Facebook แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แชร์ผู้ใช้ 2.9 พันล้านคน หรือ 37% ของประชากรโลก TikTok รายล่าสุดผู้ใช้แตะ 1 พันล้านคน เอไอตัวแปรสำคัญ ดึงประสิทธิภาพบิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Facebook มีผู้ใช้แตะ 37% ประชากรโลก
TikTok รายล่าสุด พันล้านผู้ใช้ |
||
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย | สัญชาติบริษัทผู้สร้างและพัฒนา | Active User ล้าน/เดือน |
สหรัฐอเมริกา | 2,963 | |
YouTube | สหรัฐอเมริกา | 2,527 |
สหรัฐอเมริกา | 2,000 | |
สหรัฐอเมริกา | 2,000 | |
จีน | 1,392 | |
TikTok | จีน | 1,092 |
* ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีค่าเฉลี่ยประชากรที่มีบัญชีโซเชียลมีเดีย 63.7% สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 59.4% | ||
ที่มา: Global Web Index สำรวจโดย Active User 1 คน สามารถใช้งานมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม/เผยแพร่ เมษายน 2566 |
ดร. เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค จำกัด (Ocean Sky Network) กล่าวว่า อ้างอิงข้อมูลจาก Global Web Index บริษัทวิจัยและสำรวจข้อมูลด้านการตลาด อัปเดต ณ เดือนเมษายน 2566 พบว่า 60% ของประชากรโลก หรือประมาณ 4.8 พันล้านคน มีบัญชีใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เกิดผู้ใช้งานใหม่ 150 ล้านคน/ปี
โซเชียลมีเดีย เปรียบเสมือนสื่อกลางออนไลน์ ที่เชื่อมต่อให้ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสังคมเล็ก ๆ ไปจนถึงการที่ธุรกิจใช้เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร และทำการตลาดออนไลน์
ทำให้ข้อมูลจากฐานโซเชียลมีเดีย นับเป็นบิ๊กดาต้าที่บริษัทต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจำเป็นต้องมีเครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ แยกแยะ และบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้น
โดย เอไอ หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากหลังจากนี้ จากความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
คาดการณ์ CAGR ปี 2022-30 เทคโนโลยีเอไอ จะเติบโตอยู่ที่ 37.3% มีโอกาสเข้ามาทำงานแทนคนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และสร้างตำแหน่งงานเกิดใหม่อีกราว 97 ล้านตำแหน่ง ที่มีศักยภาพทำงานร่วมกับเอไอ
โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีสตาร์ทอัปสัญชาติไทย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2562 จึงถือโอกาสปล่อยกลุ่มโปรดักส์ภายใต้การพัฒนา อย่าง Mandala AI Ecosystem เครื่องมือช่วยรวบรวม กลั่นกรอง ตลอดจนวิเคราะห์ ประมวลผล และสร้างสรรค์ข้อมูลจาก Big Data บนโลกออนไลน์
ที่ได้รับการรับรองจาก Meta (Facebook, Instagram, WhatsApp), Google and YouTube, Twitter, Pantip และ Reddit ซึ่งระบบของบริษัทมีฐานข้อมูลมากกว่า 20 พันล้านเซต และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า 100 ล้าน เมนชันส์ (Mentions) ต่อวัน
ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จาก Social Media Data ได้แบบ Make Data Accessible for Everyone ซึ่ง Mandala AI Ecosystem จะมีระบบ (Engines) ที่เป็นหัวใจหลักสำคัญอยู่ 4 ระบบ ดังนี้
1. Seed Engine: ระบบรวบรวม และจัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูล Big Data ที่มีอยู่บน Social Media อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และอื่น ๆ
2. Paradigm Engine: ระบบ Machine Learning คือการเรียนรู้ชุดข้อมูล Data Processing, Modeling, Classification, และ Predictive Modeling
3. Mandala AI Engine: ระบบวิเคราะห์ กลั่นกรอง และประมวลผลข้อมูล Big Data
4.MandalaGPT: ระบบ AI Deep Learning หรือการเรียนรู้ข้อมูล Big Data เชิงลึกเพื่อให้ AI สามารถพัฒนาตัวเอง คัดเลือกข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง หรือสร้างสรรค์ข้อมูลได้เองจากชุดข้อมูลที่กำหนด
Mandala AI Ecosystem จะเน้นเจาะกลุ่มองค์กร, แบรนด์, เอเจนซี ตั้งเป้ารายได้ ปี 2566 เติบโต 200% YoY รับจัดสรรงบจากนักลงทุน 350 ล้านบาท เพื่อเตรียมขยายตลาดในกลุ่มของ Software as a Services Products ได้แก่ Mandala Cosmos แพลตฟอร์มที่ใช้ในการติดตามเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย และ Mandala Analytics แพลตฟอร์มที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเชิงลึก
ทั้งตลาดประเทศไทยและตลาดต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน แผนระยะยาว ปี 2564-69 ขยายบริการ Mandala AI Ecosystem รวม 15 ภาษาใน 173 ประเทศทั่วโลก และเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ โปรดักส์ของบริษัทยังครอบคลุมผู้ใช้ที่สามารถใช้งานแบบ Subscription เพื่อใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน, Content Creators, SMEs, รวมไปถึงองค์กรภาครัฐ อัตราค่าบริการ Starter Package เริ่มต้นประมาณ 521 บาท/เดือน และจะปล่อยให้บริการบางโปรดักส์ของ Mandala AI Ecosystem เวอร์ชันแอปพลิเคชันทางสมาร์ตโฟน ทั้ง iOS และ Android ภายใน 3-4 เดือนหลังจากนี้
–
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ