ธุรกิจสุขภาพและความงาม ทำไมเทรนด์ Self-Care First คือหนึ่งใน Growth Engine ที่มาแรง ?
ด้วยสถานการณ์ช่วงนี้ ดิฉันเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเริ่มปรับตัว ปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับ New Normal ให้กลายเป็นชีวิตปัจจุบัน (Reality) ได้บ้างแล้ว การปรับตัว ปรับใจ และรูปแบบการใช้ชีวิต ทำให้เราทุกคนสามารถเดินหน้าไปต่อได้ ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า เครียด หรือ ยังเกิดความรู้สึกไม่คุ้นชินอยู่บ้าง
สิ่งที่ดิฉันอยากให้ทุกคนได้ลองทำก็คือการหยุดคิดถึงสิ่งเร้าภายนอกสักครู่หนึ่ง หายใจเข้าออกลึก ๆ แล้วค่อย ๆ กลับมามองข้างในตัวเองว่าเราได้ดูแลร่างกาย จิตใจได้ดีพอหรือยัง เพราะถ้าชีวิตขาดสมดุลที่ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยากจะแก้ไขได้ ขณะเดียวกัน ถ้ากายและใจเราพร้อม ไม่ว่าปัญหาไหนเราก็ตั้งรับสู้และก้าวผ่านไปได้
โดยหนึ่งในวิธีดูแลบำบัดร่างกายและจิตใจที่ดิฉันคิดว่าได้ผลจริง นั่นก็คือ Self-Care หรือ การดูแลตัวเองแบบองค์รวมนั่นเอง
Self-Care ถือว่าเป็นเทรนด์สุขภาพใหม่ที่เพิ่งได้รับความนิยมมาได้ไม่นาน ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้คนหลีกเลี่ยงการเข้าโรงพยาบาลกันมากขึ้นเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนั้นเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น ไม่ตอบโจทย์สำหรับการลงทุนดูแลสุขภาพในระยะยาว[1] รวมไปถึงหลาย ๆ คนต้องทำงานที่บ้าน พออยู่บ้านนาน ๆ ก็รู้สึกกดดัน กังวล และหมดไฟ จึงเสาะหาการดูแลสุขภาพที่เริ่มทำได้ด้วยตนเอง
โซเชียลมีเดียก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทรนด์ Self-Care นั้นพูดถึงในวงกว้าง มีคนหลาย Generation[2] สนใจที่จะนำแนวคิดในเรื่องการดูแลตัวเองแบบองค์รวมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กลุ่ม Swing Generation (ค.ศ. 1928-1945) จำนวน 64% กลุ่ม Baby Boomers 57% (ค.ศ. 1946-1964) และกลุ่ม Millennials 44% (ค.ศ. 1980-1997) เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ยังมีการผุดขึ้นมาของกลุ่มคนที่ชื่นชอบในการดูแลสุขภาพและความงามโดยเฉพาะด้วย เรียกว่า Beauty Beasts[3] (ค.ศ. 1987-2006) ซึ่งในกลุ่มนี้มีถึง 60% ที่ให้ความสนใจกับ “ชีวิตความเป็นอยู่กับความสุขตนเอง” (Self-focused and Self-Care) มาเป็นอันดับแรก โดยความสุขดังกล่าว อาจจะไม่ได้มาจากความสำเร็จยิ่งใหญ่จากเป้าหมายของชีวิตแล้ว แต่มาจากการมองหาความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ตัวเองในแต่ละวัน เช่น ปลูกต้นไม้ ชงกาแฟ นั่งสมาธิ ไปคาเฟ่ ก็ทำให้กลุ่ม Beauty Beasts มีความสุขแล้วกับชีวิตของตัวเอง
แล้ว Self-Care นั้นเป็นอะไรได้บ้าง?
ดิฉันมองว่า Self-Care เป็นการปรับพฤติกรรมตนเองในแต่ละด้านเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี[4] (Well-being) อาจเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการกินให้เข้ากับสภาพร่างกายหรือหมู่เลือด การตื่นมารับอากาศบริสุทธิ์และแดดยามเช้าหรือมีบทสนทนาดี ๆ ร่วมกับคนรอบข้าง เท่านี้ก็นับว่าเป็น Self-Care ได้แล้ว
ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปรับ Self-Care ให้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ก็จะช่วยให้ผู้คนรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น จนมีแรงใจไปทำเป้าหมายอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ เทรนด์ Self-Care ยังเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจประเภท Health & Beauty สุขภาพและความงาม ได้เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น นำมาสู่การพัฒนาสินค้าและบริการมาตอบโจทย์ เยียวยาจิตใจผู้คนให้ดีขึ้นท่ามกลางวิกฤต
จากผลสำรวจทั่วโลกที่ดิฉันศึกษา พบว่า ตลาดสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพนั้นกำลังอยู่ในขาขึ้น โดยวิเคราะห์จากค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาสูงอย่างสหรัฐอเมริกา ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น อยู่ที่ราว 11,582 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 คน ซึ่งเติบโตถึง 6 เท่าจาก 1,848 ดอลลาร์ในปี 1970 รวมไปถึงยอดขายสินค้าด้าน Self-Care นั้นเติบโตขึ้นถึงระดับ 93,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
โดยตัวอย่างสินค้าที่ได้รับความสนใจในช่วงเวลานี้ ได้แก่ นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) ผลิตภัณฑ์ความงามที่สะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ (Clean Beauty) อาหารประเภท Plant-based หรือทำจากพืช สบู่หรือเทียนที่ให้กลิ่นหอมผ่อนคลาย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เครื่องเขียน สมุดจดบันทึกที่เปิดพื้นที่ให้คนได้ระบายความรู้สึกตนเอง เป็นต้น
นอกจากธุรกิจทั่วโลกจะหันมาใส่ใจในวิถีชีวิตรูปแบบ Self-Care มากขึ้นแล้ว เทรนด์ Self-Care ในไทยเองก็มาแรงไม่แพ้กัน ซึ่งดิฉันเองก็ได้ศึกษาธุรกิจบ้านเราที่เข้ามาลุยตลาดวิถีชีวิตการดูแลตนเองจนประสบความสำเร็จดังไกลไปถึงระดับโลก
นั่นก็คือธุรกิจสปาระดับพรีเมียม แบรนด์ Divana Spa ซึ่งมีจุดเด่นที่บริการสปาที่เน้นการสื่อสารกับลูกค้าเป็นหลัก ใส่ใจกับสภาวะทางกายและอารมณ์ของลูกค้า เสมือนเป็นการมอบวิถี Self-Care ให้ลูกค้าภายในตัว สิ่งที่ได้จึงไม่ใช่แค่ความรู้สึกผ่อนคลาย แต่เป็นความสบายใจ ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อตนเอง
ดิฉันมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณตี๋-พัฒนพงศ์ รานุรักษ์ และ คุณตง-ธเนศ จิระเสวกดิลก ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Divana Spa ถึงทิศทาง Self-Care ที่น่าจับตามองในปี 2022
“ในสภาวะที่ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตโควิดหรืออื่น ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกาย ผิวพรรณ จิตใจและสภาวะทางอารมณ์ของมนุษย์เราในระยะยาว ดังนั้น เทรนด์ Self-Care ในระดับอุตสาหกรรม Spa & Wellness จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น generation Y & millennial ซึ่งจะเน้นไปที่ 2 ส่วนหลักได้แก่
1. เทรนด์เวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging) เนื่องจากสภาพแวดล้อมในตอนนี้เต็มไปด้วยมลภาวะ ฝุ่นควัน เป็นภัยเงียบที่สามารถก่อผลกระทบต่อร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น สิวจากการสวมใส่แมสก์ หรือผิวเสียจากฝุ่น PM 2.5 ทำให้คนเริ่มมาดูแลตัวเอง เน้นอวัยวะและระบบภายในให้แข็งแรง รับประทานแต่ของดี หมั่นออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และไม่ให้ร่างกายแก่เกินกว่าอายุจริง
2. เทรนด์ Emotional Self-Healing แน่นอนว่า ในสภาวะที่ไม่ปกติล้วนส่งผลกระทบต่อพื้นฐานด้านจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ของคนทั่วไปในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเครียดและโรคซึมเศร้า Emotional Self-Healing จึงเป็นเทรนด์ที่เกิดมาเพื่อตอบโจทย์การเยียวยาจิตใจอย่างมีประสิทธิภาพ
“ขณะเดียวกัน ธุรกิจในแวดวงสุขภาพและความงามจะต้องหันมาออกแบบสินค้า งานบริการ หรือ Solution Devices ต่าง ๆ ให้ออกมาใช้งานได้ง่าย ทุกโอกาส ไม่ว่าใครก็สามารถใช้ได้เพื่อตอบโจทย์กับเทรนด์ Self-Care ที่เน้นความเรียบง่าย แต่กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน”
จะเห็นได้ว่า Self-Care ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันนั้นไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่วัยทำงานที่ใส่ใจในการดูแลตนเอง จัดการความเครียดระหว่างทำงานกันอีกต่อไป ดิฉันเองก็ได้สังเกตกลุ่มวัยรุ่น วัยนักศึกษา หรือวัยเริ่มทำงาน ก็เดินเข้าคลินิกความงามกันเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อหวังให้แพทย์ผิวหนัง หรือแพทย์ความงามช่วยแก้ปัญหาผิวต่าง ๆ สร้างความดูดี เสริมสร้างความมั่นใจ และสร้างโอกาสต่าง ๆ ให้ชีวิต โดย Merz Aesthetics เองก็สนับสนุนให้ทุกคนได้ดูแลตัวเองในรูปแบบ Self-Care มาโดยตลอด เพราะเราเชื่อว่าการดูแลตัวเองให้ดีทั้งภายในและภายนอก เราจะดูดีอย่างมั่นใจ กล้าที่จะทำอะไรที่แตกต่าง แปลกใหม่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับนักการตลาดที่สนใจต้องการจะเจาะกลุ่มลูกค้าในตลาด Self-Care ดิฉันก็มี 3 คำแนะนำที่สามารถนำไปลองตรวจสอบสำหรับการทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้าง Brand Awareness ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้คนไทยโอบรับเทรนด์ Self-Care มากยิ่งขึ้น
1. ปรับเปลี่ยนการนำเสนอของแบรนด์ในรูปแบบ Educational Content ด้าน Self-Care
ก่อนที่เราจะนำเสนอแบรนด์ให้ลูกค้า เราต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ได้ว่าแท้จริงแล้วความหมายของ Self-Care และเหตุใดถึงต้องใส่ใจการดูแลสุขภาพแบบ Self-Care ผ่านคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ เพื่อในขั้นต่อไปจะเป็นการเสนอสินค้าและบริการรับกับเทรนด์นี้ กลุ่มเป้าหมายก็จะรู้จักและเข้าใจประโยชน์ที่ได้จากสินค้าและบริการของแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น หากแบรนด์สร้างสรรค์เนื้อหาความรู้ในสื่อต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ เพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ไปในตัว
2. สินค้าและบริการควรจะตอบโจทย์ทั้งด้านกายภาพ (Physical Health) และสุขภาพจิต (Mental Health) เพื่อการดูแลแบบองค์รวมอย่างแท้จริง
ในการออกแบบสินค้าและบริการในแต่ละครั้ง แบรนด์จะต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพแบบ Self-Care ของผู้บริโภคได้ครบถ้วนทั้งกายภาพ และสุขภาพจิตอย่างไร เช่น การดูแลตัวเองด้วยการไปพบแพทย์ผิวหนังหรือความงาม ถือเป็นการดูแลด้านกายภาพแก้ปัญหารูปลักษณ์ภายนอก แต่คลินิกก็สามารถเพิ่มเติมในเรื่องสุขภาพจิตได้ด้วยการให้ผู้ที่เข้ารับบริการได้พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงปัญหาที่อยู่ในใจที่อาจมีที่มาจากปัญหาของรูปลักษณ์ภายนอก
หรือไอเดียการใช้สมุดจดบันทึกผลการดูแลตัวเองหลังการทำหัตถการต่าง ๆ สมุดอาจฟังดูธรรมดา แต่สามารถเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนการดูแลตัวเอง หรือ ตรวจสอบสภาวะจิตใจตัวเองอย่างง่าย ๆ ให้ผู้บริโภคนำไปปฏิบัติและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตนเองเพิ่มเติมหลังการแก้ปัญหาผิวหรือเสริมความงาม จะเห็นได้ว่าสมุดไม่ได้ผลิตมาเพื่อบันทึกเรื่องราวพัฒนาการความดูดีอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้ผู้บริโภคได้เรียนรู้ Self-Care Tips ควบคู่ไป เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการดูแลแบบองค์รวมอย่างแท้จริง
3. กลยุทธ์การตลาดของแบรนด์จะต้องอาศัยเสียงจากผู้ใช้งานจริง
ในยุคนี้ การตลาดที่เน้นการขายและรีวิวจากผู้มีชื่อเสียงอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ในทางกลับกันผู้บริโภคต้องการทราบความคิดเห็นจากคนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ มากกว่า ด้วยเหตุนี้ การตลาดแบบ Influencer Marketing จะเหมาะสมกับแบรนด์ที่ต้องการเสนอขายสินค้าและบริการแบบ Self-Care เพราะถ้าแบรนด์ได้ Influencer หรือผู้นำทางความคิดที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความงาม ผู้บริโภคก็จะรู้สึกว่าแบรนด์จริงใจ ก็จะช่วยให้ภาพลักษณ์และสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อสารน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น คุณเนต เจ้าของเพจ Netty Beauty Life เภสัชกรสาวสายรีวิวสกินแคร์และวิธีการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ ด้วย lifestyle ส่วนตัวที่เรียบง่าย และเป็นผู้ใช้จริง ๆ ก่อนจะแชร์ ทำให้ความรู้ต่าง ๆ ในการดูแลตัวเองและผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแนะนำค่อนข้างจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นดาราหรือนักแสดงชื่อดัง เป็นต้น
สรุป ธุรกิจสุขภาพและความงาม
Self-Care คือเทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองในช่วงหลังโควิด-19 เนื่องจากสภาวะโรคระบาดได้ทำให้ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับสุขภาพกายกันมากขึ้น ประกอบกับโรงพยาบาลไม่ใช่สถานที่ที่ใครหลายคนต้องการมาพบแพทย์เพื่อรักษาสุขภาพอีกต่อไป ผู้คนส่วนใหญ่หลากหลาย Generation จึงค้นหาวิธีการดูแลตนเอง สุขภาพโดยรวมที่เริ่มได้ตั้งแต่ในบ้าน Self-Care จึงเข้ามาตอบโจทย์ และมีบทบาทในไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ คนที่ต้องการดูแลตนเองให้รู้สึกดีขึ้น สามารถนำวิถีชีวิต Self-Care เข้ามาปรับใช้ในพฤติกรรมได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ ตัวอย่างเช่น เริ่มรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย นอนให้เต็มอิ่ม หรือ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็นับว่าเป็น Self-Care รูปแบบหนึ่งเช่นกัน
นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่า Self-Care จะเข้ามาเป็นเทรนด์สุขภาพหลักในอนาคต ซึ่งจะสร้างโอกาสให้กับธุรกิจประเภท Health & Beauty สุขภาพและความงาม ที่จะทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภค Generation ต่าง ๆ จนสามารถพัฒนาออกมาเป็นสินค้าและบริการที่สามารถเยียวยาจิตใจผู้คนให้ดีขึ้น
หากนักการตลาดต้องการปรับ Self-Care ให้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดเพื่อเจาะกลุ่มคนดูแลสุขภาพ จะต้องคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนการนำเสนอของแบรนด์ในรูปแบบ Educational Content ด้าน Self-Care
เน้นการทำเนื้อหาที่ให้ความรู้ด้าน Self-Care แก่กลุ่มเป้าหมายมากกว่าการขายสินค้าและบริการโดยตรง เพื่อที่ว่าคนอ่านจะรับรู้ได้ถึงรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ และเมื่อถึงคราวจะขายสินค้าจริง ๆ กลุ่มเป้าหมายจะเข้าใจและมองเห็นภาพประโยชน์ของสินค้าและบริการได้ง่ายมากขึ้น
2. สินค้าและบริการควรจะตอบโจทย์ทั้งด้านกายภาพ (Physical Health) และสุขภาพจิต (Mental Health) เพื่อการดูแลแบบองค์รวมอย่างแท้จริง
ในการผลิตสินค้าและบริการแต่ละครั้ง แบรนด์จะต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้บริโภคอย่างไร เป็นการดูแลแบบองค์รวมอย่างแท้จริงหรือไม่
3. กลยุทธ์การตลาดของแบรนด์จะต้องอาศัยเสียงจากผู้ใช้งานจริง
แบรนด์ที่สนใจรุกตลาด Self-Care ควรอาศัยกลยุทธ์การตลาดแบบ Influencer Marketing ให้ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) ได้ถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าแก่ผู้ติดตาม ก็จะดึงดูดคนมาซื้อสินค้ามากขึ้น รวมไปถึงแบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
![]() ![]() บทความโดย : เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ รัตนจันทร์ รองประธานบริหาร บริษัท Merz Aesthetics ประเทศไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เภสัชกรหญิงกิตติวรรณคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมความงามมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหาร บริษัท Merz Aesthetics ประเทศไทย บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องอัลเทอร่า และเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม เพื่อทุกความมั่นใจของคนไทย ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2015 โดยเป็นบริษัทในเครือ Merz ฟาร์มา เยอรมนีกลุ่มบริษัท Merz ฟาร์มา ประเทศเยอรมนี สั่งสมประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางด้านเวชภัณฑ์ยาและเทคโนโลยีความงาม มากว่า 114 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ อันเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือของแพทย์ความงามและผู้บริโภค ทางด้านนวัตกรรมความงามและเวชภัณฑ์ยากลุ่มโบทูลินั่มทอกซิน และเครื่องมือแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผิวพรรณและรูปร่างได้รับความไว้วางใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามกว่า 90 ประเทศทั่วโลกConfidence to be คือปณิธานองค์กรที่เรายึดมั่น Merz ตั้งอยู่เพื่อขับเคลื่อนทุกความมั่นใจของคนไทย ผ่านพันธกิจองค์กร 3 ประการ ได้แก่ การทำให้ทุกคน ‘Look better, Feel better, Live better’ และเรายังคงเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีความงามและนวัตกรรมการรักษาระดับโลกสู่คนไทยทุกคนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.merzclubthailand.comและติดตาม Merz Aesthetics ได้ที่ Facebook: Merz Aesthetics Thailand Instagram: @merzaesthetics_th YouTube: Merz Aesthetics Thailand |
[1] https://www.jnj.com/health-and-wellness/Self-Care-trends-that-could-change-your-approach-to-health
[2] https://asdonline.com/blog/retail-news/what-self-care-trends-mean-for-retailers-in-2020/#:~:text=Self%252DCare%2520Products%2520Will%2520Drive,That’s%2520astronomical%2520growth
[3] https://www.brandbuffet.in.th/2022/03/beauty-beasts-when-beauty-becomes-gender-less-research/
[4] https://www.healthline.com/health-news/Self-Care-is-not-just-treating-yourself
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



