แม้วันนี้ในวงการอสังหาริมทรัพย์ Digital Disruption อาจจะยังเป็นภาพที่ยังไม่ชัดเจนมาก เหมือนอย่างกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ธนาคาร ค้าปลีก ที่เริ่มได้รับผลกระทบไปบ้างแล้ว แต่สำหรับมุมของแสนสิริการปรับตัวไว้ก่อนย่อมไม่เสียหายอะไร

อุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ปลาใหญ่ไม่ได้ปลาเล็กแล้ว แต่เป็นปลาเร็วกินปลาช้าต่างหาก และความเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ การปรับตัวจึงไม่สามารถทำได้รวดเร็ว เหมือนกับอุตสาหกรรมธนาคาร หรือ อุตสาหกรรมสื่อ

ดังนั้น “Sansiri Transformation (แสนสิริ ทรานส์ฟอร์เมชั่น)” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อนำแสนสิริก้าวให้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ซึ่งกระบวนการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปรับ เพื่อตั้งรับกับผลกระทบที่แม้จะยังไม่มา แต่ก็ควรปรับก่อนที่จะมาถึง

ตั้งรับด้วย “Agile”

แนวคิดการทำงานแบบ “Agile” (เอจาวล์) จึงเป็นวิธีที่แสนสิริเลือกเข้ามาปรับกระบวนการทำงาน ผ่านการแต่งตั้งให้เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย)” เข้ามาเป็นที่ปรึกษา

เหตุผลหลักที่ทำให้แสนสิริต้องปรับการทำงาน เป็นเพราะกว่า 70% จากพนักงานทั้งหมดของแสนสิริ 2,500 คน อยู่ในกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้จะมีวิธีการคิดและการทำงานคนละอย่างกับคนยุคเก่า การทำงานแบบ Agile จะช่วยให้แสนสิริมีความคล่องตัว สอนรับไปกับพฤติกรรมของกลุ่มมิลเลนเนียลได้

แต่เดิมการทำงานจะอยู่ในรูปตัว “W” โดยทำงานตามแผนกของตัวเอง และมีกระบวนการทำงานเป็นระดับขั้นตอนจากล่างขึ้นบน ถ้าเกิดปัญหาที่จุดใดก็จะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ จึงเกิดเป็นจุดอ่อนทางด้านเวลาที่ต้องใช้เพิ่มขึ้น

หาก Agile จะช่วยให้การทำงานกระชับ รวมเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้คนที่เก่งได้มีพื้นที่แสดงศักยภาพของตัวเอง เพราะแต่นี้การทำงานจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มทั้งหมด 12 กลุ่ม โดยแต่จะกลุ่มจะมีทุกฝ่ายอยู่ในนี้หมด ทั้งฝ่ายออกแบบ ฝ่ายขาย ขายการตลาด ทำให้ทุกอยู่ในกระบวนการตั้งแต่ต้น และรู้สึกถึงความเป็นเข้าของร่วมกัน

อีกทั้งการตัดสินใจก็จะอยู่ที่หัวหน้างานเพียงคนเดียวไม่ต้องไปผ่านคนอื่นๆเหมือนที่ผ่านมาการวัด KPI ก็จะเปลี่ยนไปจากเดิมจะวัดเป็นแผนกก็จะมาเป็นวัดตามผลสำเร็จของงานซึ่งทั้งกลุ่มก็จะต้องรับผิดชอบรวมกันทุกคนจึงต้องมีความรู้ไม่ใช่เฉพาะสายงานของตัวเอง

ยากที่สุดคือปรับความคิดของคน

Agile ถูกเริ่มใช้ก่อนในกลุ่มคอนโดมิเนียม เนื่องจากกลุ่มนี้มีคนไม่เยอะ และต้องสัมผัสกับเทคโนโลยีต่างๆอยู่แล้ว จึงง่ายกว่าที่จะปรับ โดยหลังจากนี้ก็จะนำไปกับบ้านเดียว และทาวน์เฮ้าส์

เพียงแต่หลังจากเริ่มใช้มา 3-4 เดือน ปัญหาใหญ่ที่ยังต้องเร่งแก้ไขคือความคิด ของคนในองค์กรที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องใช้ “Agile”

ก่อนหน้าที่จะใช้ Agile เราก็ใช้เวลากว่า 1 เดือนในการทำความเข้าในกับกลุ่มพนักงาน เนื่องจากพวกเขากังวลว่าจะมีปัญหากับการเติบโตตามสายงาน ซึ่งเราก็ยืนยันแล้วว่าวิธีนี้จะช่วยให้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะไม่มีการลดคนอย่างแน่นอน

แน่นอนเมื่อปรับการทำงานให้คนเก่งขึ้นย่อมอาจก่อให้เกิดปัญหาสมองไหล แต่นั้นก็จะเป็นโจทย์ให้แสนสิริต้องแก้ไขในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ถ้ามอบให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า คนก็ย่อมอยากอยู่กับองค์กร

อย่างไรก็ตามคนที่แสนสิริต้องการจะต้องเป็นคนที่ความรู้และพร้อมจะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาเพราะแสนสิริจะมีคอสร์ต่างๆที่เข้ามาช่วยเทรนด์นิ่งด้วย

ภายใน 3 ปีต้องขึ้นเป็น “Dream Place to Work”

ที่สุดแล้วแสนสิริเชื่อว่า Agile จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาโครงการ และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ารวดเร็วขึ้นสูงสุดถึง 20% นั้นความความว่า เมื่อต้นทุนลดลงกำไรก็จะเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 12%

รวมไปถึงภายใน 3 ปี จะขึ้น “Dream Place to Work” บริษัทที่น่าทำงานที่สุดภายในประเทศ จากวันนี้ที่ติดท็อป 10 อยู่แล้ว

หากในอนาคตคนเริ่มไม่ซื้อสินทรัพย์อย่างบ้าน และเปลี่ยนไปพฤติกรรมการอยู่อาศัย เป็นรูปแบบแชริ่งอีโคโนมีแทน แต่แสนสิริก็จะยังอยู่ และยังคงเป็นผู้นำในวงการอสังหาริมทรัพย์ต่อไป



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online