LINE เผยวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีประจำปี ผ่าน 4 กลยุทธ์ 3 Roadmaps ต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย ด้วยเทคโนโลยี Hyper-localized  พร้อมเผยการเติบโตของ Group Chat ผ่านมาสิบปีเพิ่มขึ้นสิบล้านกรุ๊ป

ดร. พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย กล่าวว่า สิบสองปีที่ LINE เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มกว่า 54 ล้านคน ภายใต้พันธกิจ Closing the Distance ตอกย้ำการเป็นโครงสร้างพื้นฐานชีวิตในยุคดิจิทัล (Life Infrastructure)

ชูจุดแข็งทีมนักพัฒนาประจำประเทศไทย มาขับเคลื่อน Smart Country ด้วยเทคโนโลยี Hyper-Localized เปิดโอกาสให้คนไทยเติบโตในยุคดิจิทัลได้หลากหลายมิติ 

ไม่ทิ้งจุดแข็ง Group Chat 

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) เปิดเผยว่า บริการพื้นฐานอย่างแชทไลน์เป็นจุดแข็งหลักของ LINE ที่บริษัทยังคงให้ความสำคญ ไม่หยุดพัฒนา โดยเฉพาะ Group Chat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทย

จนมีการเติบโตสูงขึ้น 56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และอัตราการส่งข้อความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เสียง และวิดีโอ เติบโตสูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก 

ผลสำรวจจาก LINE ประเทศไทยพบว่า หมวดหมู่ Group Chat ยอดนิยม ได้แก่ กลุ่มเพื่อน 82% ครอบครัว 80% ที่ทำงาน 77% และโรงเรียน 27%

สะท้อนให้เห็นความหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้และวิธีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้กว่า 77% ระบุว่ากลุ่มแชตครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น

LINE เผย 10 ปี คนไทยเปิดกรุ๊ปแชทเพิ่ม 10 ล้านกรุ๊ป

LINE  ทำตลาดในไทยมา 12 ปี 
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์ม LINE  54 ล้านคน
บริการที่ได้รับความนิยม คือ Group Chat  (10 ปีที่ผ่านมา โตขึ้น 56% หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 10 ล้านกรุ๊ป)
Group Chat ยอดนิยม : กรุ๊ปเพื่อน 82% กรุ๊ปครอบครัว 80% กรุ๊ปที่ทำงาน 77% กรุ๊ปโรงเรียน 27%
จากการสำรวจ 77% บอกว่ากลุ่มแชทครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น
โดยเฉลี่ยมี Group ที่ทำงานอย่างน้อย 9 กรุ๊ป อัตราการแอคทีฟ 7 วันต่อสัปดาห์ 
ที่ผ่านมาคนไทยส่งข้อมูลบน LINE เป็นอัตราที่เพิ่มมากขึ้นกว่าประเทศอื่นทั่วโลก แบ่งเป็น
รูปภาพ 68% ไฟล์ 67% เสียง 33% วิดีโอ 21%

ที่มา: LINE ประเทศไทย

ขณะเดียวกัน Group Chat ที่ใช้ใน  Work Group ยังเป็นตัวช่วยที่ดี ส่งเสริมกระบวนการทำงานให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น การทำงานมีประสิทธิภาพกว่าในอดีต  สร้างความสมดุลให้ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตครอบครัว

นอกจากนั้น ความนิยมของผู้ใช้งานคนไทยที่มักเลือกใช้งานชุดสติกเกอร์ในการสนทนา เป็นส่วนหนึ่งในจุดแข็งของแพลตฟอร์ม LINE จึงวางแผนพัฒนา LINE STICKERS PREMIUM ให้หลากหลายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น สำหรับบริการจ่ายรายเดือน/รายปี 

วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปีครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย 

วีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (CPO) กล่าวว่า LINE ประเทศไทย ในฐานะองค์กรเทคฯ  เล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาโดยตลอด ในช่วง 5 ปีจากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิด” เปิดรับการเชื่อมต่อกับหลากหลายเทคโนโลยี นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้งในด้านผู้ใช้งาน ธุรกิจ และพันธมิตร 

อาศัยแนวคิด 4 กลยุทธ์​สำคัญ มุ่งเจาะตลาดไทยโดยเฉพาะ ได้แก่ 

1. Extensive Plug-Ins 

เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชั่นอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชั่นที่คิดค้นเพิ่มเติมโดย LINE และระบบที่พาร์ตเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น

2. Data Utilization

ส่งเสริมพันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ  

3. Performance Marketing 

เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่ง สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน

4. Privacy Focused

ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด

พร้อมด้วย 3  Roadmaps ยกระดับเทคโนโลยี 

1. Customer Data Tools

เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค  ให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ภายใต้ขอบเขตการยินยอมจากผู้บริโภคตามกฎหมาย 

โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย และสำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะในอนาคต

2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE

วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น  พร้อมเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมกว่าเดิม เป็นต้น

3. API Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API

เพิ่มความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้ครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชั่นสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการ



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online