Gen Z ตามติดชีวิตคนรุ่นใหม่ ทำอะไรบนแพลตฟอร์ม Youtube

Gen Z คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่โตมาพร้อมกับเทคโนโลยี และเป็นสัดส่วนผู้ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด การทำกิจกรรมการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์จึงไม่สามารถมองข้ามกลุ่ม Gen นี้ไปได้เลย

กลุ่ม Gen Z คือคนที่มีอายุระหว่าง 12-26 ปี  มีอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนสูงมาก มีความเข้าใจในตนเองสูง ทำให้พฤติกรรมเป็นไปในทางที่ยึดถือตนเองเป็นหลัก และต้องการให้แบรนด์ทำการตลาดแบบปัจเจกบุคคล มากกว่าการ Stereotype เหมาเป็นกลุ่ม ๆ

ตัวอย่างพฤติกรรม 65% ของGen Zให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของพวกเขาอย่างแท้จริง โดยไม่สนใจว่าเป็นคอนเทนต์ที่อยู่ในความนิยมของคนส่วนใหญ่หรือไม่ หากชอบ ถูกใจ ก็จะรับชม ขณะที่ 50% ชอบดูคอนเทนต์ที่คนรู้จักรอบ ๆ ตัวไม่เคยคิดจะสนใจดู

จะเห็นได้ว่าหากแบรนด์อยากจะสื่อสารกับคนเจนนี้ จะต้องหาวิธีคอนเนกกับกลุ่มพวกเขาให้ตรงกับความชอบ ที่ไม่ใช่ภาพเหมารวม

 

YouTube จึงได้แยก Creativity ออกเป็น 3 ประเภท ที่กำลังขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงบนแพลตฟอร์มยูทูบอยู่ ณ ขณะนี้

1. Community Creativity

คือคอมมูนิตี้สำหรับกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกัน มีความชอบความสนใจเหมือนกัน ในปัจจุบันพลังที่ขับเคลื่อนคอมมูนิตี้จะเรียกว่า “แฟนด้อม” สิ่งนี้คือศูนย์กลางของคอนเทนต์ เช่น แฟนด้อมบลิ๊งก์ หรือกลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับของ Blackpink จะสร้างคอนเทนต์เฉพาะที่พวกเขาอยากชมขึ้นมาเอง และนำไปเผยแพร่ให้กลุ่มแฟนคลับคนที่ชอบแบล็คพิงค์รับชมด้วยกัน

– 61% ของGen Zยอมรับว่าตนเป็นเป็นแฟนคลับตัวยงของใครบางคนหรืออะไรบางสิ่ง

– 5 ปีที่ผ่านมา Professional Fan มีการเติบโตรวดเร็วมาก

– 92% ของผู้ชมชาวไทยติดตามรอชมตอนต่อไปของคอนเทนต์ที่ตนชอบ

– ที่สำคัญไม่เพียงแต่วิดีโอสั้นที่มียอดรับชมเยอะเท่านั้น แต่คลิปวิดีโอยาวที่ลงลึกในเนื้อหา ก็มีการเติบโตในเชิงของยอดวิวที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่เป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคอนเทนต์บันเทิง หรือไลฟ์สไตล์ด้วย

2. Responsive Creativity

Gen Zมีการตอบสนองต่อคอนเทนต์แบบเฉพาะตัว พบว่า 83% ของGen Zใช้ยูทูบเพื่อดูคอนเทนต์ที่ช่วยให้เขาผ่อนคลาย และมากกว่า 69% จะกลับไปวนดูคอนเทนต์เหล่านั้นอยู่เรื่อย ๆ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ จึงทำให้วิดีโอคอนเทนต์เก่า ๆ กลับมามียอดวิวทั้งที่อัปโหลดไปนานแล้ว

ASMR ก็จัดอยู่ใน Comforting Content ที่มียอดรับชมในหมวดนี้รวมกันทั่วโลกสูงถึง 65,000 ล้านวิว  ซึ่งคอนเทนต์ในกลุ่มนี้ ผู้ที่สร้างสรรค์จะนิยามตนเองว่าเป็น “กลุ่มบำบัด” มุ่งเน้นสร้างเนื้อหาที่ทำให้คนรู้สึกผ่อนคลาย เช่น คอนเทนต์เสียงปั่นหูเพื่อกล่อมคนนอนไม่หลับ

ขณะที่ 64% ของGen Zเปิดยูทูบแก้เหงาระหว่างที่ทำอะไรไปด้วย

และอีก 50% ดูคอนเทนต์สยองขวัญเพื่อลดความวิตกกังวล เห็นได้จากการที่คอนเทนต์ของ The Ghost Radio มักจะติดทอปคอนเทนต์ยอดวิวสูงของยูทูบประเทศไทยหลายปีติดต่อกัน

3. Multi-Format Creativity ฟอร์แมตหลายรูปแบบ

เนื่องจากปัจจุบันเครื่องมือสื่อสารอำนวยความสะดวกในการถ่ายทำที่ง่ายขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีคอนเทนต์ที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ทั้ง Long Form Format และ Short Video

ยูทูบ เผยว่า จากการสำรวจ Gen Z จะค้นพบอะไรใหม่ ๆ ผ่าน Short Video จึงทำให้หลาย Channel หันมาใช้ช่องทางนี้ในการโปรโมตคอนเทนต์ของตนเอง เรียกกลุ่มผู้ชม เห็นได้จากช่องข่าวหลายแห่ง ที่เริ่มหันมาใช้ Short Video เป็นหนึ่งใน Content Strategy ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดสดและรีรันรายการออนไลน์

ต่อไปนี้ผู้บริโภคจะพบเห็นเทรนด์บนยูทูบที่เกิดขึ้นจากหลาย Format  ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Long Form Format อีกต่อไป

การขยับตัวเข้ามาอยู่ในพื้นที่ Multi-Format จึงเป็นสิ่งที่แบรนด์หรือครีเอเตอร์ต้องเก็บไปทบทวน

ซึ่งตั้งแต่ปี 2005 ที่เปิดตัววิดีโอแพลตฟอร์มขึ้นมา จนกระทั่งวันนี้ได้พัฒนามาไกลมาก แต่การลงทุนหรือลงแรงสร้างวิดีโอขึ้นมายังคงเป็นปัญหาสำหรับครีเอเตอร์จนถึงทุกวันนี้

ยูทูบได้เล็งเห็นและแก้ปัญหาด้วยการพยายามสร้างให้ทุก Format สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อพัฒนาสเกลของ Creator Economy ให้ใหญ่ขึ้น

ล่าสุด ยูทูบได้ประกาศว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป Short Video จะสามารถสร้างรายได้ได้ ขณะเดียวกันจะนำโมเดลธุรกิจสำหรับครีเอเตอร์ที่ไม่เหมือนใครมาใช้กับโฆษณาบน Short Video โดยที่ยูทูบจะจ่ายรายได้ให้แก่ครีเอเตอร์ตามยอดวิวที่สร้างอยู่บนแพลตฟอร์มอีกด้วย

คน Gen Z ทำอะไรบนยูทูบ

92% ของผู้ชมชาวไทยติดตามรอชมตอนต่อไปของคอนเทนต์ที่ตนชอบ

83% ใช้ยูทูบเพื่อดูคอนเทนต์ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย

65% ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของตัวเองจริง ๆ มากกว่าคอนเทนต์ที่คนส่วนใหญ่พูดถึง

64% เปิดยูทูบแก้เหงาระหว่างที่ทำอะไรไปด้วย

61% ยอมรับว่าตนเป็นเป็นแฟนตัวยงของใครบางคน หรืออะไรบางสิ่ง

59% หาก Short Video น่าสนใจ จึงจะตามไปดูเวอร์ชั่นยาว

50% ค้นพบอะไรใหม่ ๆ ผ่าน Short Video

50% ดูคอนเทนต์สยองขวัญเพื่อลดความเครียด

และอีก 50% ชอบดูคอนเทนต์ที่คนรู้จักรอบ ๆ ตัวไม่เคยคิดจะสนใจดู

อ้างอิง: Youtube Broadcast

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online