วิกฤตที่เกิดขึ้นกับเมนูสำคัญของเบอร์ใหญ่ในวงการฟาสต์ฟู้ดกลายเป็นโอกาสให้เบอร์รอง ๆ ในญี่ปุ่น
ตั้งแต่ 14 มกราคมที่ผ่านมา Freshness Burger เครือร้านฟาสต์ฟู้ดในญี่ปุ่น เพิ่มขนาดเฟรนช์ฟรายส์จากปกติขึ้นมาอีก 25% เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้ที่ชื่นชอบเมนูดังกล่าว และบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนมันฝรั่งแช่แข็งเหมือน McDonald’s แต่อย่างใด
Freshness Burger ยังระบุว่าด้วยว่ามันฝรั่งที่นำมาทำเฟรนช์ฟรายส์มาจากเกาะฮอกไกโด แหล่งเกษตรกรรมสำคัญของประเทศ และคอเฟรนช์ฟรายส์จะจุใจกับเมนูได้ต่อไปถึง 27 กุมภาพันธ์นี้
ด้านเครือร้านสะดวกซื้อ Ministop Co เผยว่าตั้งแต่ 14 มกราคมที่ผ่านได้เริ่มวางจำหน่ายเฟรนช์ฟรายส์ขนาดใหญ่กว่าปกติ 3 เท่า หลังช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมายอดขายเฟรนช์ฟรายส์เพิ่มขึ้นมาถึง 50%
ความเคลื่อนไหวแบบใจตรงกันของ Freshness Burger และ Ministop Co ไม่ใช่เรื่องบังเอิญและมีจุดประสงค์เพื่อแทรกตัวและชิงส่วนแบ่งตลาดเฟรนช์ฟรายส์ในญี่ปุ่นขณะที่ McDonald’s เผชิญวิกฤต Supply Chain เฟรน์ฟรายส์ หลังน้ำท่วมท่าเรือสินค้าแคนาดา จนต้องลดปริมาณนำเข้ามันฝรั่งแช่แข็งเข้ามาในญี่ปุ่น
สถานการณ์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นขณะโลกยังไม่พ้นวิกฤต Supply Chain จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด จึงส่งผลให้ McDonald’s ไม่มีทางเลือก McDonald’s ต้อง ลดขนาดมันฝรั่งของเฟรนซ์ฟรายส์ลงมาตั้งแต่ปลายปี 2021 และต้องประคองสถานการณ์ด้วยวิธีนี้ไปจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขณะเดียวกันก็ยังจำเป็นต้องตัดแฮชบราวน์ที่ทำจากมันฝรั่งเช่นกันอีกด้วย
เรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นในญี่ปุ่น โดยชาวเน็ตญี่ปุ่นเรียกคนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนมันฝรั่งจนต้องไปลองชิมจากแบรนด์อื่น ๆ ว่า Poteto Nanmin ที่แปลเป็นไทยแบบตรง ๆ ได้ว่าผู้ลี้ภัยมันฝรั่ง
และยังส่งผลสืบเนื่องให้การแข่งขันในตลาดเฟรนช์ฟรายส์ญี่ปุ่นดุเดือดขึ้นมา โดยแบรนด์เล็กที่พยายามพลิกวิกฤตเป็นโอกาสคือ Freshness Burger เครือร้านเบอร์เกอร์ที่มีสาขาอยู่เพียง 159 แห่ง และ Ministop Co ที่มีสาขาอยู่ราว 5,100 แห่ง
เทียบไม่ติดกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ในวงการฟาสต์ฟู้ดอย่าง McDonald’s และยักษ์ในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีสาขาในญี่ปุ่นมากถึงราว 2,900 แห่ง และราว 21,000 แห่งตามลำดับ/japantoday, wikipedia, soranews24
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



