ในปี 2563 เศรษฐกิจอาเซียนจะกลายเป็นเสือที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 6 ของโลก ด้วยจำนวนประชากร 680 กว่าล้านคนเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจในเอเซียนได้กลายเป็นสาวแรกแย้มเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม และเอคเซนเซอร์ ที่ปรึกษาด้านการจัดการ บริหารเทคโนโลยี และบริการเอาท์ซอรส์ระดับโลก ได้ไขความลับ เทรนด์ผู้บริโภคในอาเซียน ที่น่าสนใจได้ 3ประการได้แก่
1.การเติบโตของชนชั้น Middel Class ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
คาดว่าในปี 2563 การใช้จ่ายของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวไปแตะระดับ 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 74.4 ล้านล้านบาท จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหัวใจหลักในการขับเคลื่อนการจับจ่ายมาจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การแข่งขันทางธุรกิจที่แย่งชิงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในฟันเพืองที่ช่วยขับเคลื่อนบริษัท และได้ก่อให้เกิดชนชั้น Middel Class ที่เพิ่มขึ้น
ความน่าสนใจของกลุ่ม Middel Class คือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อครัวเรือนทั้งปี ประมาณ 1,000-55,000ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.2แสน- 1.8 ล้านบาท มีอำนาจการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 25 ล้านครัวเรือนหรือ 60 ล้านคนภายในปี 2563 และอาศัยอยู่ในเมืองหลวง เมืองใหญ่ และหัวเมืองใหม่ๆ ที่เป็นเกตเวย์เชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ โดยการเพิ่มขึ้นนี้มาจากประเทศไทย 3 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 9 ล้านคน จากปัจจุบัน 26 ล้านคนทั่วประเทศ
และในปี 2563 ผู้บริโภคใหม่ที่มีรายได้สูงขึ้นกว่าในอดีตรวมถึงเศรษฐีใหม่ 100 ล้านรายจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับอาเซียน 7.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 24,894,100 ล้านบาท และรายได้หลังหักภาษีของทั้งภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นจะทำให้ประชากร 40 ล้านคนมีฐานะขยับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มรายได้สูงขึ้น สามารถจับจ่ายสินค้าพรีเมียมมากขึ้น
การขยายตัวของประชากรในชุมชนเมืองของคนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 6 ประเทศ จากอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทยคือเกษตรกร จึงไม่จำเป็นต้องย้ายเข้าเมืองเพื่อประกอบอาชีพเหมือนประเทศอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
2. เทรนด์ผู้บริโภคในอาเซียน คือ Digital Consumer
การเติบโตของประชากรอาเซียนสู่ฐานะที่สูงขึ้น ใช้สินค้าพรีเมียมขึ้นได้กลายเป็นความท้าทายของนักการตลาดที่จะต้องจับให้อยู่หมัด เพราะผู้คนเหล่านี้มีความต้องการและความชอบที่ต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด ที่มาพร้อมกับภาษาและวัฒนะธรรม ศาสนาที่แตกต่างกัน แต่พวกเขามีความเหมือนกัน คือ การใช้ Digital เป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูลสินค้าในรูปแบบต่างๆ
แต่สำหรับแบรนด์แล้วDigital ไม่ใช่ช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค แต่เป็นช่องทางในการสร้างความเข้าใจระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคในแง่มุมต่างๆ เพราะในวันนี้ผู้บริโภคอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจที่เปลี่ยนไป
โลกดิจิตอลสามารถกระจายข่าวสารไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไฟลามทุ่ง สิ่งที่แบรนด์ควรรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคคือความรวดเร็ว ไม่ควรเพิกเฉยกับกระแสทางลบเพื่อรอดูท่าที จึงไม่แปลกใจว่าแบรนด์ใหญ่ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับช่องทางนี้ด้วยการมอนิเตอร์ความคิดเห็นของผู้บริโภคตลอด24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด และเข้าไป Talk Action ทันทีเมื่อเกิดความคิดเห็นทางลบกับแบรนด์ เพราะผู้บริโภคมากถึง80% เปลี่ยนแบรนดทันทีถ้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี
นอกจากนี้ผู้บริโภคมากถึง 64% ยังคงเชื่อ Review และ Comment ของผู้บริโภคด้วยกันมากกว่าเบรนด์ โดย 46% ของผู้บริโภคอาเซียนนิยมแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ และ 41% คอนเมนต์ทางลบบนโลกออนไลน์เมื่อได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกับแบรนด์
3.Non Traditional Player
ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคเข้าสู่โลกดิจิตอล และ Shopping Online สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของร้านค้าทั่วไปที่ต้องเผชิญกับแข่งขันกับร้านค้าอีคอมเมิร์ซ เช่น Lazada Zalora ร้านค้าทางโซเชียลมีเดีย และแข่งขันกับผู้ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเดียวกัน เช่นธุรกิจโรงแรม แข่งขันกับ Airbnb หรือ มือถือกับ App IP Call ต่างๆ และการอยู่รอดของ Traditional ยักษ์ใหญ่ คือการนำช่องทางออนไลน์มาเป็นหนึ่งในการกระจายสินค้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ