ในวันนี้คนใช้เวลาอยู่กับทีวีน้อยลง จากเดิมที่ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงต่อวัน เหลือเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น

สวนทางกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ที่ ETDA สำรวจพบว่าในปี 2561 มีการใช้งานบนโลกออนไลน์เฉลี่ยถึง 10.05 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มจากปี 2560 มากถึง 3.30 ชั่วโมงเลยทีเดียว

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคได้อยู่บนโลกของออนไลน์ ทำให้แลนด์สเคปของโฆษณาเปลี่ยนไป

จากการมองสื่อทีวีเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุด สู่การใช้สื่อโฆษณาแบบผสมผสานมากยิ่งขึ้น

เรามาดูกันว่าโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนมีผู้ใช้เท่าไร

แม้บางโซเชียลมีเดียจะมีผู้ใช้จำนวนมาก แต่ใช่ว่าทุกโซเชียลมีเดียจะเหมาะสำหรับการทำตลาดกับทุกกลุ่มเป้าหมาย

แล้วแบรนด์ไม่ควรใช้แพลตฟอร์มไหนสื่อสารกับเรื่องอะไร ภวัต เรืองเดชวรชัย  ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ได้แนะนำกับเราดังนี้

 

Facebook

ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่เหมาะกับการสื่อสารกับกลุ่ม Gen Z

Twitter

ไม่ใช่แพลตฟอร์มยอดนิยมของติ่งเกาหลี ผู้สนใจข่าวการเมือง เท่านั้น

Youtube Ad

อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงกับกลุ่มคน Gen Y อายุ 23-39 ปี ที่อาจจะหันไปใช้เปิดบริการ Youtube Premium เพื่อแลกกับการดู Youtube ที่ไม่มีโฆษณามารบกวน 

TikTok

เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น แต่อาจไม่เหมาะกับการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดในบางประเภทสินค้า

 

ทั้งนี้ในบางแพลตฟอร์มอย่าง Facebook/Youtube/IG/Twitter และ Line ได้กลายเป็นสื่อที่มีการแข่งขันสูงจากแบรนด์ต่างๆ ที่เห็นถึงจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้ในวันนี้สื่อที่เรากล่าวมาทั้งหมดคลาคล่ำด้วยโฆษณา

และการที่แบรนด์จะดึงความสนใจกลุ่มลูกค้าได้แบรนด์จำเป็นต้องเรียนรู้และรู้จักลูกค้าของตัวเองให้ดีที่สุด



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online