เอ็กซพีเรียน เปิดเผยรายงานประจำปีด้านอัตลักษณ์บุคคล (การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล) และการทุจริต (Global Identity and Fraud Report) ฉบับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคเกือบ 6,000 รายและองค์กรธุรกิจ 590 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สะท้อนถึงความเกี่ยวข้องในช่องทางออนไลน์ในแง่ของความเชื่อถือในการใช้งาน ซึ่งเกิดจากการที่ธุรกิจนั้นสร้างทั้งสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยควบคู่ไปกับประสบการณ์ใช้งานที่ดี

1-EX-2

เดฟ ดิมาน กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดเกิดใหม่ บริษัท เอ็กซพีเรียน กล่าวว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัลที่มีมากขึ้นนั้นจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นด้วยความปลอดภัยและความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก

รวมทั้งผู้บริหารในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งต้องลงทุนในเรื่องของการตรวจสอบตัวตนและความสามารถในการจัดการการทุจริต เพื่อสะท้อนถึงศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

ผลวิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มผู้บริโภค 546 ราย และกลุ่มธุรกิจซึ่งเป็นบริษัท 50 แห่งในประเทศไทย โดยเป็นบริษัทที่มีรายได้เกิน 100 ล้านดอลลาร์ พบว่า

ผู้บริโภคชาวไทย 69 เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับ ‘ความปลอดภัย’ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของประสบการณ์การใช้งานออนไลน์ ตามด้วย ‘ความสะดวกสบาย 20 เปอร์เซ็นต์ และความชอบเฉพาะบุคคล 11 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ยังพบว่าธุรกิจในประเทศไทย 40 เปอร์เซ็นต์ประสบกับความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทางออนไลน์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการขโมยบัญชีใช้งานและเปิดบัญชีปลอม

จากผลการสำรวจพบว่า 66% ของผู้บริโภคในประเทศไทยรู้สึกว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลในสังคมดิจิทัลของตัวเอง แลกกับความสะดวกสบายนั้น ถือเป็นเรื่องส่วนตัว

เดฟยังกล่าวอีกว่า หลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงินและภาคประกันภัย หน่วยงานราชการและผู้ให้บริการระบบการชำระเงินมุ่งมั่นที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในระดับสูงสุดในเรื่องของการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

โดยปัจจุบันผู้ให้บริการระบบการชำระเงินในประเทศไทย (payment system provider) ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจากผู้บริโภคที่ 76 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แบงก์และบริษัทประกันภัยได้รับความไว้วางใจ 70 เปอร์เซ็นต์ และหน่วยงานรัฐบาล 65 เปอร์เซ็นต์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประมาณการไว้ว่าจะมีมูลค่าถึง 1 ใน 4 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2570 และข้อมูลจากการวิจัยของกูเกิล-เทมาเสค ในรายงาน e-Conomy SEA 2018 ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยนั้นได้รับการผลักดันด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซ รวมถึงจำนวนประชากรออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีอัตราเฉลี่ยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 5 ชั่วโมงต่อวันผ่านทางอุปกรณ์มือถือ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก

แต่ในขณะที่วิธีการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ในองค์กรนั้นยังคงเป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม

เดฟระบุว่า ผู้บริโภคชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่และโซลูชั่นพิสูจน์ตัวตนที่ล้ำสมัย 84% ของผู้บริโภคชาวไทยเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยแบบระบบตรวจสอบชีวมิติทางกายภาพ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง ฯลฯ ของธนาคารออนไลน์ว่ามีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูง

เดฟยังกล่าวว่า ผู้บริโภคมองหาองค์กรธุรกิจที่ยกระดับมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและระบบป้องกันในการติดต่อสื่อสารบนดิจิทัล วิธีที่ได้รับการตอบรับดีจากผู้บริโภค คือการพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพ เพราะเป็นวิธีการรวดเร็วและลดความซับซ้อน

นอกจากนี้ ความโปร่งใส เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จากรายงานพบว่า 93% ของผู้บริโภคชาวไทยคาดหวังเรื่องความโปร่งใสในทุกขั้นตอนจากธุรกิจว่าจะใช้ข้อมูลของพวกเขาอย่างไรด้วย



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน