ปัจจุบันเมื่อเทียบฟอร์ม โรงเรียนกวดวิชา กับ สถาบันสอนภาษาอังกฤษ พบว่า…
เป็นช่วงวิกฤตของโรงเรียนกวดวิชาเลยก็ว่าได้ เมื่อต้องอัดโปรโมชั่นลดราคา จนไปถึงขั้นแถมคอร์สเรียนเพิ่ม เพื่อกวักมือเรียกเด็กๆ นักศึกษาให้เข้ามาใช้บริการเต็มห้องเหมือนอย่างภาพความสำเร็จในอดีต
ปัญหาของโรงเรียนกวดวิชาในบ้านเราตอนนี้คืออะไร?
จากข้อมูลของโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ เปิดเผยว่า ช่วง 8-10 ปีที่ผ่านมา อัตราเด็กเกิดน้อยลงในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัดเจน, เศรษฐกิจเองก็อยู่ในช่วงขาลง พ่อแม่หลายคนเลือกให้เด็กเรียนกวดวิชาน้อยลง สุดท้ายคือเด็กไทยมีทางเลือกในการศึกษามากขึ้น
3-4 เหตุผลนี้เองที่ทำให้ภาพรวมโรงเรียนกวดวิชามีจำนวนเด็กเข้าเรียนน้อยลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะกระตุ้นด้วยสารพัดวิธีการตลาดแล้วก็ตามที
ผิดกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ ที่ยังคงร้อนแรงต่อเนื่องโดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 3,000 ล้านบาทเติบโต 5% โดยสถาบันสอนภาษาอังกฤษแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ
แล้วทำไม สถาบันสอนภาษาอังกฤษในกลุ่ม Premium ทั้งๆ ที่มีค่าใช้จ่ายแพง แต่ยังสามารถเติบโตต่อเนื่องในทุกๆ ปี
เพราะหากเปรียบเป็นสินค้าสถาบันสอนภาษาอังกฤษคือ Mass Product ในตลาดวงการศึกษาเมืองไทย
เพราะนอกจากจะมีนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยแล้วนั้นยังมีกลุ่มลูกค้า มนุษย์เงินเดือน- เจ้าของกิจการ ที่ต้องการนำภาษาอังกฤษไปต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้ชีวิตการทำงานของตัวเอง
ยิ่งในยุคดิจิทัลที่สามารถสื่อสารข้ามโลกได้อย่างรวดเร็ว ภาษาอังกฤษ จึงกลายเป็นเครื่องมือในการทำงานที่สำคัญอย่างขาดไม่ได้
โดยจากผลสำรวจนักศึกษาของสถาบัน วอลล์สตรีท จากจำนวน 10,000 คน แบ่งลูกค้าเป็น 3 กลุ่ม ที่น่าสนใจทั้ง 3 กลุ่มนี้มีเหตุผลที่เลือกเรียนภาษาอังกฤษเพื่อหารายได้
“นักศึกษาส่วนใหญ่ที่มาเรียนจะเป็นกลุ่มใกล้เรียนจบ ต้องการสมัครงานแล้วเรียกเงินเดือนมากกว่าฐานขั้นต่ำ 15,000 บาทด้วยการใช้ Skill ภาษาอังกฤษในการเพิ่มเงินเดือนให้แก่ตัวเอง โดยจากข้อมูลบอกว่าบริษัทชั้นนำย่อมจ่ายถึง 30,000 บาท ให้แก่เด็กจบใหม่จากเมืองนอกที่เก่งภาษาอังกฤษ” แมทธิว กิจโอธาน ประธานกรรมการ วอลล์สตรีท อิงลิช ประเทศไทย เล่าถึงเหตุผลที่กลุ่มนักศึกษามาเรียนภาษาอังกฤษ
ปัจจุบัน วอลล์สตรีท อิงลิช มี 14 สาขาโดยเป็นการลงทุนเองทั้งหมดมีรายได้ 10 เดือนที่ผ่านมา 600 ล้านบาท แต่ด้วยการเติบโตรายได้อย่างต่อเนื่องทำให้แมทธิวเลือกที่จะตกลงเปลี่ยนสัญญากับบริษัทแม่จากต่างประเทศ จากสัญญาเดิมคือ Franchise ธรรมดามาเป็น Master Franchise
นั่นหมายความ วอลล์สตรีท อิงลิช ในประเทศไทย สามารถขยายสาขาโดยไม่ต้องลงทุนเอง แค่คัดเลือกผู้ลงทุนหน้าใหม่ๆ เข้ามาซื้อสิทธิขยายสาขาของวอลล์สตรีท อิงลิช จากนั้นก็เก็บค่าแฟรนไชส์ เป็นโมเดลที่ Win Win ทั้งสองฝ่าย
โดยงบลงทุนต่อสาขานั้นขนาดเล็กอยู่ที่ 3-4 ล้านบาท สาขาขนาดใหญ่ 10-11 ล้านบาท
การเปิดสาขาแบบรวดเร็วกว่าในอดีตเพราะ แมทธิว กิจโอธาน มองว่าคนที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตร Premium ในเมืองไทยมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก เพราะพิสูจน์แล้วว่าลูกค้าเริ่มยินยอมจ่ายแพง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนที่ดีแล้วได้ผลจริง มากกว่าหลักสูตรธรรมดาทั่วไป
ที่น่าสนใจเขายังมองว่าคู่แข่งเองก็ไม่ได้ขยับตัวในเชิงรุกขยายสาขากันมากนัก
เพราะฉะนั้นแผนที่วอลล์สตรีท อิงลิช จะขยายสาขาจาก 14 สาขามาเป็น 28 สาขาในปี 2020 และมีส่วนแบ่งตลาด 50% มีรายได้มากกว่า 2,000 ล้านบาท จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นเท่าไร โดยจะเริ่มใช้โมเดลแฟรนไชส์ เป็นตัวขับเคลื่อน
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคนี้ได้เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง
จากแต่เดิมจะเรียนกันในห้อง แต่ในยุคนี้จะเป็น Learning Lifestyle ที่จะให้นักเรียนมีกิจกรรมในการเรียนรู้ อาทิ การดูภาพยนตร์ การสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ๆ ด้วยภาษาอังกฤษ
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



