กลยุทธ์เอสเอ็มอี ปี 2565 ต้องรู้ ต้องรับ และต้องรอด ! (วิเคราะห์)
Only The Paranoid Survive เป็นเรื่องที่ ภวัต เรืองเดชวรชัย President & CEO Media Intelligence Group บอกว่าเป็นสิ่งที่ตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างมาก
SMEs และผู้ประกอบการต้องนอยด์ในเรื่องอะไรบ้าง เป็นเรื่องที่ต้องรู้ เพื่อที่จะได้ตั้งรับและแก้ปัญหาได้ทัน
ภวัต กล่าวว่าปี 2022 ผู้ประกอบการไทยมีโจทย์ที่ต้องนอยด์ในหลายเรื่อง เช่น อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น การอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น นักท่องเที่ยวที่กลับมาแค่ประมาณ 10 ล้านคน คิดเป็น 30% ของยุคก่อนเกิดโควิด เศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วยังถูกซ้ำเติมจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันทางราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นมาช้านาน
นอกจากนั้น SMEs ยังต้องนอยด์ในเรื่องสินค้าของตนเองที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอ ยังตีตลาดไม่ได้ ตอบโจทย์ลูกค้าหรือเปล่า อะไรคือความต้องการที่แท้จริงของเขา แผนการตลาดที่ใช้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือยัง มีอะไรให้ผลคุ้มค่ากว่าบ้าง
แล้วเราจะเอาชนะนอยด์เหล่านั้นได้อย่างไร
MI Group ในฐานะ Media Agency ที่ให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาด ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CBS จัดทำคู่มือ “ปี 2565 SMEs ไทยต้องรอดและรุ่ง” หรือ “2022 Survival Hacks” ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการฝ่าวิกฤตไปได้
Marketeer ได้สรุปมาสั้น ๆ ถึงปัญหาของความนอยด์ และเคล็ดลับในการกำจัด โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย และ วรินทร์ ทินประภา Chief Strategy Officer MI Group


# 2022 Survival Hacks

1. ความกังวลใจว่าสินค้าของเรารู้จักมากพอมั้ยในตลาด และจะแข่งขันได้หรือเปล่า
สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องทำให้สินค้ามีความแตกต่าง ใช้กลยุทธ์ Personalized Marketing มากขึ้น และยุคนี้ต้องทำ E-commerce ให้แข็งแรง
โดยสามารถเช็กความนิยมจาก Google Trend Hashtag Trend ฟังเสียงของโลกออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียล ที่มีหลากหลายแพลตฟอร์ม มอนิเตอร์คู่แข่งในตลาด รวมทั้งติด Tag ดู Lead ที่มาหาเราให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายจริง ๆ คือใคร
2. สินค้าของเรายังตอบโจทย์ลูกค้าอยู่หรือเปล่า
โดยเลือกตอบซับคัลเจอร์ของผู้บริโภคใน 8 กลุ่มใหญ่ ตามพฤติกรรมและความสนใจของเขา คือ
1. Health & Fitness 2. สปอร์ต 3. กลุ่มคนรักรถ 4. ฮิปฮอป/แรปเปอร์ 5. ทำอาหาร เบเกอรี่ 6. สินค้าแบรนด์เนม 7. สัตว์เลี้ยง 8. กลุ่ม FOMO (Fear of missing out)
รวมทั้งการทำความเข้าใจกับเจน Y และเจน Z ดูว่าซับคัลเจอร์กลุ่มไหนเหมาะกับตลาดของเรา ศึกษาเขาอย่างลึกซึ้ง และพูดภาษาเดียวกับเขา จากนั้นก็ลุยเลย
3. แผนการตลาดที่ใช้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือยัง
ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แพลตฟอร์มที่หลากหลายขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของเรามีความเปลี่ยนแปลงและมีการเข้าหาสินค้าของเราได้หลากหลายรูปแบบพร้อม ๆ กัน
ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงคือใคร เจนไหน ไลฟ์สไตล์อย่างไร หลังวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ทุกเจนมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่างกันแค่วิธีการ จุดประสงค์ และแพลตฟอร์มย่อยที่เขาใช้เท่านั้น
อินฟลูเอนเซอร์มีความนิยมมากขึ้นใน 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่อินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนก็มีบทบาทที่ให้ผลลัพธ์ทางการสื่อสารที่ต่างกัน เช่น
Amplifier เน้นสร้างการรับรู้ของแบรนด์เพราะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต้องใช้ดารา นักร้อง ที่คนตามเป็นหลักล้านคน
Branded Content เน้นการรับรู้แบรนด์ด้วยความคิดสร้างสรรค์
Expert เน้นความน่าเชื่อถือ การยอมรับ
Real User สะท้อนผ่านผู้ใช้จริง
และ Ripple Effect เสริม Awareness ในวงที่กว้างขึ้น เป็นใช้อินฟลูเอนเซอร์จำนวนมากแทรกซึมเข้าตามคอมมูนิตี้ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก
การเลือกใช้แผนการตลาดของเอสเอ็มอีให้ตรงเป้าหมายมีประสิทธิภาพที่สุด เลยเป็นเรื่องความน่าท้าทายอย่างมาก ๆ
# 2022 ใครไม่รอด เราต้องรอด!
นอกจากนั้น ในเนื้อหาของคู่มือ ยังกล่าวถึง กลยุทธ์เอสเอ็มอี การปรับตัวผ่าน 5’Res หรือ 5 เปลี่ยน ได้แก่
1. Retool เปลี่ยนไปใช้เครื่องมือดิจิทัลทำงาน 2. Re-Target เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่ 3. Re-Business เปลี่ยนวิธีการหารายได้จากธุรกิจรูปแบบใหม่ 4. Re–Process เปลี่ยนกระบวนท่า เป็นฝ่ายเข้าหาลูกค้า ไปรับหรือบริการลูกค้าถึงที่ และ 5. Reunite เปลี่ยนใจให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เช่น สายการบินยินยอมให้คืนตั๋ว โรงแรมยอมเลื่อนการเข้าพัก
สิ่งที่ SMEs ควรทำ (Do)ในปี 2022 เช่น Lean ทำองค์กรเล็กลงกระชับขึ้น Learn เรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ตลอดเวลา Linkage หาความเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ Liquidity รักษาสภาพคล่องทางธุรกิจ เป็นต้น
สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t) เช่น Selfish เห็นแก่ตัว นึกถึงแต่ตัวเอง Self-Centered ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง Static อยู่นิ่ง ๆ และ Stupid ต้องฉลาด หาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ
ภวัต ยังได้ฝากบอกว่า “ตอนนี้เรายังอยู่ในยุคของความไม่แน่นอนสูง โควิด-19 อาจจะผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว แต่การฟื้นตัวเราไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลาแค่ไหน แล้วจะมีโควิด 2020 เข้ามาอีกหรือเปล่า ความรู้คืออาวุธ ที่ SMEs จำเป็นต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ไว จึงจะรอด และรุ่ง”
ที่สำคัญ SMEs รอด ประเทศชาติรอด บริษัทเอเยนซีก็รอดเหมือนกัน ดังนั้นสามารถติดต่อขอคู่มือ “ปี 2565 SMEs ไทยต้องรอดและรุ่ง” หรือ “2022 Survival Hacks” กับบริษัทได้เลย
I-
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



