มีบทลงโทษ – วิธีไหนจะทั้งป้องกันและป้องปรามบรรดาขาเม๊าท์ได้ดีไปกว่าการออกกฏพร้อมบทลงโทษและพนักงานทุกระดับต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แน่นอนว่ารวมถึงระดับหัวหน้าหรือผู้บริหารระดับสูงด้วย เพราะถ้าทำได้นี่คือการตัดไฟตั้งแต่ต้นลมและกันไม่ให้ข้อมูลอ่อนไหวต่างๆ ถูกเปิดเผยก่อนเวลาที่สมควรได้อีกด้วย

ประพฤติตัวดีให้เห็นเป็นตัวอย่าง – หลังออกกฏแล้ว สิ่งถัดมาที่ต้องทำคือให้ใครสักคนเป็นต้นแบบ แสดงออกเป็นประจำว่ารับไม่ได้กับการซุบซิบ อาจเดินหนีทันทีที่มีการเปิดประเด็นนินทาหรือเปลี่ยนไปคุยเรื่องที่สร้างสรรค์กว่า โดยเมื่อคนในองค์กรเห็นพฤติกรรมน่าทำตามแบบนี้บ่อยๆเข้า ก็จะเหมือนน้ำดีไล่น้ำเสียให้หมดไป

ไม่ปล่อยตัวการลอยนวล – การทำแบบนี้ต้องการคนกล้า เพราะเมื่อคุณยอมเสียสละรับบทนักสืบ แจ้งให้หัวหน้ารู้ว่าใครคือคนแรกที่จุดกองไฟแห่งการนินนาให้ไหม้ลามทั่ว Office มันเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วที่คุณอาจถูกมองว่าเป็นพวกขี้ฟ้อง ทำดีเอาหน้าหรืออยากเป็นคนโปรดของนาย แต่ในระยะยาวนี่กลายเป็นดี ลดจำนวนมนุษย์จอมซุบซิบลงได้

กระจายข่าวดีเพื่อลดมวลการนินทา – มองอีกมุมการนินทาคือการกระจายข่าวรูปแบบหนึ่งซึ่งเราสามารถนำจุดนี้มาใช้ในทางบวกได้ด้วยการใส่เรื่องดีๆ หรือความสำเร็จที่คนทั้ง Office เช่นขายงานลูกค้ารายใหญ่ได้ โดยอาจเริ่มจากเบาะแสเล็กๆ แล้วปล่อยให้เกิดการพูดกันปากต่อปาก เพราะนอกจากช่วยปลูกฝังวัฒนธรรมการสื่อสารเน้นเรื่องที่ดีแล้วยังทำให้คนในองค์กรได้ภาคภูมิใจผลงานของส่วนรวมได้อีกทางหนึ่ง

เรื่องส่วนตัวควรเก็บไว้คนเดียว – หากเห็นว่า Office ไหน การสุมหัวคุยกันแบบลับๆล่อๆ อยู่ทั่วไปและสมาชิกในก๊วนชวนคุณคุยทำนองว่า “ปิดกันให้แซ่ด” แล้วละก็จงเตือนตัวเองไว้เลยว่าเรื่องไหนที่ไม่อยากให้ใครรู้ก็ควรให้มันลับต่อไปและมีคุณเท่านั้นที่รู้ เพราะแค่เรื่องคนอื่นยังเอาซุบซิบกันได้ เรื่องคุณก็คงประสบชะตากรรมเดียวกันเมื่อเข้าหูขาเม๊าท์เหล่านี้

ที่มา : inc.com



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online