หลายคนคงจำเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี หนึ่งในผู้ทีได้รับผลกระทบและความเสียหายในครั้งนั้นก็คืออิชิตัน ทั้ง ๆ ที่เพิ่งสร้างโรงงานเสร็จภายใต้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายอุทกภัยในครั้งนั้นก็พัดพาโรงงานให้เกิดความเสียหาย ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ผลิตสินค้าเลยสักอัน แถมน้ำเปล่าที่จะทำแจกผู้ประสบอุทกภัยในช่วงนั้นก็ต้องถูกล้มเลิกไป
ด้วยเหตุนี้เอง ล่าสุดอิชิตัน ภายใต้การนำทีมของคุณตัน ภาสกรนที ก็เลยตัดสินใจออกแพ็กเกจชาวเขียวอิชิตันใหม่ ที่ดูภายนอกก็มีรูปร่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือโลโก้ FSC ที่ติดอยู่ข้างกล่อง
และสำหรับหลายคนที่ยังสงสัยว่าโลโก้ FSC คืออะไร? เรื่องนี้มีคำตอบ
ต้องเล่าย้อนให้ฟังถึงที่มาที่ไปกันก่อนว่า ทุก 1 วินาที พื้นที่ป่าที่มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอลกำลังถูกทำลายลงไปอย่างผิดกฏหมายและไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งสาเหตุก็ไม่ได้มาจากใครที่ไหน แต่เป็นฝีมือของมนุษย์อย่างเรา ๆ นี่แหละ
และจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 54 ที่เป็นเหมือนอีกหนึ่งสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ จุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้อิชิตันริเริ่มนโยบายแห่งความยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการร่วมมือกับ เต็ดตรา แพ้ค บริษัทที่ผลิตบรรจุภัณฑ์ส่งออกทั่วโลก และ องค์การจัดการด้านป่าไม้ (FSC) เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อโลก ด้วยการเปลี่ยนกล่องเครื่องดื่มในเครืออิชิตัน ไม่ว่าจะเป็น อิชิตัน ไบเล่ หรือ เย็นเย็น ที่ผู้บริโภคก็มีสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยลดโลกร้อนครั้งนี้ได้เช่นกัน
ผ่านแนวคิดอย่าง “Love The Forest…Look For The Logo” โดยการมองหาโลโก้ FSC ที่ติดอยู่ข้างกล่องเครื่องดื่ม อิชิตัน ไบเล่ หรือ เย็นเย็น
โดยเครื่องหมาย FSC คือสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การจัดการด้านป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อสร้างมาตรฐานความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยาการป่าไม้ มีระบบควบคุมกำกับและตรวจสอบอย่างเข้มงวดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
และนั่นก็หมายถึงว่า กล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีโลโก้ FSC ติดอยู่ด้านข้าง ทำมาจากต้นไม้ที่เชื่อได้ว่าจะมีการปลูกขึ้นมาทดแทน พร้อมทั้งยังมีการคำนึงถึงความสมดุลของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
และเมื่อดื่มเสร็จ กล่องอิชิตันที่มีเครื่องหมาย FSC ก็จะถูกนำมารีไซเคิล อัดเป็น Ecoboard เพื่อนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เอาไว้ใช้ในออฟฟิศของอิชิตัน นอกจากนั้นแล้ว Ecoboard ที่ได้จากการรีไซเคิลนี้ ก็จะถูกนำไปสร้างโรงเรียนให้กับเด็กชาวเขาที่ปลูกชาเขียวให้กับทางอิชิตันอีกด้วย
พูดมาขนาดนี้แล้ว หลายคนอาจจะอยากเห็นกระบวนการในการผลิตชาเขียวของอิชิตันว่าเป็นอย่างไร ถ้างั้นอย่ารอช้า ใส่หน้ากาก ใส่ถุงมือ ใส่ชุดหมี แล้วตาม Marketeer เข้ามาที่ไลน์ผลิตกันเลยดีกว่า












โดยในหนึ่งวัน โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตได้ 400 กล่อง/นาที หรือคิดเป็น 576,000 กล่อง/วัน โดยจะมีการหยุดพักเครื่องทุก ๆ 6 ชั่วโมง เพื่อทำการล้างเครื่องและเปลี่ยนรสชาติในการผลิต
เห็นโรงงานใหญ่ขนาดนี้ แต่อิชิตันกลับใช้พนักงานที่เป็นมนุษย์เพียงแค่ 100 กว่าคนเท่านั้น ส่วนที่เหลือคือให้เครื่องจักรรันตัวเองล้วน ๆ
สุดท้ายนี้ แอดมินก็อยากจะฝากถึงผู้อ่านทุกคนว่า การลดปัญหาอุทกภัย ไม่ได้หมายถึงการที่ต้องไปปลูกป่าหรือเก็บขยะตามแม่น้ำลำคลองเสมอไป เพียงแต่มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการเลือกดื่มอิชิตัน ที่มีสัญลักษณ์ของ FSC อยู่ ที่จะทำให้เราได้ทั้งความอร่อย แถมยังได้ช่วยโลกไปในเวลาเดียวกัน
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

