ในช่วงหลายปีที่ผ่านเราจะเห็นข่าวคราวว่าประเทศจีนเปิดตัวสินค้าใหม่ ๆ สุดไฮเทค หรือไม่ก็ปล่อยแอปพลิเคชันที่ดึงดูดผู้ใช้นับล้านได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ยังไม่นับว่าจีนทำตัวเป็นเจ้าบ้านที่คอยต้อนรับบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาใช้แรงงานชาวจีนในการผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจีนขอแลกเปลี่ยนกับการที่ต่างชาติถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เท่านั้นเอง จนทุกวันนี้นับตั้งแต่จีนปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี 1988 มาจนถึงปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นผู้ท้าชิงเบอร์ 1 ในการเป็นผู้ครองความยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลกกับสหรัฐฯ อย่างเต็มภาคภูมิ
แต่ในช่วงหลังมานี้ดูเหมือนว่าความเร็วในการวิ่งแซงอเมริกาจะตกลงไปมาก ทำให้เกิดคำถามว่าจีนยัง “ไหวไหม” กับเวทีการแข่งขันนี้ อะไรทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนชะลอตัวลงแล้วจีนมีสิทธิ์จะกลับมาได้หรือไม่ในปี 2023 นี้
เรามาว่ากันด้วยเรื่องของ “ชิปเซมิคอนดักเตอร์” กันก่อน สิ่งนี้เปรียบเสมือนสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ซึ่งถึงขนาดของมันจะเล็ก แต่มันคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนโลกเทคโนโลยีของเรา ตั้งแต่รถยนต์ โทรศัพท์มือถือไปจนถึงเครื่องบินและระบบขีปนาวุธขั้นสูง
พวกมันซับซ้อนมากจนไม่มีประเทศใดสามารถผลิตชิปด้วยตัวคนเดียวได้ ในปี 2022 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนเข้าใจว่าเรื่องของเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่อง Zero-Sum Game ที่นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในที่เดียวจะสามารถผลักดันโลกทั้งใบให้ก้าวไปข้างหน้าได้
ดังนั้นการโจมตีไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ก็อาจทำให้โลกหยุดชะงักได้แต่ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เมื่ออเมริกาและจีนติดอยู่ในสงครามทางเทคโนโลยี และในสงครามครั้งนี้ “ชิป” คือ อาวุธหลักของทั้งสองฝ่าย
ความทะเยอทะยานของจีน
จีนใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อไล่ตามผู้ผลิตชิปชั้นนำของโลก (อย่างไต้หวัน) ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้การปกครองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แต่การพัฒนาในเรื่องของชิปหยุดชะงักลงกะทันหัน โดย Tsinghua Unigroup ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตของจีนล้มละลาย ผู้นำของบริษัทที่กุมชะตาของอุตสาหกรรมนี้ถูกจับในการสอบสวนคดีการทุจริตและสหรัฐฯ ตั้งใจปิดกั้นไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทำให้การผลิตชิปก้าวหน้าไปได้
“โครงการพัฒนาชิปของจีนเป็นโครงการที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว” Paul Triolo ผู้เชี่ยวชาญด้านเซมิคอนดักเตอร์และรองประธานอาวุโสฝ่ายจีนและนโยบายเทคโนโลยีของบริษัทที่ปรึกษา Albright Stonebridge Group กล่าวว่า “มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเลย ตอนนี้จีนจมอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ในวงการนี้ต้องการคนที่เหมาะสมและลูกค้าที่ไว้วางใจทำธุรกิจคุณ และทั้งหมดนี้ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน”
จีนเข้าใจดีว่าการควบคุมการผลิตชิปขั้นสูงจะไม่เพียงแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มอิทธิพลทางการเมืองของจีนด้วย สำหรับสี จิ้นผิง แล้ว เซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีที่รัฐบาลเปิดทางให้เอกชนทำ คือ ทางเลือกในสมรภูมิหลักในการแข่งขันระดับโลกเพื่อแย่งชิงอำนาจส่วนสหรัฐฯ นั้นรู้ดีว่าหากปล่อยให้จีนมีอำนาจควบคุมการผลิตชิปขั้นสูง จีนจะมีเครื่องมือที่สำคัญในการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกได้เลย
ชิป
เซมิคอนดักเตอร์ไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต เช่น คอมพิวเตอร์ควอนตัมและปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่สิ่งที่เราควรรู้ก็คือประเทศเดียวไม่สามารถผลิตชิปได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ๆ ที่มีทรัพยากรสำคัญทั่วทุกมุมโลก ยกตัวอย่างเช่น สารเคมีจากเยอรมนี เครื่องจักรจากญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ บรรจุภัณฑ์และการทดสอบในประเทศจีนและมาเลเซีย จะเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานของการผลิตชิปที่ตัวนั้นเป็นเรื่องของทั้งโลกซึ่งความไว้วางใจ และตลาดทุนเสรีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ
แต่มีบางส่วนของห่วงโซ่นี้ที่สำคัญกว่า ละเอียดอ่อนกว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ชิปที่ล้ำหน้าที่สุดคือชิปที่เล็กที่สุดและมีกำลังประมวลผลสูงที่สุดซึ่งต้องใช้ความรู้เฉพาะทางในการออกแบบและผลิต เครื่องจักรและโรงงานที่ผลิตชิปเหล่านี้ต้องใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในการพัฒนา
ชิปล้ำสมัยจำนวนมากเหล่านี้ออกแบบโดยบริษัทของสหรัฐฯ และผลิตในไต้หวันและเกาหลีใต้ รายงานปี 2021 จาก Boston Consulting Group (BCG) ระบุว่าไต้หวันผลิตและส่งออกชิปคิดเป็น 92% ของชิปทั้งหมดที่ใช้กันอยู่บนโลกนี้ ด้วยขนาดเพียง 10 นาโนเมตรเท่านั้น ในขณะที่เกาหลีใต้ผลิตอีก 8% บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งเปรียบเสมือนเพชรยอดมงกุฎของไต้หวัน เตรียมผลิตชิปขนาด 3 นาโนเมตรภายในสิ้นปีนี้ ในขณะที่ Samsung ของเกาหลีใต้เพิ่งเริ่มผลิตชิป 3 นาโนเมตร และ Intel ของสหรัฐฯ ก็กำลังตามหลังอยู่ไม่ไกล
บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของจีนอย่าง Semiconductor Manufacturing International Corporation บอกว่าพวกเขาสามารถผลิตชิปที่เล็กขนาด 7 นาโนเมตรได้ แม้ว่านักวิเคราะห์จะยังไม่เคยเห็นก็ตาม ส่วน Samsung และ TSMC ก็สามารถผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตรได้ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ถ้าหากจีนไม่ได้รับความไว้วางใจและความร่วมมือจากประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในเอเชียตะวันออก ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ และถึงแม้ว่าจีนจะไม่อยากต้องไปจับมือกับประเทศอื่นในการร่วมพัฒนาชิปแต่จีนเองก็มาไกลเดิมพันสูงเกินกว่าที่ปักกิ่งจะยอมแพ้
ทำไมจีนต้องอยากจะเป็นผู้นำในการผลิตชิป
เศรษฐกิจของจีนนั้นใหญ่แต่ในช่วงหลังพวกเขาไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย GDP ต่อหัวของจีนในปี 2021 อยู่สูงกว่าประเทศไทยเพียงเล็กน้อย จีนใช้เวลากว่าทศวรรษในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยหนี้สิน แต่กลยุทธ์ดังกล่าวกลับมีประสิทธิผลน้อยลง ทำให้จีนมีบริษัทผีดิบและเมืองร้างจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดกับดักรายได้ปานกลาง จีนจึงจำเป็นต้องเริ่มพัฒนาธุรกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้น หรือพูดอีกอย่างก็คือจีนต้องการพัฒนาสายธุรกิจที่มีกำไรมากขึ้น
ย้อนกลับไปในสมัยของเหมาเจ๋อตง สี จิ้นผิง ได้วางเดิมพันอนาคตของประเทศด้วยแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำโดยรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผน “Made in China 2025” ประธานาธิบดีของจีนได้เน้นย้ำว่าทั้งประเทศจำเป็นต้องช่วยกันยึดหลัก “เทคโนโลยีเป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจ” และการหาวิธีการออกแบบและผลิตชิปเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของแผนนี้
สี จิ้นผิง สนับสนุนหลักการนี้ด้วยการใช้ “เงิน” นับตั้งแต่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 ประเทศจีนได้มีการใช้เงินลงทุนพัฒนาชิปไปแล้วกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ แต่ถึงกระนั้นจนแล้วจนรอดก็ยังไม่สำเร็จยืนหนึ่งได้เสียที
การหลั่งไหลของเงินทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าเบื่อ เงินถูกส่งไปให้แบรนด์แฟชั่นหรือบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่กลายเป็นผู้ผลิตชิปในชั่วข้ามคืนเพื่อหาเงิน รัฐบาลให้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์แก่ Zhao Weiguo ซีอีโอของ Tsinghua Unigroup ซึ่งเป็นที่รู้จักในสื่อจีนว่าเป็น “คนบ้าเซมิคอนดักเตอร์” แต่ผลลัพธ์ของเรื่องนี้ก็คือทางการจีนสงสัยว่า Zhao กำลังใช้เงินที่รัฐให้ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์และตอนนี้เขากำลังถูกสอบสวน
แผนผลิตในจีนปี 2025 กำหนดเป้าหมายสำหรับชิปที่ผลิตในประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ 70% ของจีนภายใน 3 ปี อย่างไรก็ตาม สื่อของรัฐได้นำเสนอข่าวว่า ปี 2019 จีนสามารถจัดหาสินค้าได้เพียง 30% ของความต้องการของผู้ใช้ภายในประเทศ บริษัทวิจัย IC Insights ระบุว่าสัดส่วนในการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์ของจีนในปี 2020 นั้นอยู่ที่เพียงแค่ 16% เท่านั้น
ปัจจุบันจีนกำลังไล่ตามประเทศต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ด้วยอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดที่ต่ำกว่า เช่น การออกแบบชิป แต่ในด้านการผลิตและอุปกรณ์การผลิต จีนก็ล้าหลังกว่าชาวบ้าน
“ชิป” ยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้กองทัพจีนมีความทันสมัยมากชึ้น อาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหารของจีนไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องใช้ชิปที่ล้ำสมัย (อุปกรณ์ของสหรัฐฯ บางตัวก็ไม่ทำเช่นกัน) แต่เป็นที่ชัดเจนว่าจีนเข้าใจดีว่า ถ้าสามารถผลิตชิปล้ำสมัย ก็อาจจะสร้างความแตกต่างอย่างมากได้ หากมีความขัดแย้งระหว่างประเทศเกิดขึ้นในอนาคต
ในรายงานปี 2021 ที่เสนอต่อสภาคองเกรส คณะกรรมาธิการสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วยนักเทคโนโลยีและนักวิจัยได้ชี้แจงต่อฝ่ายนิติบัญญัติของอเมริกาอย่างชัดเจนว่า แม้จีนอาจอยู่เบื้องหลังการพัฒนาชิปของตนเอง แต่การผลักดันเซมิคอนดักเตอร์ของจีนก็จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
การตอบโต้ของสหรัฐฯ
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว สี จิ้นผิง กล่าวในการปราศรัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่า เนื่องจากโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในศตวรรษจีนจึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี การทหาร และเศรษฐกิจ เนื้อหาของสุนทรพจน์นี้มีความชัดเจนอย่างยิ่งถึงแนวทางที่จีนกำลังจะเดินไป หลังจากรอเวลามาหลายทศวรรษ จีนก็เริ่มมีฐานที่เท่าเทียมกันในบรรดามหาอำนาจระดับโลก และถึงเวลาแล้วที่จีนจะต้องแสดงจุดยืนของตนเอง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มตระหนักถึงจากการรุกรานของจีน และเริ่มมองว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีของจีนไม่เพียงแต่เป็นความท้าทายทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการคุกคามความมั่นคงของชาติด้วย
ในช่วงระยะเวลาการบริหารงานของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ หน่วยงานต่าง ๆ ทั่วทั้งรัฐบาลกลางทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนสามารถเข้าถึงส่วนหลักของธุรกิจของพวกเขา การค้าทำให้บริษัทจีนไม่สามารถซื้อชิ้นส่วนที่ผลิตในอเมริกาได้ กระทรวงการคลังปิดกั้นไม่ให้บริษัทจีนเข้าครอบครองบริษัทอเมริกาที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์เลย นอกจากนี้สหรัฐฯ เองยังใช้การกดดันทางการทูตเพื่อให้ประเทศพันธมิตรจำกัดการขายสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตไปยังจีน
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของแนวทางนี้เกิดขึ้นในปี 2019 เมื่อสหรัฐฯ ตัดขาดความสัมพันธ์ทางการค้ากับ Huawei ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวหาว่าบริษัททำธุรกิจกับอิหร่านและเกาหลีเหนือโดยฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการลงโทษ รัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ให้ Huawei ใช้ส่วนประกอบชิปขั้นสูงที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ
การสื่อสารของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับประเด็นของ Huawei รวมถึงความสามารถในการปิดกั้นจีนจากเกมเซมิคอนดักเตอร์ คงเป็นไปไม่ได้หากไม่มีตัวละครอย่าง “ไต้หวัน” แม้ว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมรับไต้หวันอย่างเป็นทางการ ซึ่งไต้หวันเป็นเกาะนอกชายฝั่งของจีนที่จีนอ้างว่าเป็นของจีนมาตั้งแต่ปี 1970 รัฐบาลอเมริกันวิจารณ์นโยบาย “จีนเดียว” รวมถึงประณามการโจมตีใด ๆ ของจีนต่อไต้หวัน
ไต้หวันสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิปขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง โรงงานเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดของไต้หวันทำหน้าที่เป็น “เกราะป้องกันซิลิกอน” เพื่อป้องกันจีนจากการรุกราน จีนเป็นผู้นำเข้าชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และโลกจะต้องทนทุกข์หากโรงงานที่ซับซ้อนซึ่งผลิตชิปหยุดทำงานไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าถ้าจีนคิดจะยึดไต้หวันคืน และทำให้ไต้หวันกลายเป็นศูนย์กลางของการเมืองจีนมากขึ้น เมื่อนั้นการทหารของประเทศก็จะแข็งแกร่งขึ้น เกราะป้องกันที่สหรัฐฯ สร้างขึ้นก็อาจจะถูกทดสอบก็เป็นไปได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สหรัฐฯ ได้เสนอให้กลุ่มบริษัทที่ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯ ร่วมงานกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีชื่อเรียกว่า “CHIP4” สถานีโทรทัศน์ทางการของจีนเรียกการรวมตัวกันในครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและผูกขาด
ในการสกัดดาวรุ่งของจีน สหรัฐฯ เองก็จำเป็นที่จะต้องยืมมือพันธมิตรในยุโรปเช่นกัน อย่างเช่นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สั่งห้ามบริษัท Advanced Semiconductor Materials Lithography ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติดัตช์ที่ผลิตเครื่องจักรที่กัดลายเขียนบนวงจรของชิปขั้นสูงผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการพิมพ์หิน ในการห้ามขายเครื่องจักรขั้นสูงให้กับผู้ผลิตชิปของจีน
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังนำหน้าจีนในเรื่องของนโยบายอุตสาหกรรม เรื่องมีอยู่ว่าในเดือนมิถุนายนปี 2022 สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายที่ชื่อว่า “CHIPS” ซึ่งออกแบบมาเพื่อระดมทุนจำนวนกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูการวิจัยในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์
แม้ว่าเงินจำนวนนี้จะช่วยให้สหรัฐฯ นำหน้าจีนในการแข่งขันด้านอาวุธชิป แต่สหรัฐฯ จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดเสรีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านความทะเยอทะยานของจีนอย่างแท้จริง การรักษาความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาจะเป็นเรื่องยากเป็นพิเศษ เนื่องจากวัสดุชิปหลัก ซัปพลายเออร์ และกำลังการผลิตชิปกระจุกตัวอยู่ในเอเชียตะวันออก
ความท้าทายสำหรับอเมริกาต่อจากนี้คือการรักษาโมเมนตัมเชิงรุกมากกว่าเชิงรับเกี่ยวกับนวัตกรรม แทนที่อเมริกาจะพยายามตอบโต้ทุกความเคลื่อนไหวของจีน อเมริกาจำเป็นต้องใช้นโยบายตั้งแต่การลงทุนด้านการผลิตไปจนถึงการควบคุมการส่งออก ซึ่งทำให้อเมริกาและพันธมิตรยังคงเป็นศูนย์กลางของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ การตอบโต้ต่อการเคลื่อนไหวของจีนมีแต่จะทำให้อเมริกาไปไม่ถึงไหน
ไม่มีที่ว่างสำหรับผู้แพ้
โลกกำลังถอยห่างจากจีนด้วยเหตุผลนอกเหนือจากเรื่องทางภูมิรัฐศาสตร์ กลยุทธ์ “COVID Zero” ของจีนได้สร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้กับระบบเศรษฐกิจของสี จิ้นผิง หนำซ้ำประธานาธิบดีของจีนยังกดดันให้บริษัทต่างชาติให้ทำธุรกิจตามที่เขาต้องการ
ปัจจุบันบริษัทอย่าง Honda และ Apple กำลังมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ และต้องการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น เวียดนาม หรืออินเดีย บริษัทในสหรัฐฯ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังนำการผลิตของตนกลับมายังอเมริกา ตัวอย่างเช่น Intel ที่กำลังสร้างโรงงานชิปในโอไฮโอและแอริโซนา
แต่อย่างไรก็ตาม โลกก็ไม่ควรประเมินจีนต่ำเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี ในทศวรรษ 1960 และ 1970 ในช่วงนั้นจีนเป็นประเทศที่ยากจน แต่นักวิทยาศาสตร์ของจีนยังสามารถพัฒนาระเบิดไฮโดรเจนและระเบิดนิวเคลียร์และปล่อยดาวเทียมได้เลย ในตอนนั้นคนจีนเชิดชูความพยายามเหล่านี้มาก
ซึ่งต่อมาเทคโนโลยีนั้นได้กลายเป็นแกนหลักของปรัชญาที่คนทั้งประเทศจีนรู้จักกันในชื่อ “ระเบิดสองลูก ดาวเทียมหนึ่งดวง” กลายมาเป็นความสำเร็จในการพัฒนาและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถของจีน และในตอนนี้ สี จิ้นผิง กำลังพยายามเติมความพยายามในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านชิปของโลกนี้ด้วยจิตวิญญาณเดียวกัน
จีนไม่มีทางเลือกอื่น การแพ้การแข่งขันในเวทีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์หมายความว่าจีนจะตกเป็นเบี้ยล่างของประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าในห่วงโซ่อุปทานชิป อย่าง อเมริกาและไต้หวัน และนั่นไม่ใช่สิ่งที่ สีจะทนได้
อ้างอิง
https://www.stlouisfed.org/on-the-economy/2016/june/three-phases-chinas-rise-industrial-power
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



