เอิบ เอเชีย เครื่องหอมและความงามธุรกิจใหม่ของ เฮียฮ้อ มาดูกันว่าตลาดนี้มีศักยภาพอย่างไร ?

17 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ประกาศลงทุนในแบรนด์เครื่องหอมความงาม เอิบ ด้วยมูลค่าการลงทุน 72.2 ล้านบาท เข้าไปถือหุ้น 60% ในเอิบ เอเชีย เจ้าของแบรนด์เอิบ เพื่อขยายขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาด Wellness & Spa ให้กับธุรกิจคอมเมิร์ซของอาร์เอส

และในทางกลับกัน การลงทุนในเอิบ เอเชีย ของอาร์เอส อาจเป็นหนึ่งในพลังที่สร้างรายได้และผลกำไรให้กลับมาจากสภาวะขาดทุนและกำไรแบบปีเว้นปี

เพราะถ้าดูจากผลประกอบการของ เอิบ เอเชีย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า

2561 รายได้รวม 80.94 ล้านบาท ขาดทุน 7.43 ล้านบาท

2562 รายได้รวม 74.02 ล้านบาท กำไร 3.61 ล้านบาท

2563 รายได้รวม 37.45 ล้านบาท ขาดทุน 9.54 ล้านบาท

2564 รายได้รวม 42.02 ล้านบาท กำไร 8.14 ล้านบาท

2565 รายได้รวม 71.11 ล้านบาท ขาดทุน 5.27 ล้านบาท

 

เฮียฮ้อวางแผนไว้ว่าอาร์เอสจะสนับสนุนให้ เอิบ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกด้าน

ทั้งการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น การตลาด การประชาสัมพันธ์ ช่องทางการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และการจัดจำหน่าย เช่น ทำสินค้าร่วมกับ Corporate Brand การขยายสปาไปยังโรงแรม และสถานที่ Prime location ต่าง ๆ การร่วมมือกับพาร์ตเนอร์อื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจของเอิบมีสินค้าและบริการที่ครบวงจรและเติบโตอย่างชัดเจนกว่าที่ผ่านมา

ในตลาดเครื่องหอม สุขภาพและความงามแม้จะมีโอกาสจากการเปิดประเทศ และการใช้ชีวิตนอกบ้านของผู้บริโภคกลุ่มมิดเอนด์ขึ้นไปของคนไทย แต่ตลาดนี้มีความท้าทายในเรื่องการแข่งขันของแบรนด์เครื่องหอม สุขภาพและความงามต่าง ๆ

เช่น หาญ ที่กลุ่มธนจิราเข้าซื้อกิจการต่อจากเจ้าของเดิมในปี 2561 พร้อมกับวางภาพแบรนด์หาญ การรับรู้ ให้มีความชัดเจน ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่ เน้นลูกค้าคนไทยมากขึ้นในสัดส่วนคนไทย 60% ต่างชาติ 40% จากเดิมที่หาญจับกลุ่มลูกค้าต่างชาติเป็นหลักมากกว่า 95%

และสร้างประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาซื้อซ้ำและใช้บริการต่อเนื่อง

เช่น การนำโมเดล Retail Store คู่กับ HARNN Wellness & Hospitality กับพรีเมียมคอนเทมโพรารีสปามาให้บริการในที่เดียวกัน เป็นต้น

สำหรับรายได้ของหาญ และแบรนด์ในเครือทั้งหมดภายใต้บริษัท หาญ โกลบอล จำกัด มีผลประกอบการดังนี้

2561 รายได้รวม 384.30 ล้านบาท กำไร 71.02 ล้านบาท

2562 รายได้รวม 300.90 ล้านบาท กำไร 46.46 ล้านบาท

2563 รายได้รวม 103.37 ล้านบาท ขาดทุน 38.26 ล้านบาท

2564 รายได้รวม 98.31 ล้านบาท กำไร 40.55 ล้านบาท

2565 รายได้รวม 197.14 ล้านบาท กำไร 4.89 ล้านบาท

รวมถึงแบรนด์ ธัญ และ ปัญญ์ปุริ แบรนด์ที่มีรายได้ระดับ 300-400 ล้านบาท ที่ต่างวางตัวเองพรีเมียม อย่างปัญญ์ปุริจับมือกับแบรนด์ระดับพรีเมียมออกแบบแพ็กเกจที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่นการจับมือกับจิมป์ทอมสัน ดีไซน์กลิ่นที่ได้แรงบันดาลใจจากบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน และบรรจุลงในกล่องผ้าจากผ้าจิมป์ทอมสัน เป็นต้น

ธัญ สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ผ่านสมุนไพรไทยและธัญพืช เป็นต้น

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ธัญ และปัญญ์ปุริ มีผลกระกอบการย้อนหลัง ดังนี้

 

ธัญ

2561    รายได้รวม 714.42 ล้านบาท กำไร 191.31 ล้านบาท

2562    รายได้รวม 642.47 ล้านบาท กำไร 91.67 ล้านบาท

2563    รายได้รวม 323.70 ล้านบาท ขาดทุน 16.37 ล้านบาท

2564    รายได้รวม 318.61 ล้านบาท กำไร 7.71 ล้านบาท

2565    รายได้รวม 416.58 ล้านบาท กำไร 13.76 ล้านบาท

 

ปัญญ์ปุริ

2561    รายได้รวม 353.89 ล้านบาท ขาดทุน 18.57 ล้านบาท

2562    รายได้รวม 450.82 ล้านบาท ขาดทุน 28.64 ล้านบาท

2563    รายได้รวม 195.79 ล้านบาท ขาดทุน 217.20 ล้านบาท

2564    รายได้รวม 200.51 ล้านบาท กำไร 61.81 ล้านบาท

2565    รายได้รวม 313.52 ล้านบาท กำไร 5.61 ล้านบาท

 

ยังมีแบรนด์คามาคาเมตที่แตกไลน์ร้านค้าจากร้านเครื่องหอมคามาคาเมต ไปยังร้าน Every Day ที่มีสินค้าและคาเฟ่ ดึงดูดให้ลูกค้าเข้าไปใช้บริการได้ทุกวัน

และแบรนด์ยูเก็น และอื่น ๆ

ที่ผ่านมาคามาคาเมต มีผลประกอบการ

2561    รายได้รวม 90.76 ล้านบาท ขาดทุน 7.52 ล้านบาท

2562    รายได้รวม 132.48 ล้านบาท ขาดทุน 14.77 ล้านบาท

2563    รายได้รวม 103.28 ล้านบาท กำไร 1.67 ล้านบาท

2564    รายได้รวม 116.51 ล้านบาท กำไร 14.02 ล้านบาท

2565    รายได้รวม 169.44 ล้านบาท กำไร 9.73 ล้านบาท

 

ยูเก็น

2561    รายได้รวม 60.04 ล้านบาท กำไร 3.38 ล้านบาท

2562    รายได้รวม 62.07 ล้านบาท กำไร 6.74 ล้านบาท

2563    รายได้รวม 41.68 ล้านบาท กำไร 5.33 ล้านบาท

2564    รายได้รวม 48.10 ล้านบาท กำไร 7.39 ล้านบาท

2565    รายได้รวม 69.18 ล้านบาท กำไร 10.30 ล้านบาท

 

แล้วคุณล่ะชอบเครื่องหอมแบรนด์ไหน

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online