกของเว็บไซต์จึงเป็นยุคของการใช้เว็บไซต์แทนโบชัวร์ที่มีความมูลครบถ้วน, ใช้ติดต่องานเชิงพาณิชย์ สร้างความน่าเชื่อถือ เปิดสำนักงานเสมือนที่สามารถทำงานได้ 24X7 ไม่มีวันหยุด

Digital 2.0 ยุคแห่งโซเชียลมีเดีย

จากจุดเริ่มต้นของโซเชียลมีเดียคือการร่วมเพื่อนในสังคมออฟไลน์มาสู่ออนไลน์ และขยายพฤติกรรมการใช้งานสู่ยุคคอนซูเมอร์ใช้โชเยลเน็ตเวิร์คเป็นสื่อหลักในการสื่อสาร จากการที่โซเชียลมีเดียเข้ามาอยู่ในมือถือ

ในยุคนี้เป็นยุคของนักธุรกิจมองเป็นเครื่องมือในการวัดผลที่รวดเร็ว และเห็นทิศทางอำนาจต่อรองย้ายมาที่ผู้บริโภค จากอิทธิพลของโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนให้ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ได้เอง

ในส่วนของแบรนด์โซเชียลมีเดียได้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์รู้จัก สร้าง Relationship กับลูกค้าได้แน่นแฟ้นขึ้น รวมถึงการเป็นเครื่องที่ช่วยในการทำ Marketing Contact Service และมาซึ่งการขายสินค้าในที่สุด

Digital 3.0 ยุคของบิ๊กดาต้า อนาไลท์ติกส์ /คลาวด์คอมพิวติ้ง /แอพพลิเคชั่น

โซเชียลมีเดียประสบความสำเร็จจากแพลตฟอร์มที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก และการเติบโตของโซเชียลมีเดียทำให้เกิดการขยายของข้อมูลมหาศาล ในแต่ละวันทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Facebook Google Apple หรือแม้แต่ธุรกิจอย่าง ธนาคาร ประกันภัย รีเทลที่มีข้อมูลวิ่งเข้าออกเป็นล้านล้าน record ต่อวัน เมื่อข้อมูลมากแต่นำไปใช้งานต่อไม่ได้ก็ไม่เกิดประโยชน์

ในยุค Digital 3.0 เป็นยุคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ ทุกองค์กรต่างเห็นความสำคัญของการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดบนพื้นฐานของความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บเพื่อนำไปขยายผลในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบ ดาต้า อนาไลท์ติกส์ แต่การนำ ดาต้า อนาไลท์ติกส์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถใช้งานได้อย่างเรียลไทม์โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่ จำเป็นต้องมีคลาวด์คอมพิวติ้งมาช่วยอำนวยความสะดวก สามารถเชื่อมโยงการทำงานต่างแพลตฟอร์มมาใช้งานร่วมกันแบบเรียลไทม์ เกิดบริการ Online Service, Omni Channel, บริการต่างๆ บนมือถือและอื่นๆ

นอกจากนี้ในยุค Digital 3.0 ยังมาพร้อมกับการใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคที่กลายมาเป็นอุปกรณ์ในการค้นหาข้อมูลการสื่อสารและการสั่งซื้อสินค้า จนแบรนด์ต้องปรับตัวสู่การเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ผ่านบริการใหม่ๆ ที่ให้บริการอยู่บนคลาวด์คอมพิวติ้ง

ยกตัวอย่างเฟซบุ๊กได้เปิดตัว BOT บริการที่เฟซบุ๊กรวมมือกับร้านค้า โดยเฟซบุ๊กจะจับความต้องการของผู้ใช้ผ่านสเตตัส /คอมเมนต์ที่ผู้ใช้โพสต์ และประมวลผลผ่าน ดาต้า อนาไลท์ติกส์ และเมื่อสิ่งที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ลงในสเตตัสตรงกับสินค้าที่ร้านค้ามีอยู่ เช่น ผู้ใช้โพสต์อวยพรวันเกิดคนสำคัญ หรือข้อความที่บ่งบอกว่าอยากซื้อดอกไม้ส่งให้คนสำคัญ ร้านดอกไม้ก็จะขึ้นมาโชว์ที่หน้าฟีดของผู้โพสต์ทันทีและทำการซื้อขาย ชำระเงิน กันผ่านหน้าเฟซบุ๊กได้โดยตรง และเฟซบุ๊กก็ยังสามารถเก็บข้อมูลความชอบเกี่ยวกับดอกไม้จากผู้ใช้เฉพาะบุคคลและนำเข้ามูลนี้ไปต่อยอดกับพาร์ทเนอร์อื่นๆได้อีกด้วย

Digital 4.0 ยุค Machine-2-Machine

ความฉลาดของเทคโนโลยีจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ คุยกันเองได้โดยอัตโนมัติโดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก เช่นรถยนต์คุยกับบ้านแจ้งเตือนบ้านให้เปิดไฟ เปิดแอร์ก่อนที่รถจะขับถึงบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรต้องปรับตัวตามเทรนด์เหล่านี้ให้ทันพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจ บนการแข่งขันที่รวดเร็วและรอบด้านโดยเฉพาะสินค้าอิเลคทรอนิกส์ ที่อยู่อาศัย การเงินธนาคาร และยานยนต์ เป็นต้น

ที่มา : Mirum, กรกฎาคม 2559



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online